ข้อมูลตำบล

ข้อมูลทั่วไปตำบลหนองหมี

ประวัติความเป็นมา : เมื่อประมาณ 200 กว่าปี มีนายพรานคนหนึ่งชื่อพรานอุทัย เป็นชาวบ้านหนองครก อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ ได้เดินทางมาล่าสัตว์บริเวณทางด้านทิศเหนือของแม่น้ำมูล พอมาถึงบ้านหนองหมีปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสัตว์ป่ามากมาย มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนบริเวณบ้านหนองหมีปัจจุบัน ในครั้งนั้นมีราษฎรมาตั้งบ้านเรือนประมาณ 9 - 10 ครัวเรือน ตำบลหนองหมีได้แบ่งการปกครองออกจากตำบลส้มป่อย ปี พ.ศ. 2532 จำนวน 7 หมู่บ้าน และใน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมี ปัจจุบันตำบลหนองหมีแบ่งการปกครองออกเป็น 18 หมู่บ้าน

สภาพทั่วไปของตำบล : ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของอำเภอราษีไศล ห่างจากอำเภอ 22 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 25.17 ตารางกิโลเมตร หรือ 15,855 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศของตำบลเหล่าหมี มีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ป่าอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูลประมาณ 850 ไร่ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน

อาณาเขตตำบล : ทิศเหนือ ติดกับ อบต.สร้างปี่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศใต้ ติดกับ อบต.กุดเมืองฮาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.คอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.ส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

การคมนาคม

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล : - ถนน รพช. สายอำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย ถนนสาย 2168 ประมาณ 22 กิโลเมตร

- ถนนสายจังหวัดศรีสะเกษ - อำเภอค้อวัง ประมาณ 25 กิโลเมตร

สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,295 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 7 หลังคาเรือน

สภาพการรวมตัว

เป็น การรวมตัวกันของสมาชิกเพื่อระดมทุนในชุมชน เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ระหว่างกัน

สภาพทั่วไปของชุมชน/กลุ่ม

ตำบล หนองหมี เป็นตำบลที่มีการปลูกหอมแดงเป็นจำนวนมากและเป็นอาชีพรองจากการทำนา ราษฎรในหมู่บ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีตำบลหนึ่งของอำเภอราษีไศล

อาชีพหลักของชุมชน/กลุ่ม

ทำนา จำนวน 2,872 คน คิดเป็น 58.24 %

ทำไร่ จำนวน 1 คน คิดเป็น 0.02 %

รับราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 95 คน คิดเป็น 1.93 %

พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 คน คิดเป็น 0.06 %

พนักงานบริษัท จำนวน 11 คน คิดเป็น 0.22 %

รับจ้างทั่วไป จำนวน 588 คน คิดเป็น 11.92 %

ค้าขาย จำนวน 78 คน คิดเป็น 1,58 %

ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 19 คน คิดเป็น 0.39 %

อาชีพอื่นๆ จำนวน 19 คน คิดเป็น 0.39 %

กำลังศึกษา จำนวน 1,117 คน คิดเป็น 22.65 %

ไม่มีอาชีพ จำนวน 128 คน คิดเป็น 2,60 %


อาชีพรองของชุมชน/กลุ่ม

ปลูกหอมแดง

ปัญหาที่พบและสิ่งที่ชุมชนต้องการ

ปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ ให้รัฐประกันราคาหอมแดง

แนวทางการวิเคราะห์และแนวทางแก้ไข

เกษตรกร ปลูกหอมแดงมากเกินไป ไม่มีการควบคุมปริมาณการผลิต ทำให้ราคาหอมหัวแดงตกต่ำ จึงควรปลูกหอมหัวแดงปลอดสารพิษ ซึ่งจะทำให้ราคาหอมหัวแดงมีราคาดีขึ้น

ผลไม้/ผักต่างๆ

หอมแดง

หอมแดงจะมีหัวใหญ่ สีแดงสด เก็บไว้ได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย

เตรียมดินโดยการไถ ปลูกหอม ประมาณ 70 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ เก็บผลผลิตมาตากให้แห้ง มัดรวมกันเพื่อจำหน่าย

เขตการปกครองตำบลหนองหมี ได้แบ่งเขตการปกครองทั้งหมดจำนวน 18 หมู่บ้าน

ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านหนองหมี จำนวนครัวเรือน 72 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 2 บ้านหัวดง จำนวนครัวเรือน 92 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 3 บ้านแสนแก้ว จำนวนครัวเรือน 82 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 4 บ้านเห็ดผึ้ง จำนวนครัวเรือน 80 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 5 บ้านหนองก่าม จำนวนครัวเรือน 66 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 6 บ้านดอนไม้งาม จำนวนครัวเรือน 79 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 7 บ้านหนองนาคู จำนวนครัวเรือน 35 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 8 บ้านหนองหมี จำนวนครัวเรือน 113 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 9 บ้านดอนไม้งาม จำนวนครัวเรือน 75 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 10 บ้านหัวดง จำนวนครัวเรือน 65 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 11 บ้านเห็ดผึ้งน้อย จำนวนครัวเรือน 70 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 12 บ้านนาเจริญ จำนวนครัวเรือน 62 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 13 บ้านดงงาม จำนวนครัวเรือน 84 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 14 บ้านงามเจริญ จำนวนครัวเรือน 73 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 15 บ้านหนองหมี จำนวนครัวเรือน 62 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 16 บ้านดอนหาด จำนวนครัวเรือน 34 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 17 บ้านโนนเจริญ จำนวนครัวเรือน 76 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 18 บ้านดอนปู่ตา จำนวนครัวเรือน 75 หลังคาเรือน

ประชากร

จำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,931 คน

ชาย 2,450 คน หญิง 2,481 คน รวมทั้งสิ้น 4,931 คน **ความหนาแน่น 195 คน/ตารางกิโลเมตร**

สภาพทางเศรษฐกิจ

ร้อยละ 80 ของประชาชนทั้งหมด ประกอบอาชีพภาค เกษตรกรรม อาชีพหลัก คือ การทำนา ปีละ 1 ครั้ง นาปี แยกเป็น นาหว่านและ นาดำ โดยอาศัยน้ำจากธรรมชาติ คือ น้ำฝน ร้อยละ 20 ของประชาชนทั้งหมด ประกอบอาชีพ รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ

ผลผลิตที่สำคัญ ของตำบลหนองหมี ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ หอมแดง กระเทียม พริก ตลอดจน การเลี้ยงสัตว์ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :

1) ร.ร. ประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง 2) ร.ร. มัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง

- โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

รวม ทั้งหมด 5 แห่ง

1. โรงเรียนบ้านหนองหมีหัวดง(ประชาวิทยาคาร)

2. โรงเรียนบ้านแสนแก้วหนองคูไซ

3. โรงเรียนบ้านเห็ดผึ้งหนองก่าม

4. โรงเรียนบ้านดอนไม้งาม

5. โรงเรียนเบญจประชาสรรค์

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

รวม ทั้งหมด 2 แห่ง

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. หนองหมี 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองหมีหัวดง

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง

ได้แก่

1. วัดหนองหมี 2. วัดหัวดง 3. วัดแสนแก้ว 4. วัดเห็ดผึ้งหนองก่าม

5. วัดดอนไม้งาม 6. วัดหนองนาคู

สาธารณะสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง