ดาวน์โหลดเอกสารการดำเนินงาน

เส้นทางสู่ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ

การศึกษาที่ยืดหยุ่น ป้องกันเด็กหลุดจากระบบ

โรงเรียนนวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ สพม.กาญจนบุรี

การเผยแพร่การดำเนินงาน

1 โรงเรียน 3 รูปแบบ

โรงเรียนนวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ สพม.กาญจนบุรี

คณะศึกษาดูงาน สพป.ราชบุรี  เขต 1  โรงเรียนมหาราช 7

คณะศึกษาดูงาน กองทุกเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

20 มกราคม 2566 

คณะศึกษาดูงาน โรงเรียนเนกขัมวิทยา สพม.ราชบุรี

“ถ้าการศึกษามีแค่ทางเลือกเดียว โอกาสของผมคงหมดไปแล้ว” ชวนแกะรอยเส้นทางกลับสู่การเรียนรู้ กับ โมเดลการศึกษา ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ


โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในโรงเรียนแกนนำ ‘การศึกษาที่มีทางเลือก’ ซึ่งทำให้เด็กเยาวชนที่ตกหล่น ออกกลางคัน และมีความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษา สามารถมีโอกาสกลับสู่การเรียนรู้ที่เหมาะสม มีคุณภาพ สอดรับกับสถานการณ์และบริบทชีวิต ทั้งยังเป็นการศึกษาที่มีเป้าหมายตอบโจทย์ชีวิต


กรณีศึกษาของเยาวชนอายุ 16 ปี ที่หลุดจากระบบไปหลังจบชั้น ม.1 แล้วออกไปทำงานกว่า 3 ปี แต่ถึงวันหนึ่งเมื่อน้องอยากกลับมาเรียน ด้วยเป้าหมายเพื่อนำวุฒิการศึกษาไปใช้ต่อยอดผลักดันสู่ความก้าวหน้าในชีวิต ประตูโรงเรียนก็ยังเปิดกว้างพร้อมรองรับอยู่เสมอ


เพราะ “จังหวะชีวิตของคนแต่ละคนนั้นต่างกัน บางคนถนัดเรียนในห้องเรียน บางคนต้องไปเรียนเอาจากข้างนอก แต่สุดท้ายแล้ววุฒิการศึกษาก็ยังจำเป็นมาก ๆ ซึ่งถ้าการศึกษามีแค่ทางเดียวคือต้องเข้าห้องเรียนทุกวัน โอกาสสำหรับผมก็คงหมดไปแล้ว”

           สถานศึกษาต้องมีหน้าที่หล่อเลี้ยงแรงบันดาลใจ ทำให้นักเรียนทุกคนเห็นว่าทางเลือกของการศึกษาไม่ได้มีแค่ทางเดียว แต่ยังมีพื้นที่อีกมากมายที่พร้อมให้โอกาส...เพราะสำหรับคนคนหนึ่งแล้ว ถ้าถึงวันที่เขาต้องการโอกาส แต่หันไปทางไหนก็มืดไปหมด ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาคนหนึ่ง เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย”

.

            ด้วยแนวคิดนี้ โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูในโรงเรียน จึงได้ร่วมกันผลักดัน นวัตกรรม "1 โรงเรียน 3 ระบบ ขึ้น

.

‘1 โรงเรียน 3 ระบบ’ คือ การสร้างพื้นที่ที่เด็กในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เรียนร่วมกัน เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและลดอัตราการออกกลางคัน โดยการจัดการเรียนการสอนมีความคล้ายกับการเรียนแบบโฮมสกูล


มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กตกหล่น ออกกลางคัน และกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา


          ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ระบุไว้ว่า “การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม”

.

ข้อความนี้เอง…ที่นำมาสู่ความตั้งใจทลายกรอบเพื่อสร้างโอกาสสำหรับเด็กทุกคน โดยมีจุดเน้นที่การพัฒนาให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากครู บุคลากร และชุมชน กลายเป็นระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก


 อ่านเรื่องราวนวัตกรรม ‘1 โรงเรียน 3 ระบบ’ แบบเจาะลึกได้ที่ https://www.eef.or.th/article-290923/


พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว หนังสือ "การศึกษาที่ทุกคนมีทางเลือกและตอบโจทย์ชีวิต"

 ลิงก์อีบุ๊ก  www.eef.or.th/publication-72356/