โลกดาราศาสตร์ และอวกาศ

ม.4

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รหัสวิชา ว31161 รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต

ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างทางธรณีของโลก แผ่นเปลือกโลก การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ผลของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ปรากฏการณ์ทางธรณี การหาอายุหิน ลักษณะและอายุของซากดึกดำบรรพ์ เปรียบเทียบลำดับชั้นหินและอายุของหิน ศึกษาความเป็นมาของโลก การเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพพลังงานของดาวฤกษ์ ปฏิกิริยาฟิวชัน ตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะกาแล็กซีและเอกภพ การใช้เทคโนโลยีอวกาศในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆบนโลกและอวกาศ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ สังเกต การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย สรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิต มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ตัวชี้วัดการเรียนรู้

1. สืบค้นและอธิบายหลักการในการแบ่งโครงสร้างโลก

2. ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีภาคของโลก

3. ทดลองเลียนแบบ และอธิบายกระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด

4. สืบค้นและอธิบายความสําคัญของปรากฏการณ์ทาง ธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดที่ส่งผล ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

5. สำรวจ วิเคราะห์และอธิบายการลําดับชั้นหิน จากการวางตัวของชั้นหิน ซากดึกดําบรรพ์ และโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่ออธิบายประวัติความ

เป็นมาของพื้นที่

6. สืบค้น วิเคราะห์ และอธิบายประโยชน์ของข้อมูลทางธรณีวิทยา

7. สืบค้นและอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ

8. สืบค้นและอธิบายธรรมชาติและวัฒนาการของดาวฤกษ์

9. สืบค้นและอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ

10. สืบค้นและอธิบายการส่งและคำนวณความเร็วในการโคจรของดาวเทียมรอบโลก

11. สืบค้นและอธิบายประโยชน์ของดาวเทียมในด้านต่าง ๆ

12. สืบค้นและอธิบายการส่งและสํารวจอวกาศโดยใช้ยานอวกาศและสถานีอวกาศ

รวมทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องโครงสร้างโลก

แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องโครงสร้างโลก

1. โครงสร้างโลกแบ่งตามลักษณะมวลสารได้ชั้นใหญ่ๆ 3 ชั้น อะไรบ้าง

1.ชั้นเปลือกโลก ใต้เปลือกโลก แก่นโลก 2.ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก ธรณีภาค

3.ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก หินหนืด 4.ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก

2. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง

1.ซิลิคอนและซิลิกา 2.ซิลิคอนและอะลูมินา

3.เหล็ก และ ทองแดง 4.ซิลิคอนและแมกนีเซียม

3. เปลือกโลกแบ่งออกเป็น ๒ บริเวณ คือ

1.เปลือกโลกภาคพื้นทวีป และ เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ

2.เปลือกโลกภาคพื้นดิน และ เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ

3.เปลือกโลกชั้นนอก และ เปลือกโลกชั้นใน

4.เปลือกโลกภาคพื้นทวีป และ เปลือกโลกใต้มหาสมุทร

4. ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก รวมกันเรียกว่าอะไร

1.แมนเทิล 2.ธรณีภาค

3.ธรณีภาคพื้นทวีป 4.ธรณีภาคพื้นเปลือกโลก

5. เปลือกโลกใต้มหาสมุทร ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง

1.ซิลิคอนและแมกนีเซีย 2.ซิลิคอนและซิลิกา

3.ซิลิคอนและอะลูมินา 4.ซิลิคอนและเหล็ก

6. เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลงอยู่ในโครงสร้างโลกชั้นใด

1.แก่นโลก 2.ธรณีภาค 3.มีโซสเฟียร์ 4.ฐานธรณีภาค

7. หินหนืดที่พ่นออกจากภูเขาไฟ เป็นสารที่มาจากชั้นใดของโลก

1.ชั้นเปลือกโลก 2.ชั้นแมนเทิล

3.ชั้นแก่นโลก 4.ทุกชั้นรวมกัน

8. นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในโลกพื้นโลกโดยใช้วิธีใด

1.สัญญาณภาพถ่ายดาวเทียม 2.ซากดึกดำบรรพ์

3.คลื่นความสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหว 4.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

9. ปรากฎการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าภายในโลกยังมีความร้อนอยู่

1.น้ำพุร้อน 2.บ่อน้ำร้อน 3.ภูเขาไฟระเบิด 4.ถูกทุกข้อ

10. ชั้นใดของโลกที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด

1.แมนเทิล 2.แก่นโลก

3.เปลือกโลกชั้นใน 4.ระหว่างแก่นโลกกับแมนเทิล

11. ข้อความใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโลกของเรา

1.มีรูปร่างกลมรี จึงมีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวดิ่งส้ันกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวราบ

2.เปลือกโลกชั้นนอกสุด มีส่วนที่เป็นแผ่นดินและแผ่นน้ำ มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร

3.เปลือกโลกส่วนนอกส่วนใหญ่เป็นหินที่เรียกว่า ไซอัล

4.เปลือกโลกส่วนล่างประกอบด้วยหินบะซอลต์

12. แนวแบ่งเขตโมโฮอยู่ที่ใด

1.ระหว่างชั้นเนื้อโลกกับชั้นมีโซเฟีย

2.ระหว่างชั้นเปลือกโลกกับชั้นเนื้อโลก

3.ระหว่างชั้นเปลือกโลกกับชั้นแก่นโลก

4.ระหว่างชั้นเปลือกโลกกับชั้นแก่นโลกชั้นนอก



จงเติมในช่องว่างให้ถูกต้อง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการแปรสัณฐาน ของแผ่นธรณี