ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ของครูปิยะพงษ์ เกิดศิริ

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 33 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์ จำนวน 21 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา การงานอาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา ศิลปะ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

2 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ด้านที่ 1
ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 2
ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 3
ด้านการ
พัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ชื่อประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

สภาพการจัดการเรียนรู้เรื่องเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ของนักเรียนระดับ ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6 จะเป็นการหาผลบวกของทศนิยมจากโจทย์ปัญหา เมื่อนักเรียนต้องการหาคำตอบ นักเรียนเกิดปัญหาในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ปัญหาดังกล่าวเกิดจากนักเรียนไม่ได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง เมื่อพบ สถานการณ์ต่าง ๆ ในโจทย์ปัญหาจึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในตัวชี้วัด ค 1.1 ป.6/10 ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดพรานนก ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564

2.2 ปรับปรุงหน่วยการเรียนรู้เรื่องทศนิยม โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนด เนื้อหาเพื่อความเหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING ดังนี้

- การหาวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

- การแก้โจทย์ปัญหาเพื่อหาคำตอบ

2.3 เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ตามเนื้อหาที่กำหนดในหน่วย การเรียนรู้ โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING ที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นรองรับสภาพการจัดการเรียนรู้ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ที่มี ข้อจำกัด เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

2.4 สร้างสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING โดยเป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนสามารถค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

2.3 ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม

2.5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น โดยมีผู้บริหาร หรือครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้

2.6 ประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม

2.7 ปรับปรุงหรือพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้น ตามผลการสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผลการประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวนร้อยละ 70 ขึ้นไปจากจำนวนนักเรียน ทั้งหมดที่ได้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING

3.2 เชิงคุณภาพ นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และนำองค์ความรู้มาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

การจัดการเรียนในห้องเรียนโดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING

สภาพการจัดการเรียนรู้เรื่องเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม ของนักเรียนระดับ ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6 จะเป็นการหาผลบวกของทศนิยมจากโจทย์ปัญหา เมื่อนักเรียนต้องการหาคำตอบ นักเรียนเกิดปัญหาในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ปัญหาดังกล่าวเกิดจากนักเรียนไม่ได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง เมื่อพบ สถานการณ์ต่าง ๆ ในโจทย์ปัญหาจึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในตัวชี้วัด ค 1.1 ป.6/10 ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้

บันทึกหลังสอนประเด็นท้าทาย.pdf

แผนการจัดการเรียนรู้