Research

>>> ถ้าสนใจโปรเจคใด หรืออยากสอบถามอะไรเพิ่มเติมสามารถอีเมล์มาหาหรือทักแชทผ่าน Microsoft Teams ได้เลยครับ

หัวข้อที่ทางกลุ่มสนใจศึกษา สามารถคลิกแต่ละหัวข้อข้างล่างนี้เพื่อดูเพิ่มได้เลย

Inorganic layered material and 2D Materials

What is so special about them? 

ในยุคนี้เราอาจจะได้ยินคำว่า นาโนเทคโนโลยี กันบ่อยขึ้น เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ค้นพบได้ไม่นาน และยังมีอะไรอีกมากมายรอการค้นพบ อนุภาคต่าง ๆเมื่อมีขนาดลดลงจนถึงขนาดนึง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับไม่กี่นาโนเมตรนั้น จะแสดงคุณสมบัติผิดแปลกไปจากเดิม เช่น อนุภาคทองคำในขนาดนาโนนั้น แสดงคุณสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่เราทราบกันดีว่าสร้อยคอทองคำที่เราใส่กันนั้น โคตรจะเฉื่อยต่อปฏิกิริยา 😲

อนุภาคต่าง ๆจะเป็นอนุภาคขนาดนาโนได้นั้น ต้องมีอย่างน้อย 1 ด้านที่มีขนาดในระดับนาโนเมตร ดังนั้นเราจึงพบว่าอนุภาคนาโนนั้นยังแบ่งออกได้เป็นประเภทย่อย ๆลงไปอีกตามขนาดของแต่ละด้าน ยกตัวอย่างเช่น อัญรูปของคาร์บอนที่เราได้เรียนกันมานั้นสามารถแบ่งได้เป็น

ซึ่งกลุ่มวิจัยนี้จะโฟกัสไปที่ Inorganic Layered Material และ  2D material ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวอย่างน่าทึ่ง สามารถนำไปพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้เช่น Energy storage, Fuel Cell, Sensor, Catalyst ฯลฯ ซึ่งทางกลุ่มตอนนี้กำลังศึกษาวัสดุดังกล่าวเช่น


Titanium Carbide and its family for Modern Applications

เป็น Inorganic Layered Material และ  2D material ที่เพิ่งค้นพบได้ไม่นาน ที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวมาก ๆ (ราวกับทานอสได้อัญมณีครบทั้ง 4 ชิ้นก็ไม่ปาน) เนื่องจากตัวเลเยอร์นั้นสร้างขึ้นมาจากอะตอมของโลหะ ปัจจุบันค้นพบไปบ้างแล้วว่าสามารถทำลายสถิติโลกในบางแอพพลิเคชั่น แต่ก็เพิ่งเป็นเพียงการเริ่มต้น ยังมีอีกหลาย ๆด้านรอการค้นพบหรือพัฒนา

นศ. จะได้ทำโปรเจคที่มีออริจินอล และไม่ซ้ำซากจำเจ Challenge but fun

 

Development of LHss for wastewater treatment 

Layered Hydroxide Salts (LHSs) เป็น Inorganic Layered Material อีกชนิดหนึ่งที่แสดงคุณสมบัติที่โดดเด่นในหลาย ๆด้าน นอกจากนี้ตัวมันเอง ยังสามารถลอกออกเป็นชั้น ๆได้เป็น 2D material อย่างที่ชื่อมันบอกใบ้ไว้นั่นเอง

ด้วยความที่ตัวมันเองมีความยืดหยุ่นในการปรับจูน electronic state เช่น เปลี่ยนชนิดของโลหะ เปลี่ยนชนิดไอออนลบ ปรับอัตราส่วน หรือแม้กระทั่งเจือไอออนโลหะชนิดที่สองลงไป นศ. จึงสามารถลองเทสไอเดียของตัวเองต่าง ๆได้อย่างหลากหลาย จากนั้นจึงทดสอบประสิทธิภาพของตัวอย่างที่สังเคราะห์ได้จากไอเดียต่าง ๆ กับระบบจำลองการกำจัดมลพิษในน้ำเสีย




Synchrotron X-ray absorption spectroscopy

Spectroscopy for the leap of the research

เป็นเทคนิคหลักเทคนิคหนึ่งใน X-ray Spectroscopy โดยอาศัยหลักการดูดกลืนรังสีเอกซ์ของวัสดุ เป็นเทคนิคที่ให้ข้อมูลที่พิเศษซึ่งเทคนิคอื่นไม่สามารถให้ได้ เช่น ระยะห่างระหว่างอะตอม(ความยาวพันธะ) เลขโคออร์ดิเนชั่น ชนิดอะตอมรอบข้าง ทั้งยังสามารถทำนาย interaction ระหว่างอนุภาคที่สนใจได้ เป็นต้น เทคนิคนี้มีความสำคัญมากกับการศึกษาและพัฒนาวัสดุต่าง ๆ ไม่เฉพาะสารประกอบอนินทรีย์เท่านั้น ยังมีการไปใช้ในระบบชีววิทยาอีกด้วยเช่น การวิจัยโปรตีนต่าง ๆในมนุษย์


Data science for chemistry

Missing Piece of the Puzzle

เมื่อเราวิเคราะห์กราฟหลาย ๆกราฟที่มาจากข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน เช่น กราฟที่ได้จากการวัดข้อมูลต่อเนื่องขณะปฏิกิริยาเคมีกำลังดำเนินไป เรามักจะวิเคราะห์ทีละกราฟ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกันโดยทั่วไป ในหลาย ๆครั้ง ผู้วิเคราะห์จะพบเจอความยากลำบากในการสรุปข้อมูลของระบบ หากเราใช้เทคนิคทาง data science เข้ามาช่วย เราอาจจะแก้ปัญหาที่ยาก ๆนี้ออกก็เป็นได้


MARX-RAMAN

New World Phenomena


Eligible: Graduated Student