วัฒนธรรมประเพณี

5. วัฒนธรรมประเพณี

5.1 ประเภท(ข้อมูลเฉพาะ)วัฒนธรรม

- วัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม บ้านเรือน

5.2 ชื่อของวัฒนธรรมและ(หรือ)ประเพณี

กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านป่าปุ๊

5.3 ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

ชุมชนบ้านป่าปุ๊ เป็นชุมชนดั้งเดิมของชาวไทยใหญ่ ต่อมาชาวกระเหรียงปกากะญอได้ย้ายเข้ามา

ตั้งรกรากอยู่ด้วย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีงานหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมืองเป็นอาชีพเสริม ต่อมา พ.ศ.2542 มีการรวมเป็นกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านป่าปุ๊ และยกระดับขึ้นเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านป่าปุ๊จนถึงปัจจุบัน ผ้าทอกะเหรี่ยงป่าปุ๊มีชื่อเสียงที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถใช้เป็นตัวเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและเป็นต้นแบบให้ชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถีอื่นระดับจังหวัดในปัจจุบัน

5.4 การสืบสาน การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

“ต่ากี๊ย่ะ” หรือ ผ้าฝ้ายทอมือที่มีลวดลายเฉพาะของชาวป่าปุ๊ การทอผ้ายังเป็นการทอมือ ทอเอว

ของชาวกะเหรี่ยง มีลักษณะเด่นคือการนำทรัพยากรจากธรรมชาติ ทั้งเปลือกไม้ ใบไม้ ผลไม้ มาย้อมสีผ้าโดยไม่ใช้สารเคมี เช่น ใบสมอไทยย้อมให้สีน้ำตาลอ่อน ลูกสมอย้อมให้สีเทาเข้ม สีน้ำเงินจากใบห้อม สีเทาจากลูกมะขามป้อม เปลือกเพกาผสมใบถั่วย้อมให้สีเขียวอ่อน สีโอรสจากเปลือกเงาะป่า สีชมพูจากเปลือกต้นมะขาม สีเลือดหมูจากเปลือกมังคุด และ

สีเหลืองจากขมิ้นและเปลือกมะม่วง เป็นต้น รวมถึงนำสีจากธรรมชาติมาถ่ายทอดลงบนลายผ้าด้วยลวดลายลักษณะเฉพาะ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิมและประยุกต์ให้ทันสมัย เป็นการต่อยอดจากการทอผ้าเพื่อการนุ่งห่มในครัวเรือนสู่การผลิตเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอันเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมต่อยอดไปสู่การสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น เป็นทั้งการอนุรักษ์และต่อยอดไปพร้อมกันได้เป็นอย่างดี

5.5 สื่อประกอบ(ภาพถ่ายและวิดีทัศน์)

5.6 ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียงหรือผู้เขียน

นางพิมพา กองวัฒนาสุภา เจ้าของร้านพิมพาผ้าปัก (โทรศัพท์ 0869248919) 82 หมู่ที่ 2

ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000

5.7 ข้อมูลอื่นๆ

-