หนังตะลุงผึ้งเพียมาต

นายสิงห์ จำเริญ บ้านผึ้ง ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ให้สัมภาษณ์ว่า เริ่มเล่นหนังตะลุงตั้งแต่อายุ ๑๗ ปี กับครูหนัง

ที่จังหวัดยโสธร ต่อมาได้ตั้งคณะหนังตะลุงขึ้นเป็นคนแรกและเป็นคณะเดียวที่บ้านผึ้งเพียมาต เรียกว่า หนังประโมทัย โดยให้เหตุผลว่า เป็นหนัง

ที่เริ่มจากภาคอีสานจึงควรมีชื่อเรียกเฉพาะของคนอีสาน แต่ชาวบ้านจะเรียกว่า หนังบักตื้อ เพราะจำเอาชื่อตัวละครที่ชื่นชอบในเรื่อง

เรื่องที่นำมาแสดงคือ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามออกบวช จนกระทั่งพระรามกลับมาครองเมือง ตัวประกอบที่เป็นตัวตลกลักษณะท่าทาง

เหมือนคนอีสาน ได้แก่ ปลัดตื้อ บักป่อง บักแหมบ (จมูกบี้) โดยมีผู้เชิดและผู้พากย์เป็นคนเดียวกัน เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบมี กลอง แคน

และระนาดเอก ปัจจุบันมีผู้แสดงมากขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบก็มากขึ้น มีการพัฒนาตามความนิยมของผู้ชมคือ เพิ่มหมอลำซิ่งเข้าไปแทรก

ระหว่างการแสดงหนังตะลุง ภาษาที่ใช้พากย์ตามลักษณะตัวละคร มีการใช้ทั้งภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาลาวเวียงจันทน์ ซึ่งมีคำว่า โดย หรือ

ข้าน้อย ขานรับ

เวทีที่ใช้แสดงสูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร ขนาดของเวทีกว้างประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๕.๓๐ เมตร ใช้ผ้าและทางมะพร้าวปิดรอบเวทีไว้

ทุกด้านเพื่อไม่ให้ผู้ชมมองเห็นผู้พากย์และนักดนตรี แสงไฟที่ใช้ส่องจอใช้ตะเกียงโป๊ะ ต่อมาใช้ตะเกียงเจ้าพายุและพัฒนามาใช้หลอดไฟฟ้าขนาด

๖๐-๙๐ แรงเทียนจำนวน ๓ หลอด ก่อนการแสดงหัวหน้าคณะต้องร่ายเวทมนตร์ หยดน้ำมนต์ลงพื้นดินเพื่อขออนุญาตแม่ธรณีและเป็นสิริมงคลแก่

คณะของตน


อุปกรณ์การเล่น

ตัวหนังที่เป็นรูปพระราม ตัวทหาร ตัวตลก ที่มีชื่อและลักษณะท่าทางเหมือนคนอีสาน เช่น ปลัดตื้อ บักป่อง บักแหมบ เวทีที่ใช้แสดงจะอยู่ระดับสายตา

ส่วนจอจะสูงจากเวทีประมาณ ๑ เมตร ขนาดของเวทีกว้างประมาณ ๑.๘๐ เมตร ยาวประมาณ ๕.๓๐ เมตร แสงไฟที่ส่องจอใช้ตะเกียงโป๊ะ (เจ้าพายุ)

ต่อมาใช้หลอดไฟฟ้าขนาด ๖๐, ๙๐ แรงเทียน