ผู้จัดทำข้อตกลง

นายสิทธิชัย  เชื้อตะวันงาม

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  ไม่มี 

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน  20 ชั่วโมง /สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

- รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 1     จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาภาษาจีนฟัง พูด อ่าน เขียน 1     จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาภาษาจีน 3     จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาภาษาจีน 5              จำนวน 8 ชั่วโมง /สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ชุมนุม                                           จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- อบรมคุณธรรมจริยธรรม       จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                            จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- คณะทำงานงานอนามัยโรงเรียน                      จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะทำงานงานฝ่ายจัดสถานที่ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

-คณะทำงานงานสหกรณ์โรงเรียน                       จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อพัฒนาทักษะการบอกเวลาเป็นภาษาจีนและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธ์ทางการเรียน ในรายวิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

          จากสภาพปัญหาของนักเรียนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน เป็นนักเรียนที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านภาษาจีนมาก่อน จึงทำให้นักเรียนอ่านภาษาจีนไม่ได้ ยากต่อการเรียนรู้เนื่องจากเป็นคนละภาษา และนักเรียนไม่ได้ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ผลการเรียนของนักเรียนห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ไม่ผ่านหลายตัวชี้วัด ซึ่งต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่นักเรียนต้องรู้ และควรรู้ตามตัวชี้วัด จากการตรวจแบบฝึกอ่านสะกดคำ/การตรวจแบบฝึก/ใบกิจกรรม/ใบงานในเนื้อหา/ชิ้นงาน ที่เป็นภาระงานของนักเรียน จึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีผลคะแนนค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเนื้อหา ซึ่งข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนขาดพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ทักษะที่ควรรู้ และต้องรู้ ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้ จึงต้องแสวงหา นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้ผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ในรายวิชาภาษาจีน มีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการบอกเวลาเป็นภาษาจีน โดยการพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อช่วยปัญหาการเรียนรู้ จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาการบอกเวลาเป็นภาษาจีนของนักเรียนโปรแกรมภาษาจีนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ผ่านกระบวนการเหล่านี้ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียน การทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น ผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชา ภาษาจีน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3




2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

          1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 

2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อพัฒนาทักษะด้านการบอกเวลาเป็นภาษาจีน

3) ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชา ภาษาจีน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

4) นำแผนการสอนคิด ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6) เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ภาษาจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 65   

เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ปีงบประมาณ 2566 

( 1 ตุลาคม 2565 – 30  กันยายน 2566 ) มีความรู้ในรายวิชาภาษาจีน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

370314278_5832027106900593_8530390493642074108_n.mp4
370573346_6302479649863070_2090714243557154585_n (1).mp4
370319280_6269854006459188_6283345411524119672_n.mp4
10000000_6980262032007710_8902852460848349346_n.mp4
370868945_6753879308037908_7986774326159781590_n (1).mp4

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

นายณฏวรรณ์

ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

    ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

 ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

   ฝ่ายบริหารงานวิชาการ

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

    ฝ่ายบริหารงานบุคคล