ประชาสัมพันธ์  ข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์ไม่แสวงหากำไร

Link

ข่าวประกาศรับสมัครงาน

หนังสือ การรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัณญัติฯ.pdf

อพม.คือใคร

               เป็นประชาชนที่มีจิตอาสา หรืออาสาสมัครที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจปัญหาสังคมในพื้นที่เป็นอย่างดี  และเข้ามาเป็น อพม. เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายตามบทบาทภารกิจของ พม. คือ เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และคนไร้ที่พึ่ง โดยทำหน้าที่

                1. ชี้เป้า เฝ้าระวัง โดยการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย คัดกรองปัญหา และคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

                2. ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรือการให้คำปรึกษา

                3. ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือ และ อพม.ทำหน้าที่ด้วยจิตอาสา ด้วยหัวใจที่ต้องการช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ

การจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง

     เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลอันมีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เห็นสมควรให้จัดตั้ง “นิคมกสิกร” ขึ้นในจังหวัดลพบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการบูรณะและจัดสร้างเมืองใหม่ลพบุรี นอกจากนี้ก็เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพอยู่ในนิคมกสิกรแห่งนี้ ทั้งเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนได้มีที่ดิน ทำกินเป็นของตนเองด้วย นิคมกสิกรจังหวัดลพบุรี ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓ โดยมี คณะกรรมการจังหวัดลพบุรีเป็นผู้ดำเนินงาน ต่อมาได้โอนมาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อ ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ หลังจากนั้นนิคมฯ มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ และเปลี่ยนชื่อจาก “นิคมกสิกรจังหวัดลพบุรี” เป็น “นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี” 

     นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรีประกอบพิธีเปิดป้ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ อนึ่ง เนื่องจากนิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี และนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกัน และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๕ ฉบับเดียวกัน ในระยะต่อมากรมประชาสงเคราะห์ได้มีการรวมนิคมสร้างตนเองทั้ง ๒ แห่งนี้เข้าด้วยกัน จนกระทั่งได้มีการแยกเขตการบริหารงานของนิคมสร้างตนเองทั้ง ๒ แห่ง เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๕ จึงมี ผลทำให้นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี แยกการบริหารกิจการนิคมออกจากนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัด สระบุรี อีกครั้งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน 

ข้อมูลทั่วไป

สมาชิกนิคมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกร และเกษตรกรรม โดยมีผลผลิตหลัก ประกอบด้วยเลี้ยงวัวนม,ทำไร่อ้อย,ทำไร่มันสำปะหลัง,ปลูกข้าวโพด และปลูกทานตะวัน รายได้เฉลี่ยของสมาชิกนิคม เป็นเงิน ๒๖๔,๖๐๐ บาท/คน/ปี 

สภาพทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ของนิคม - สภาพพื้นที่ทั่วไป ลักษณะดิน และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ สภาพพื้นที่นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี โดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับเนินสูงพื้นที่บางตอนเป็นหินลูกรังและภูเขา บางตอนเป็นที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำอยู่ในพื้นที่ทั่วไป และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยซับเหล็ก ขนาดความจุ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และอ่างเก็บน้ำห้วยส้ม ขนาดความจุ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร มีป่าไม้ธรรมชาติเพียงเล็กน้อย ลักษณะของดินแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ บางตอนมีลักษณะ เป็นดินดำ ลพบุรี บางตอนเป็นดินปากช่อง บางตอนเป็นดินร่วนปนทรายลักษณะดินร้อยเอ็ด 

สภาพทางภูมิประเทศและสภาพทางภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่นอีกด้วย มีอุณหภูมิเฉลี่ย ๒๘.๓ องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ ๑,๑๔๗.๖๐ มม 

ที่ตั้งนิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี

ลิงค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง