ขนมกงโบราณบ้านหนองแก

ภูมิปัญญาในท้องถิ่นตำบลหนองแก

ขนมกงโบราณบ้านหนองแก

ในสภาวะที่ประเทศกาลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบันส่งผลกระทบไปถึงประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำต้องปิดกิจการลงด้วยเหตุผลต่าง ๆ สร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของชาติเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวคิดทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสังคมไทยในภาวะวิกฤต ถ้าทำได้เพียงส่วนหนึ่งสังคมไทยก็จะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ซึ่งอาจอาศัย เวลาและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานและคุณค่าทางความจริงที่เรามีอยู่ สู่การแก้ปัญหาและการพึ่งตนเองต้อง เป็นการเรียนรู้เพื่อการประยุกต์ และการจัดความสัมพันธ์ของชีวิตและรายได้แบบใหม่ขึ้นมา โดยมีเกษตรกรรมแบบยั่งยืนเป็นฐานของความพออยู่พอกิน ในระดับครอบครัวขยายสู่ความเพียงพอในระดับชุมชน เรียนรู้คุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ของชุมชนจัดการ ความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมกับความรู้และเทคโนโลยีโดยมีอุตสาหกรรมชุมชน และธุรกิจชุมชน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ซึ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มี คุณภาพซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างรายได้ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้นจัดขึ้นเพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่ และการบริหารจัดการเพื่อ เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้า เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนรู้สึกตื่นตัวและสร้างจุดสนใจให้กับพื้นที่โดยการนำวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี 2 ของชุมชนมาใช้เป็นจุดขาย เกิดจากการผลักดันและส่งเสริมจากรัฐเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และคนในชนบท อีกทั้งเพื่อดำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้คงอยู่ จากการผลิตภายในครัวเรือนมาสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อมสู่วิสาหกิจุชมชนขนาดกลางก้าวไกลไปในตลาดโลกพัฒนาสู่อุตสาหกรรมต่อไป จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่นโยบายภาครัฐจนเกิดเป็นปรัชญาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ดังนี้ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการเชิงพัฒนาที่มุ่งเน้น ไปที่กลุ่ม “รากแก้ว” ประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น โดยอาศัยระบบการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยครอบคุลมถึงวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างตามพื้นที่ สินค้า OTOP หลายชนิดกลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสินค้า OTOP นั้นคือ บรรจุภัณฑ์ซึ่ง สอดคล้องกบแนวความคิดที่กล่าวว่าการที่ดำรงชีวิตใน ต่างจังหวัดนั้นมีความสะดวกสบาย แต่ก็จะทำให้การหารายได้มาใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากงานที่จะมีให้ประกอบอาชีพนั้นมีน้อย ถึงแม้วาจะมีโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” มาช่วยสร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลักก็ตาม แต่จะเป็นไปในลักษณะ เมื่อผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนมากจนล้นตลาด นำมาจำหน่ายได้ราคาที่ต่าง จึงได้มีการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งก็จะหาตลาดที่จะนำสินค้ามาจำหน่ายลำบาก เกษตรกรที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการค้าขายก็จะโดนผู้อื่นหลอกลวง ถ้าเป็นช่วงที่หน่วยงาน ราชการของรัฐสนับสนุนเปิดตลาดให้ขายสินค้า OTOP ถึงจะทำให้มีรายได้สะพัด มีผลผลิตทางการเกษตรก็สามารถนำมาแปรรูปจำหน่าย แต่ดูไม่เหมาะสมตรงที่มีการใช้ถุงใส ถุงขุ่น รัดยาง และไม่มีฉลากจำหน่ายออกไป ต่อมาก็มีข้อกำหนดต่าง ๆ จากทางการออกมา สินค้า OTOP ต้องมีบรรจุภัณฑ์ และฉลาก แสดงชื่อกลุ่ม ถ้าเป็นกลุ่มอาหารหรือของกินทุกชนิดต้องมีเลขหมาย อย. จากสาธารณสุข ถ้าเป็นสมุนไพรต้องมีทะเบียนยากำกับทำให้ผู้ผลิตเริ่มมองถึงอุปสรรค จึงเริ่มมีการจัดฝึกอบรมจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำให้กลุ่มแม่บ้านเริ่มจะมองเห็นความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ว่าเป็นตัวช่วยที่ดี ทำให้ผู้บริโภคมันใจ เพราะบรรจุภัณฑ์มิใช่เพียงทำหน้าที่ห่อหุ้มสินค้า เท่านั้น ยังทำหน้าที่บอกคุณสมบัติของสินค้าด้วย และส่วนใหญ่ก็จะมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของ บรรจุภัณฑ์ เป็นอย่างดีว่าทำให้สินค้าขายได้ จังหวัดอุทัยธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่างมีศักยภาพในการผลิต ทางด้านการเกษตร ทำให้ผลผลิตการเกษตรที่เกิดขึ้นมีหลากหลายชนิด อาทิ เช่น ข้าว อ้อย มัน สำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผลผลิตเกษตรที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมให้มีผลผลิตมากอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตราคาถูก ในอดีตบ้านหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี ได้นำเอาผลผลิตทางการเกษตร เช่น ถั่ว มาแปรรูปใช้เป็นส่วนประกอบในการทำขนมกง เพื่อใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้าน ใหม่ซึ่งเป็นการใช้ภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนและตกทอดแก่ชนรุ่นหลังเรื่อยมาและหนึ่งในนั้นที่ยังสืบทอดการทำขนมกงก็คือ ขนมกงหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ใช้สูตรทำขนมกงแบบสูตรโบราณและได้เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) แต่ในปัจจุบัน ซึ่งจากการสัมภาษณ์เจ้าของกิจการคนปัจจุบันคือ ทำให้ทราบว่าต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ขนมกง เนื่องจากในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ที่ใช้นั้นมีข้อบกพร่องที่ไม่ สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์เพราะใช้ที่เย็บกระดาษ เย็บปิดปากถุง ทำให้ขนมกงหมดอายุก่อน กำหนดส่วนฉลากนั้นใช้กระดาษพิมพ์ข้อมูลลงไป เสร็จแล้วใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์ทำให้ฉลาก สัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์ และทำให้สีที่ฉลากปนเปื้อนตัวผลิตภัณฑ์ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่นิยมซื้อ ไปเป็นของฝากอีกทั้งผู้วิจัยซึ่งมีความรู้ความสนใจด้านการออกแบบและต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่นการทำขนมกงหนองแกซึ่งปัจจุบันนั้นค่อย ๆ หายสาบสูญไป จึงเห็นว่าบรรจุภัณฑ์สำหรับ ขนมกงซึ่งผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวนิยมซื้อเป็นของฝากนั้น ควรมีการพัฒนาในด้านการออกแบบ ทั้งตัวบรรจุภัณฑ์และปรับเปลี่ยนฉลากบนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้การออกแบบผ่านรูปภาพ ตัวอักษร สีสัน และการจัดวาง ตามหลักของการออกแบบ และเหมาะสำหรับเป็นของฝากได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ไปเป็นแนวทางในการ พัฒนารูปแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นต่อไป

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว

ภาพถ่าย / ภาพประกอบ โดย นางสาวตรียกุล แว่นแก้ว