แหล่งเรียนรู้ชุมชน กศน. ตำบลหนองแก

กศน.ตำบลหนองแก

ความเป็นมา

กศน. ตำบลหนองแก เดิมเป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองแกและตำบลใกล้เคียง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้นำชุมชนตำบลหนองแกให้ใช้อาคารศาลาหมู่บ้าน หมู่ 3 ตำบลหนองแก เป็นอาคารเรียน ซึ่งอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณวัดหนองแก ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์การเรียนชุมชน” เป็น “กศน. ตำบล” มีสถานะเป็นสถานศึกษาระดับตำบล อยู่ในการกำกับดูแลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองอุทัยธานี เรียกชื่อย่อว่า “กศน. อำเภอ” โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล ทำหน้าที่ประจำ กศน. ตำบลหนองแก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้ง


กศน. ตำบลหนองแก ตั้งอยู่ที่ศาลาหมู่บ้าน หมู่ 3 ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี 61000

หมายเลขโทรศัพท์ 093-7935693

หมายเลขโทรสาร 056-514525

E-Mail Treyakul2929@gmail.com

บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล


กศน. ตําบลหนองแก มีบทบาทสําคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตําบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทําหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน กศน. ตําบล ดังนี้

1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตําบล

1. การวางแผน

1.1 จัดทําฐานข้อมูลชุมชน

1.2 จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล

1.3 จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี

2. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2.1 จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้

- การส่งเสริมการรู้หนังสือ

- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

- การศึกษาต่อเนื่อง

2.2 จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย

- ส่งเสริมการอ่าน

- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท

- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตําบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน

3. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

3.1 ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)

3.2 ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน

3.3 หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย

3.4 อําเภอเคลื่อนที่ร่วมกับอําเภอ

ทำเนียบครู กศน. ตำบล

  1. นางวราภรณ์ สุคง ตำแหน่ง ครู อาสาสมัครฯ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2548 - 2552

  2. นายธนัญชัย ชาญเชิงค้า ตำแหน่ง ครู อาสาสมัครฯ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2552 - 2555

  3. นายเขมทัศน์ หุ่นหล่อ ตำแหน่ง ครู ศูนย์การเรียนชุมชน ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2556 - 2558

  4. นายวทัญญู ถมยา ครู ศูนย์การเรียนชุมชน ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2559 - 2561

  5. นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว ครู ศูนย์การเรียนชุมชน ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2562 - ปัจจุบัน

รางวัล เกียรติบัตร และผลงานดีเด่นของ กศน. ตำบล

- รางวัลครูศูนย์การเรียนชุมชนดีเด่น อันดับที่ 3 ระดับภาคเหนือ ประจำปี 2564

- รางวัลครูศูนย์การเรียนชุมชนดีเด่น อันดับที่ 1 ระดับกลุ่มอู่ข้าวอู่น้ำ ประจำปี 2564

- รางวัลครูศูนย์การเรียนชุมชนดีเด่น อันดับที่ 1 ระดับจังหวัด ประจำปี 2564

หล่งเรียนรู้ในชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา

ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทกิจกรรมทางสังคม-วัฒนธรรมและต้นทุนงบประมาณ

1. แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่

  • นางกฤษณา เจนสาริกรรม ความรู้ความสามารถทางด้าน อาชีพ ที่อยู่ บ้านเลขที่ 12 หมู่ 4 ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

2. แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่/ชุมชน/กลุ่มทางเศรษฐกิจ/สังคม ได้แก่

  • วัดหนองแก ประเภทแหล่งเรียนรู้ วัด / ศาสนา ที่ตั้ง หมู่ 3 ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

  • กลุ่มขนมกงโบราณบ้านหนองแก ประเภทแหล่งเรียนรู้ อาชีพ ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 12 หมู่ 4 ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

3. แหล่งสนับสนุน ทุน/งบประมาณ ประเภทองค์กร ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก การสนับสนุนด้านกิจกรรม ที่ตั้ง 109 หมู่ 6 ตำบหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก การสนับสนุนด้านกิจกรรม ที่ตั้ง 20 หมู่ 6 ตำบหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

  • สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุทัยธานี การสนับสนุนด้านกิจกรรม / วิทยากร ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน

สภาพทั่วไปตำบลหนองแก

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ตำบลหนองแก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองอุทัยธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองอุทัยธานี ประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 7,921 ไร่ เนื้อที่ประมาณ 14.73 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 6,568 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัยประมาณ 1,353 ไร่

การแบ่งเขตการปกครอง

ตำบลหนองแก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้

* หมู่ที่ 1 บ้านห้างนา

* หมู่ที่ 2 บ้านเนินฟักทอง

* หมู่ที่ 3 บ้านกลาง

* หมู่ที่ 4 บ้านฟากคลอง

* หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งสมอ

* หมู่ที่ 6 บ้านเหนือ

** องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง

ข้อมูลด้านสังคม

สภาพสังคมของตำบลหนองแก เป็นสังคมแบบเรียบง่าย ประชากรในตำบลสร้างบ้านเรือนบริเวณใกล้เคียงกัน มีการพึ่งพาอาศัยกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยมีสถาบันศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในพื้นที่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่พิธีกรรมทางศาสนา ตำบลหนองแกมีวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานานดังนี้

1. ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13-16 เมษายน ของทุกปี มีการรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน และเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบุพการี และบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตของลูกหลาน และมีประเพณีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ก่อเจดีย์ทราย มีการสงฆ์น้ำพระ เป็นต้น

2. ประเพณีสลากพัตร ซึ่งจะตรงกับเดือนตุลาคมของทุกปีเพื่ออุทิศให้ผู้ล่วงลับได้รับผลบุญที่เราอุทิศส่วนกุศลไปให้

3. ประเพณีตักบาตรเทโวซึ่งจะมีการตักบาตรในช่วงวันหลังออกพรรษา

4. ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษา

ปัจจุบันนี้สภาพสังคมในตำบล ยังคงยึดถือและปฏิบัติตามประเพณีที่เคยทำกันมาแม้ว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่จากความทันสมัยของเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต สังคมออนไลน์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เข้ามามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆในสังคมมากมายโดยเฉพาะปัญหาเด็ก เยาวชน วัยรุ่น มีบุตรโดยไม่อยู่ในวัยอันควร เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด ติดเกม หนีเรียน อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัวหรือครอบครัวแตกแยกการเลี้ยงดูบุตรแบบวัตถุนิยม เป็นต้น การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ยอมรับ และเรียนรู้ที่จะ เลือกสิ่งที่ดีเข้ามาในวิถีชีวิต และรักษาไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่ สืบต่อถึงลูกหลานต่อไป



ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว

ภาพถ่าย / ภาพประกอบ โดย นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว