เกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรกรเงินล้านบนความพอเพียง

ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อ-สกุล : นายชาญ มั่นฤทธิ์

วันเดือนปีเกิด : วันที่ 15 กรกฎาคม 2500

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 บ้านหาดใหญ่ ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 65150 เบอร์โทรศัพท์ : 089-708-3633

ประวัติการศึกษา : จบระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านหาดใหญ่ และศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพรหมพิราม

ประวัติการทำงาน :

นายชาญ มั่นฤทธิ์ สมัครเป็นสมาชิก อบต. มา 3 สมัยสมัยที่ 3 เป็นสมาชิก อบต. ได้เพียง 1 ปีกว่า

เมื่อผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 เกษียณอายุ ก็ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนปัจจุบันเกษียณอายุ ผู้ใหญ่ชาญ มั่นฤทธิ์ ก่อนประกอบอาชีพทำนาเลี้ยงครอบครัว แต่ด้วยประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้มีหนี้สินจำนวนหนึ่ง จึงมีความคิดริเริ่มปลูกพืชผักเพื่อหาได้รายเสริมให้กับครอบครัว โดยแรกเริ่มปลูกชะอม เพราะมองว่าเป็นพืชที่ดูแลง่ายให้ผลผลิตดี และตลาดมีความต้องการ หลักที่ปลูกชะอมจนประสบความสำเร็จ จึงปลูกพืชผักชนิดอื่นเพิ่มขึ้น โดยแนวทางทำเศรษฐกิจพอเพียงแบบผสมผสาน คือเริ่มต้นทำ ค่อย ๆ ทำ ค่อยๆ แก้ป้ญหา พยามทำการเกษตรแบบเกื้อกูลกัน ปัจจุบันนี้ ทำไร่นาสวนผสมหรือทฤษฎีใหม่จำนวน 15 ไร่ เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา กบ ไว้บริโภค ปัจจุบันได้จำหน่ายตามท้องตลาด ซึ่งทำการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทำให้เป็นบุคคลปลอดหนี้ และมีรายได้เป็นเงินออม ในปัจจุบันยังได้ รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านการทำไร่นาสวนผสมระดับประเทศ ปัจจุบันเป็นวิทยากรในด้านเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ทั้งในและนอกสถานที่เป็นจุดสาธิตและตัวอย่างต้นแบบของทางด้านเศรษฐกิจพอเพเพียงเป็นที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรทั่วไปชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ด้านเกษตรแบบไร่นาสวนผสม ของอำเภอพรหมพิราม

ผลงานดีเด่น :

นายชาญ มั่นฤทธิ์ เป็นบุคคลที่มีความเสียสละประกอบการทำงานเพื่อประชาชนจึงได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ใหญ่บ้าน การนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมด้านต่าง ๆ มาประยุกต์เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองและรวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้อื่นอย่างต่อเนื่องเสมอมา สามารถนำภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนสามารถยกระดับความรู้ก่อให้เกิดการสร้าง ความรู้ใหม่ในด้านเกษตรกรรรม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นฐานรากที่มั่นคงอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง

1 นายชาญ มั่นฤทธิ์ เป็นวิทยากรในด้านเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ทั้งในและนอกสถานที่เป็นจุดสาธิตและตัวอย่างต้นแบบของทางด้านเศรษฐกิจพอเพเพียงเป็นที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรทั่วไปชุมชน และหน่วยงานต่างๆ มีความขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เช่นปลูก พืชผักต่างๆ ไว้กินในครัวเรือน ปลูกไม้ดอก กุหลาบร้อยมาลัยเพื่อขาย ร้อยละ 25-30 บาท ในบริเวณบ้าน และทำนาเป็นอาชีพหลัก ต่อมาได้ตัดสินใจ ทำการเกษตรที่หลากหลาย โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่ดีกินดีด้วยวิถีพึ่งตนเองตามรอยพระราชดำริ เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการพึ่งตนเอง ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ” โดยได้ยึดถือหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดระบบการปลูกพืชแบบไร่นาสวนผสมหรือเกษตรผสมผสานโดยการ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการประมง การทำการเกษตรแบบหลากหลายและต่อเนื่องทำให้เกิดมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ต่อวัน ต่อสัปดาห์ต่อเดือนและตลอดทั้งปี จนทำให้สามารถปลดหนี้ให้กับตนเองและครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงด้านรายได้ มีเงินเก็บเงินออม จนได้รับรางวัลดังนี้

1.รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านการทำไร่นาสวนผสม ชนะเลิศ ที่ 1 ระดับ จังหวัดพิษณุโลก

2.รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านการทำไร่นาสวนผสม ชนะเลิศ ที่ 1 ระดับ ภาคเหนือ

3.รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านการทำไร่นาสวนผสมระดับ ประเทศ รางวัลชมเชย

นายชาญ มั่นฤทธิ์ จัดทำบ้านให้เป็น “แหล่งเรียนรู้ประจำตำบล” เพราะเป็นคนขยันใฝ่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา ชอบเข้ารับการฝึกอบรมและเรียนรู้ในแหล่งเรียนสต่างๆ นำมาปรับใช้ และนำความรู้วิชาการเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสมได้ไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อนำมาปรับใช้ในกิจกรรมของตนเองให้ดีขึ้น โดยมีการวางแผนจัดระบบการจัดการฟาร์มทุกขั้นตอนในการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาตลอดทั้งปี และสามารถเป็นแกนนำในหมู่บ้านเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านมีความคิดและความตั้งใจในการประกอบอาชีพทางการเกษตร จนเป็นบุคคลต้นแบบในด้านการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคมและเศรษฐกิจ

คติพจน์ : “ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ”

ข้อมูล : นางกรรณิการ์ บุญกลั่นสอน ครู กศน.ตำบลหนองแขม

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย : นางกรรณิการ์ บุญกลั่นสอน

สื่อประกอบ/ภาพถ่าย : นางกรรณิการ์ บุญกลั่นสอน