ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาตำบลหนองแก

บ้านหนองแก จังหวัดอุทัยธานี ยังมีชื่อเสียงเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผักตบชวา ชาวบ้านที่นี่รู้จักการนำผักตบชวาวัชพืชที่มีมากมายในแม่น้ำ หนอง คลอง บึง มาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการสร้างงานหัตถกรรมประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาหลากหลาย ผู้ที่สนใจสามารถแวะชมและเลือกซื้อสินค้าจากผลิตภัณฑ์ผักตบชวา และสามารถศึกษาดูงานขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาบ้านหนองแกได้อีกด้วย

ในอดีตชาวบ้านบ้านหนองแก มีอาชีพทำไร่ ทำนา จึงเล็งเห็นว่าผักตบชวาเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ชาวบ้านนำยอดอ่อนมาปรุงอาหาร และนำลำต้นที่กำจัดทิ้งมาหมักปุ๋ยเท่านั้น ต่อมาชาวบ้านได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพโดยการนำเอาความรู้และประสบการณ์ในการทำหัตถกรรมงานีฝีมือที่มีอยู่ มาประยุกต์โดยการนำผักตบชวามาทำหัตถกรรมจากผักตบชวา โดยการฝึกสอนให้กับกลุ่มแม่บ้านตำบลหนองแก เป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้านหลังฤดูทำนา โดนเริ่มจากการสอนชาวบ้านนำก้านผักตบชวามาสานเป็นของชำร่วยและเปลญวน ซึ่งใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อนมาก และยังนำผักตบชวาที่ตากแห้งแล้วมาสานขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ

ต่อมาได้มีส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดอุทัยธานี ได้จัดหาวิทยากรมาฝึกอบรม ให้ความรู้เพิ่มทักษะเกี่ยวกับการตากแห้งโดยการผึ่งแดด และการนำมาอบกำมะถัน ผลิตภัณฑ์ที่ฝึกหัดจักสาน ได้แก่ กระจาดรูปไข่ จานรองแก้ว เป็นต้น จนกระทั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้พิจารณาคัดเลือก หมู่บ้านสันป่าม่วง เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว ตามโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันได้มีการพัฒนาที่กระบวนการผลิต รูปแบบ ความคงทน และความสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาด ตลอดจนมีการขยายกำลังการผลิตไปยังหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับการสั่งซื้อของตลาดได้

เอกลักษณ์จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของที่นี่คือ เป็นงานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์ มีความประณีต สวยงาม สามารถทำตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการได้ มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีเอกลักษณ์ของหัตกรรมจักสานผักตบชวา สามารถทำการผลิตได้หลายรูปแบบ เช่น กระเป๋า ตะกร้า กรอบรูป หมวก รองเท้า ของชำร่วย และโคมไฟ เป็นต้น จึงทำให้รูปแบบสินค้ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีรูปแบบที่สวยงามและทันสมัย ทำให้ผลิตภัณฑ์ผักตบชวาของบ้านหนองแก เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคที่นิยมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ปี พ.ศ. 2557 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองอุทัยธานี

กศน. ตำบลหนองแก จึงได้จัดโครงการจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ หลักสูตรการทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และธุรกิจครัวเรือนที่สามารถนำไปต่อยอดและส่งเสริมกลุ่มอาชีพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในอาชีพสามารถพัฒนาตนเองและกลุ่ม ไปสู่การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน

สามารถนำมาจำหน่ายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์และมุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนตำบลหนองแก

อำเภอเมืองอุทัยธานี ร่วมถึงการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

วิธีดำเนินการ

3.1 จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทราบถึงพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ สภาพปัญหา ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการ

3.2 จัดทำโครงการ

3.3 ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อฝึกอบรมทักษะให้กับสมาชิกในกลุ่ม

3.4 ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดและสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

3.5 ติดตามและประเมินผลร่วมกับหน่วยงาน/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

3.6 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยป้อน

1. ด้านบุคลากร: ครู กศน.ตำบล ในพื้นที่มีความใกล้ชิดเป็นกันเองกับสมาชิกกลุ่ม พร้อมทั้งได้รับแรงสนับสนุน ส่งเสริม และให้คำปรึกษาที่ดีจาก ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองอุทัยธานี และสำนักงาน กศน.จังหวัดอุทัยธานี ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ให้กลุ่มประสบความสำเร็จ

2. ด้านงบประมาณ : งบประมาณศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของสำนักงาน กศน. และงบประมาณ

การบริหารจัดการของกลุ่มเอง

3. ด้าน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ : จากโครงการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นในแต่ละบ้านของสมาชิกในกลุ่ม และประธานกลุ่ม

4. ด้านการบริหารจัดการ: เนื่องจากกลุ่มมีความเข็มแข็ง และสมาชิกกลุ่มเองมีความสามัคคีกันมาก ทำให้การบริหารจัดการภายในกลุ่มเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งมีภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย

ในการช่วยสนับสนุนให้กลุ่มสามารถผลิตภัณฑ์ ได้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

เงื่อนไข/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของโครงการนี้ คือการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก กรมการพัฒนาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ประชาชนในหมู่บ้าน

เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ให้ความรู้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ในการพัฒนาผลผลิต ให้มีมาตรฐาน และนำความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว

ภาพถ่าย / ภาพประกอบ โดย นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว