แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ชื่อเรื่อง : กลุ่มผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ

ชุมชน : หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "เกษตรอินทรีย์" เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่คงมีความคุ้นเคย หรืออย่างน้อยต้องเคยได้ยินคำๆ นี้กันมาบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารเคมีตกค้าง ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในแนวทางการทำเกษตรกรรมที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยไม่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช ผลผลิตที่ได้จึงมีความเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการทำเกษตรอินทรีย์ยังสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และคำนึงถึงระบบนิเวศในแหล่งทำการเกษตรนั้นๆ จึงนับได้ว่าเป็นวิถีทางที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนต่อทั้งชุมชนในภาคเกษตรกรรม ภาคสังคม และต่อสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา

คำขวัญ

“ปลูกแบบอินทรีย์มีใจเป็นที่ตั้ง ยึดมั่นคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ประวัติความเป็นมาของกลุ่มผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ

ก่อนที่จะมาเป็น “กลุ่มผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ จำกัด” เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่มีแนวคิดเดียวกันเป็นกลุ่มคนที่ รักสุขภาพ และสร้างแหล่งอาหารโดยการปลูกพืชผักไว้ทานเองในครัวเรือน เหลือกินก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน มีเหลือมากก็จำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับตนเองกลุ่มเกษตรอินทรีย์วังร่องร่วมใจได้รับพระเมตตาจาก พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ได้เริ่มจากการพัฒนาต่อยอดตามโครงการเมล็ดพันธุ์พระราชทาน จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งประชาชนในชุมชนได้ทำการจัดพิธีพระราชทานเมล็ดพันธุ์ ณ บ้านวังร่อง หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นในวันที่ 4 ก.ย. 2562 อัญเชิญโดย กอ.รมน.จังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับ กศน.ตำบลห้วยไร่ และหน่วยงานต่างๆ พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างแหล่งอาหารที่มั่นคงให้ชุมชนโดยยึดแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งพาตนเองได้และพัฒนาคุณภาพผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้กับชุมชนชาววังร่อง มีกิน มีใช้ มีรายได้ที่มั่นคง เหลือจากการกินก็จำหน่าย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยิ่งในตอนนั้นวิกฤติของโรคระบาด ไวรัสโคโรน่า 2019 กำลังระบาดอย่างหนัก

จากกลุ่มปลูกผักเล็กๆ ไม่กี่หลังคาเรือนจนกลายมาเป็นกลุ่มปลูกผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจแบบครบวงจร โดยมีการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานหลากหลายโครงการจากหน่วยงานหลักๆ คืองบประมาณจาก กศน. กอ.รมน.(กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) เกษตรอำเภอหล่มสัก เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้ามาสนับสนุนทั้งความรู้ งบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ อย่างต่อเนื่องเสมอมา จนทำให้กลุ่มปลูกผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ มีความรู้ มีความสามารถในการผลิต ปุ๋ยอินทรีย์จากพืช, น้ำส้มควันไม้, น้ำกลั่นสมุนไพรไล่แมลง, ปุ๋ยพืชสด, และปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อใช้เองและจำหน่ายให้สมาชิกในกลุ่มและเกษตรกรรายใหม่จนมาถึงตอนนี้ กลุ่มผักอินทรีย์ วังร่องร่วมใจ ได้ทำการจดทะเบียนขึ้นเป็นบริษัทอย่างเป็นทางการแล้ว

ปัจจุบันมี บริษัท เลม่อน ฟาร์ม จำกัด, Blue Sky Resort เข้ามาทำสัญญากับทางสมาชิกผ่าน บริษัท ผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ จำกัด เพื่อนำผลิตผลต่างๆไปจำหน่ายในร้านค้าในเครือของบริษัทจึงทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง จึงมีความสนใจอยากเข้ามาเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ (การสนับสนุนงบประมาณล่าสุด)

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3 ล้านบาท จากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ปี 64 ของเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1 แสนบาท จากการประกวดผู้น้ำการเปลี่ยนแปลงระดับเขตปี 64 ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์



คณะกรรมการบริหารงาน

1. นายไพทูลย์ อินหา ประธาน

2. นายบุญศรี แก้วสะอาด กรรมการฝ่ายบริหาร, ประธานฝ่ายบริการและบำรุงรักษา

3. นายประยูร ทองวัน กรรมการฝ่ายบริหาร และประธานฝ่ายตรวจรับ

4. นางจิตตรา พงค์คำ กรรมการฝ่ายการเงิน และเลขานุการ

5. นางจีรนันท์ กันเกลียว กรรมการฝ่ายการเงิน

6. นางสำราญ มิ่งมา กรรมการฝ่ายการเงิน

7. นางสาวปิยะรัตน์ ชัยเชิด กรรมการเหรัญญิก

8. นายประมุข พงค์คำ กรรมการฝ่ายตรวจรับ

9. นางอุบล ปาศรี กรรมการฝ่ายตรวจรับ

10. นายวิทวัส คนมาก กรรมการฝ่ายบริการและบำรุงรักษา

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์การตลาด

1. นางจิตตรา พงค์คำ

2. นางสาวปิยะรัตน์ ชัยเชิด

จำนวนสมาชิกในกลุ่มเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ปัจจุบันมีทั้งหมด 84 คน

มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความสนใจของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่


ภาพประกอบ

ที่มาของข้อมูล : นายไพฑูล อินหา ผู้ใหญ่บ้านวังร่อง หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

เจ้าของรางวัลผู้ใหญ่บ้านแหนบทองคำ / รางวัลผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ / รางวัลอื่นอีกมากมาย

ภาพ : ครูอาทิตย์ มีตา ครูกศน.ตำบล