คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาฟิสิกส์ 3 รหัสวิชา ว32203                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2                       เวลา 60 ชั่วโมง  จำนวน 1.5 หน่วยกิต

       ศึกษาเกี่ยวกับสมดุลกล ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง สมดุลต่อการเลื่อนที่ สมดุลต่อการหมุน เสถียรภาพของวัตถุ งานเนื่องจากแรงคงตัว งานเนื่องจากแรงไม่คงตัว กำลัง พลังงานกล  การอนุรักษ์พลังงานกล เครื่องกล โมเมนตัม แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม การดล การอนุรักษ์โมเมนตัม การชนและการดีดตัวแยกจากกัน การเคลื่อนที่แบบโพเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

       ให้ผู้เรียนได้มีการสืบค้นข้อมูล  การสืบเสาะความรู้ สำรวจตรวจสอบ ทดลอง  อภิปราย  อธิบาย  สรุปและ แก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนด โดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

       เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารสิ่งทีเรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้ 

1.       อธิบายสมดุลกลของวัตถุ โมเมนต์ และผลรวมของโมเมนต์ที่มีต่อการหมุน แรงคู่ควบและผลของแรงคู่ควบที่มีต่อสมดุลของวัตถุ เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลกลและคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง

2.       สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุและผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ

3.       วิเคราะห์และคำนวณงานของแรงคงตัว จากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับตำแหน่ง รวมทั้งอธิบาย และคำนวณกำลังเฉลี่ย

4.       อธิบายและคำนวณพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานกล ทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออกและความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์และพลังงานจลน์ และคำนวณงานที่เกิดขึ้นจากแรงลัพธ์

5.       อธิบายกฎการอนุรักษ์พลังงานกล รวมทั้งวิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

6.       อธิบายการทำงาน ประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายบางชนิด โดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล รวมทั้งคำนวณประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกล

7.       อธิบาย และคำนวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม

8.       ทดลอง อธิบาย และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการชนของวัตถุในหนึ่งมิติ ทั้งแบบยืดหยุ่นไม่ยืดหยุ่น และการดีดตัวแยกจากกันในหนึ่งมิติซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

9.       อธิบาย วิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

10.   ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม และมวลของวัตถุ ในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลม ในการอธิบายการโคจรของดาวเทียม

 

รวม 10 ผลการเรียนรู้


โครงสร้างหลักสูตรเทอม 2 (1).pdf
แผนที่ 1 สมดุลกล.docx
แผนที่ 2 ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง.pdf
แผนที่ 3 สมดุลต่อการเลื่อนที่(ทดลอง).pdf
แผนที่ 4 สมดุลต่อการเลื่อนที่(คำนวณ).pdf
แผนที่ 5 สมดุลต่อการหมุน(โมเมนต์ของแรง).docx
แผนที่ 6 สมดุลต่อการหมุน(โมเมนต์ของแรงคู่ค.pdf
แผนที่ 7 เสถียรภาพของวัตถุ.pdf
แผนที่ 8 งานเนื่องจากแรงคงตัว.pdf
แผนที่ 9 งานเนื่องจากแรงไม่คงตัว.pdf
แผนที่ 10 กำลัง.pdf
แผนที่ 11 พลังงานกล (พลังงานจลน์).pdf
แผนที่ 12 พลังงานกล(พลังงานศักย์โน้มถ่วง).pdf
แผนที่ 13 พลังงานกล(พลังงานศักย์ยืดหยุ่น).pdf
แผนที่ 14 การอนุรักษ์พลังงานกล.pdf
แผนที่ 15 เครื่องกล.pdf
แผนที่ 16 เครื่องกล (คำนวณ).pdf
แผนที่ 17 โมเมนตัม.pdf
แผนที่ 18 แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม.pdf
แผนที่ 19 การดล.pdf
แผนที่ 20 การอนุรักษ์โมเมนตัม.pdf
แผนที่ 21 การชนของวัตถุในหนึ่งมิติ.pdf
แผนที่ 22 การดีดตัวแยกจากกันของวัตถุในหนึ่งมิติ.pdf
แผนที่ 23 การชนและการดีดตัวแยกจากกัน(คำนวณ).pdf
แผนที่ 24 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (ทดลอง).pdf
แผนที่ 25 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (คำนวณ).pdf
แผนที่ 26 การเคลื่อนที่แบบวงกลม (ทดลอง).pdf
แผนที่ 27 การเคลื่อนที่แบบวงกลม(คำนวณ).pdf