หน่วยการเรียนรู้ที่ 1การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA



จุดประสงค์การเรียนรู้

1 ความหมาย และ ความสำคัญของเป้าหมายชีวิตลักษณะของเป้าหมายชีวิต

2 หลักการกำหนดเป้าหมายชีวิตที่ดี

3 สร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อตนเองด้วยการวางแผนเป้าหมายชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

4 มีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม

สาระสำคัญของการเรียนรู้

เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ ความหมายเป้าหมายชีวิต ความสำคัญของเป้าหมายชีวิต ลักษณะเป้าหมายชีวิต หลักการกำหนดเป้าหมายชีวิตที่ดี ความหมายวงจรควบคุมคุณภาพ องค์ประกอบของวงจรควบคุมคุณภาพ ชีวิตประจำวันกับวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA

PDCA คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ หรือ วงจรเดมิ่ง ประกอบด้วย

P=Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น

D=Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

C=Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด

A=Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป


  1. การวางแผนเป้าหมายชีวิต การวางแผน หมายถึง การกำหนดสภาพหรือสถานภาพที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยกำหนดนาทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้

  2. เป้าหมายในชีวิต (Life Goals) หมายถึง สิ่งที่ตนเองให้ความสำคัญ และปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในอนาคต และเป็นแรงจูงใจให้ตนเองมีพลังมุ่งไปสู่อนาคต การมีเป้าหมายในชีวิตจะช่วยให้มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย มีความหวังและมีทิศทางที่จะมุ่งไปสู่อนาคต เพราะการมีเป้าหมายจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นต้องการอะไรบ้าง จะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เพื่อใคร และเพื่อที่จะทำอะไร

  3. การวางแผนเป้าหมายชีวิต หมายถึง การตั้งเป้าหมายชีวิตของบุคคลที่ได้วางแผนไว้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อนำตนเองไปสู่เป้าหมายของชีวิตในอนาคต เป็นการวางเป้าหมายไว้ว่าจะต้องตั้งตัวสร้างฐานะให้ได้ โดยเรียนให้จบและประกอบอาชีพที่สุจริต ซึ่งการวางเป้าหมายในชีวิตของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปเพื่อให้การดำเนินชีวิตมีคุณภาพ ได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยการวางแผนเกี่ยวกับการศึกษา การวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ตำรวจ ทหาร นักธุรกิจ เกษตรกรรม ชาวนา ชาวไร่ เป็นต้น การวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายในแต่ละเดือน การวางแผนที่จะปฏิบัติความดี การดำเนินชีวิตให้อยู่ในกรอบศีลธรรม การวางแผนเกี่ยวกับการสร้างครอบครัวในอนาคต เป็นต้น

  4. การวางแผนเป้าหมายชีวิต เป็นสิ่งที่จำเป็นที่บุคคลทุกคนต้องให้ความสำคัญในการรู้จักวางแผนชีวิตของตนเองอย่างมีขั้นตอน มีวิธีการที่เหมาะสมกับสถานะของบุคคล และพยายามดำเนินการโดยปฏิบัติทุกวิถีทางที่จะนำพาชีวิตให้ประสบความสำเร็จ แต่เมื่อดำเนินชีวิตที่มีการวางแผนแล้วเกิดปัญหาและอุปสรรค บุคคลนั้นก็สามารถหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้น แล้วนำมาพิจารราทบทวนขั้นตอน เพื่อแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงให้ชีวิตของบุคคลมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข หากทุกชีวิตมีการวางแผนเพื่อเป้าหมายของชีวิต ก็จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

  5. เป้าหมายชีวิตของบุคคลแบ่งได้ 3 ระดับ คือ

  6. 1. การวางแผนเป้าหมายชีวิตขั้นต้น เป็นการวางแผนตั้งเป้าหมายของชีวิตโดยมุ่งมั่นฝึกฝนตนเอง ให้

  7. บรรลุเป้าหมายชีวิตว่าจะต้องเรียนให้จบ มีอาชีพ มีฐานะที่ดีให้ได้ ด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น การประพฤติตนเป็นคนดี และตั้งเป้าหมายว่าจะประกอบอาชีพอะไร เช่น ครู พยาบาล ตำรวจ ทหาร ชาวนา หรืออื่นๆ ก็ได้ ขอให้เป็นอาชีพที่สุจริต

  8. 2. การวางแผนเป้าหมายชีวิตขั้นกลาง เป็นการตั้งเป้าหมายของชีวิตว่าต้องพยายามตั้งตัวและสร้าง

  9. ฐานะของตนเอง มีชีวิตคู่ มีชีวิตครอบครัวที่ดี ไม่ย่อท้อ รู้จักการสร้างคุณค่าให้ชีวิตด้วยการขยันตั้งใจทำความดี เอื้ออาทร มีเมตตาต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นเป้าหมายชีวิตสูงสุด

  10. 3. การวางแผนเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด เป็นการตั้งเป้าหมายของชีวิตที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ

  11. ตนเอง และบุคคลอื่น คือการตั้งใจดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัว และตั้งใจปฏิบัติธรรมโดยการตั้งใจทำความดี หมั่นให้ทาน รักษาศีล ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตใจผ่องใส เกิดปัญญา เพื่อรักษาเป้าหมายของชีวิตให้มั่นคงทุกด้าน

  12. ถ้าทุกคนได้มีการวางแผนเป้าหมายชีวิตแล้ว ก็ยากที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จได้เป้าหมายเป็นเครื่องมือชี้ทิศทางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลอาจมีเป้าหมายแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาชีพ รายได้ ความรับผิดชอบในครอบครัวแต่ละบุคคล เป้าหมายของบุคคลมีดังนี้

  13. 1.1 เป้าหมายที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี สังคม การเมือง กฎหมาย ความรู้สึก เป็นต้น

  14. 1.2 เป้าหมายที่เป็นตัวเงิน เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินโดยตรง ซึงทำให้แต่ละบุคคล นั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ความแตกต่างของเป้าหมายที่เป็นตัวเงินและเป้าหมายที่ไม่เป็นตัวเงิ


สิ่งที่ต้องพิจารณาในการกำหนดเป้าหมายชีวิต

1. ตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและชัดเจน ควรคำนึงถึงผลที่จะได้รับว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือ

วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่นการออมเงินจากรายได้สุทธิเดือนละ10,000 บาท เพื่อสำหรับซื้อบ้านอีก 2 ปีข้างหน้า

2. เป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ก่อน หากคิดว่าเหมาะสมและ

สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้จึงลงมือปฏิบัติ เช่น ต้องการออมเงินเดือนละ 8,000 บาท ในขณะที่เงินเดือนทั้งสิ้นได้รับเดือนละ 10,000 บาท และยังไม่หักค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวอีกเดือนละ 5,000 บาท การกำหนดเป้าหมายในลักษณะนี้จึงไม่มีความเป็นไปได้ คือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงได้

3. เป้าหมายนั้นควรจัดลำดับก่อนหลังให้แน่นอน เช่น ต้องการออมเงินไว้สำหรับท่องเที่ยวในปีนี้และ

ออมเงินเพื่อซื้อบ้านในอีก 3 ปีข้างหน้าในอนาคต

กระบวนการวางแผนชีวิต มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การตั้งเป้าหมาชีวิต เป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินชีวิตของตนเองเพื่อให้บรรลุได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น การเรียนให้จบการศึกษาสูงสุดในชีวิต ต้องกำหนดว่าจะจบการศึกษาเมื่อไหร่ จะประกอบอาชีพอะไร จะหารายได้เท่าไหร่ และหามาได้อย่างไร เป็นต้น

ขั้นที่ 2 การวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เมื่อได้ตั้งเป้าหมายแล้ว ก็ต้องมีการกำหนดแผนงานเพื่อระบุวิธีที่ต้องปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ต้องเลือกอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างรายได้

ขั้นที่ 3 ประเมินทางเลือก ควรมีการประเมินว่าควรจะตัดสินใจเลือกอาชีพใดที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุดโดยเน้นที่ความสนใจและชอบในอาชีพนั้น

ขั้นที่ 4 การตัดสินใจ หากการวางแผนตามขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 3 เป็นไปตามเป้าหมาย ก็สามารถตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพได้ แต่หากไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องยกเลิกหรือถ้าต้องการที่จะประกอบอาชีพอื่นๆ ก็ต้องปรับเปลี่ยนการวางแนวทางการประกอบอาชีพใหม่

ช่วงชีวิตในการวางแผนเป้าหมาย

การวางแผนเป้าหมายชีวิตจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นวงจรชีวิตของแต่ละบุคคลตั้งแต่เด็กจนวัยชราก็จะมีอายุแตกต่างกันไป ความต้องการและเป้าหมายจังเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บุคคลส่วนใหญ่จึงต้องวางเป้าหมายและวางแผนในแต่ละช่วงชีวิตให้สอดคล้องกับรายได้และความรับผิดชอบในช่วงนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งได้แก่ การตกงาน การเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัวการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ ถ้ามีการเตรียมแผนเป้าหมายชีวิตไว้ก่อนก็จะช่วยแก้ปัญหาไว้ได้

1. ช่วงวัยเด็ก อายุในวัยเด็กจนถึงประมาณ 20 ปี เป็นวัยที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของบิดา

มารดาที่ต้องเลี้ยงดู และเป็นช่วงการศึกษาหาความรู้ จึงยังไม่มีรายได้ที่จะนำมาจุนเจือครอบครัว

2. ช่วงวัยหลังจบการศึกษา อายุประมาณ 21-30 ปี เป็นวัยที่อยู่ระหว่างการเริ่มสร้างครอบครัวเริ่ม

ทำงาน บางคนก็แต่งงานและสร้างฐานะ รายได้ในช่วงนี้จะค่อยเป็นค่อยไป และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางครอบครัวก็เริ่มมีบุตรและเก็บเงินบางส่วนไว้ใช้จ่ายภายในครอบครัว เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เป็นต้น

3. ช่วงวัยทำงานเต็มที่ อายุประมาณ 31-45 ปี เป็นช่วงระยะเวลาที่กำลังขยายครอบครัวและมี

หน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้แน่นอน แต่เป็นช่วงที่มีความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องจ่ายค่าเล่าเรียนบุตร ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

4. ช่วงก่อนวัยเกษียณอายุ อายุประมาณ 46-50 ปี เป็นช่วงที่มีรายได้และมีหน้าที่การงานสูงสุด

ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในระยะนี้สำหรับผู้มีบุตรก็จะจบการศึกษาและทำงานหรือสร้างครอบครัวของตนเองได้แล้ว ค่าใช้จ่ายก็จะลดลง เงินออมก็จะมีเพิ่มขึ้น

5. วัยเกษียณอายุ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่รายได้จะลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากรายได้ประจำไม่มี

เพราะออกจากงานแล้ว แหล่งรายได้มาจากเงินบำเหน็จ บำนาญ เงินประกันสังคม ดอกเบี้ย เป็นต้น


หลักการวางแผนเป้าหมายชีวิต

ก่อนจะเริ่มต้นทำสิ่งใดก็ควรจะกำหนดเป้าหมายที่ต้องการไว้ล่วงหน้าเสมอ เพราะเป้าหมายเป็นเครื่องมือที่กำหนดทิศทางให้ทราบว่าสิ่งที่คาดหวังและต้องการทำให้สำเร็จได้นั้นมีเพียงใด การวางแผนเป้าหมายในชีวิตจึงควรจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุผลสำเร็จอาจจะเป็นเหมายระยะสั้น หรือเป้าหมายระยะยาวก็ได้ แต่เป้าหมายที่ดีนั้นควรจะกำหนดตามหลัก SMART ดังนี้ในปัจจุบัน อาจจะมีการเพิ่มการวางแผนเป้าหมายชีวิตขึ้นมาอีก 2 ชนิด เรียกว่า SMARTER ดังนี้

E-Extending คือ เป้าหมายนั้นควรจะเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ และเพิ่มศักยภาพของผู้ปฏิบัติ

R-Rewarding คือ เป้าหมายที่กำหนดนั้น ควรจะคุ้มค่ากับการปฏิบัติซึ่งเป็นเป้าหมายที่ทำแล้วจะเกิดประโยชน์ คุ้มค่ากับแรงงานและเวลา


2.การวางแผนด้วยวงจรการควบคุมคุณภาพ

การนำ PDCA มาใช้ครั้งแรกโดย Walter Shewhart เพื่อใช้ควบคุมกระบวนการทางสถิติของบริษัท Bell Laboratory ที่สหรัฐอเมริกา ต่อมา

W.Edward Deming ได้เผยแพร่ความรู้วงจรเดมิ่งอย่างกว้างขวาง

วงจร PDCA ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับพื้นฐานการบริหารงานให้เกิดคุณภาพ 2 อย่าง คือ การสื่อสารและความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในหน่วยงานโดยผู้บริหารเป็นผู้กำหนดแผนงาน แต่จะสื่อสารผ่านช่องทางหัวหน้างานตามลำดับขั้นเป้าหมายจะถูกกำหนดขั้นตามความเหมาะสมที่เป็นไปได้

วงจร PDCA สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตของแต่ละบุคคลได้ทุกเรื่อง เช่น การตั้งเป้าหมาย การทำงานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายในวัยเกษียณ การตั้งเป้าหมายออมเงินส่วนบุคคล เป็นต้น PDCA คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ หรือ วงจรเดมิ่ง ประกอบด้วย

3.ความสำคัญของการวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA

วงจรการควบคุมคุณภาพสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนี้

1. การวางแผน (Plan) คือ การวางแผนชีวิต โดยจะต้องทราบว่าตนเองรั้นอยากทำอะไร ต้องการอะไร

แล้วจึงตั้งเป้าหมาย และวีการในการดำเนินชีวิตให้ชัดเจนซึ่งเป้าหมายของชีวิตแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ การวางแผนครอบคลุมถึงการกำหนดเรื่องที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ พร้อมกับพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้างเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนั้น โดยระบุวิธีการเก็บข้อมูลให้ชัดเจน จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ แล้วกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การวางแผนช่วยให้คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งช่วยให้รับรู้สภาพปัจจุบันพร้อมกับกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการผสมผสานประสบการณ์ ความรู้และทักษะโดยการวางแผนมีดังนี้

1.1 การวางแผนเพื่ออนาคต เป็นการวางแผนสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือกำลังเกิดขึ้น บางสิ่งบางอย่างก็ไม่สามารถควบคุมได้ แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า

1.2 การวางแผนเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อสภาพที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถควบคุมผลที่เกิดขึ้นได้ด้วยการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปัจจุบัน

ลำดับขั้นตอนในกระบวนการวางแผนประกอบด้วย

1. การกำหนดวัตถุประสงค์

2. การพัฒนาข้อตกลงทีเป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน

3. พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน

4. พัฒนาทางเลือก

5. ประเมินทางเลือก เพื่อเลือกสิ่งที่เป็นไปได้สูงสุด

6. เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ

ประโยชน์ของการวางแผน

การวางแผนงาน จะช่วยทำให้มีการเตรียมความพร้อมเมื่อได้ปฎิบัติงานจริง ดังนี้

1. การศึกษา เป็นการวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการในการประกอบอาชีพธุรกิจ เช่น ความต้องการ

ของตลาด ข้อมูลวัตถุดิบ ข้อมูลทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน

2. การเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องจักร

วัตถุดิบ

3. การดำเนินงาน เป็นการวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต

ฝ่ายการเงินและบัญชี เป็นต้น

4. การประเมินผล เป็นการวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจาก

ยอดจำหน่าย ประเมินจากการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า เป็นต้น

2. การปฏิบัติตามแผน (DO) คือ การทำตามแผนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่นพยายาม

ทั้งนี้ การปฏิบัติเป็นการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวาง

แผน ซึ่งต้องตรวจสอบระหว่างการปฏิบัตินั้นว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และติดตามการปฏิบัตินั้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการปฏิบัติ เพื่อจะมั่นใจได้ว่าการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้นั้นเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามแผน ช่วยให้ทราบขั้นตอน วิธีการและสามารถเตรียมงานได้ล่วงหน้า ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้น

3. การตรวจสอบ (Check) คือ การประเมินเป้าหมายชีวิตที่วางแผนไว้ว่าสามารถปฏิบัติได้สำเร็จหรือ

ไม่ และต้องปรับปรุงหรือแก้ไขอย่างไรบ้างจึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ทังนี้ การตรวจสอบเป็นการประเมินผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ (DO) โดยการตรวจสอบทำให้ทราบว่าในการปฏิบัตินั้นสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้างและมีความสม่ำเสมอมากน้องเพียงใด ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจะเป็นประโยชน์ในขั้นตอนต่อไป

ประโยชน์ของการตรวจสอบ ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ควรมีหลักดังนี้

1. ตรวจสอบจากเป้าหมายที่กำหนด

2. มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้

3. มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน

4. มีกำหนดเวลาการตรวจสอบที่แน่นอนและชัดเจน

5. บุคลากรที่ตรวจสอบนั้นต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย จึงดำเนินงานต่อไปได้

4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) คือ การนำเอาผลการประเมินมาปรับปรุง และ/ หรือพัฒนาวิธีการทำให้ชีวิต

ประสบความสำเร็จมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นการดำเนินงานให้เหมาะสมซึ่งจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบซึ่งมี 2 กรณี คือ ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ถ้าผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ก็จะนำแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัติ (DO) นั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐานพร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม รวมทั้งทำให้คุณภาพดียิ่งขึ้นก็ได้ ถ้าหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็ควรจะนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เช่น

o มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้

o ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม

o ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้

o เปลี่ยนเป้าหมายใหม่

ประโยชน์ของการปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น

การปรับปรุงแก้ไขจะนำไปสู่การเริ่มต้นทำงานอย่างมีคุณภาพในรอบใหม่ของวงจร และช่วยให้สามารถคาดการณ์ปัญหาหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

4.การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ

วงจรการควบคุมคุณภาพ หรือวงจรเดมิ่ง โดยวงจรการควบคุมคุณภาพนี้สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้ โดยเมื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตแล้ว จะแบ่งออกได้ดังนี้

การวางแผน (P = Plan) คือ การวางแผนชีวิต ซึ่งจะต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายและระยะเวลาดำเนินการ โดยจะต้องทราบว่าตนเองนั้นอยากทำอะไร ต้องการอะไร แล้วจึงตั้งเป้าหมาย และวิธีการดำเนินชีวิตให้ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายแต่ละคนจะแตกต่างกัน

การปฏิบัติงานตามแผน คือ การดำเนินงานตามขั้นตอนในแผนงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเป็นการทำตามแผนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นพยายาม

การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (C = Check) คือ การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานตามแผน ว่าเมื่อดำเนินงานตามแผนแล้วมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดเป็นการประเมินเป้าหมายชีวิตที่วางแผนไว้ โดยสอบถามตนดองว่าเป้าหมายชีวิตที่ตั้งเป้าหมายไว้นั้นมีข้อใดที่ทำสำเร็จลุล่วงแล้ว หรือต้องแก้ไขปรับปรุงวิธีการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

การปรับปรุงแก้ไข (A = Action) คือการนำปัญหามาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานโดยนำผลการประเมินมาปรับปรุง หรือพัฒนาวิธีการทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น