คลิก 👆

ระวัง! เรื่องคุ้นชินในโลกโซเชียล แต่ผิดกฎหมายในโลกชีวิตจริงนะ l DGTH


หลายคนหันมาหาช่องทางเพิ่มรายได้ด้วยการขายของออนไลน์กันมากขึ้น แม้การแข่งขันจะสูง แต่ก็ถือว่าขายง่าย ลูกค้าเยอะ และเป็นอาชีพที่เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้มากที่สุด

แต่การขายของออนไลน์ที่ดูเหมือนจะเริ่มต้นง่ายนั้น อันที่จริงก็มีข้อกฎหมายบังคับเอาไว้ว่าจะต้องจดทะเบียนขึ้นเป็นร้านค้าออนไลน์ถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่มักมองข้ามไป วันนี้เราจะพาไปดูกันว่า ถ้าจะขายของออนไลน์นั้น ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง? แล้วการจดทะเบียนต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์กับร้านค้าออนไลน์อย่างไร? ไปดูกันเลย

เปิดร้านขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  

ตามกฎหมาย หากจะเปิดร้านขายของออนไลน์ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายนี้บังคับทั้งการขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งแบบมีหน้าร้านและไม่มีหน้าร้าน หากไม่ทำตามก็มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 100 บาท จนกว่าจะไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ร้านขายของออนไลน์แบบไหน ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ร้านขายของออนไลน์และธุรกิจเหล่านี้ต้องขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มเปิดขาย โดยจะต้องมีหน้าเว็บไซต์ขายสินค้าที่เสร็จสมบูรณ์ 

ร้านขายของออนไลน์ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ไหน? 

เอกสารสำหรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะได้รับคือ ใบทะเบียนพาณิชย์ แบบ พค. 0403 ตัวอย่าง www.trustmarkthai.com

อ่านคู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่ www.trustmarkthai.com 

ร้านขายของออนไลน์จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วได้อะไร?  นอกจากได้ใบทะเบียนพาณิชย์ แบบ พค. 0403 แล้ว การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยยืนยันการมีอยู่จริงของร้านขายของออนไลน์ เรียกว่าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้า ถือเป็นการยกระดับร้านขายของออนไลน์ของคุณให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังสามารถขอเครื่องหมาย DBD Registered และ DBD Verified เพื่อการันตีความเชื่อมั่นได้อีกด้วย

เครื่องหมาย DBD Registered และ DBD Verified

เครื่องหมายทั้งสองนี้ ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นเครื่องหมายสำหรับแสดงบนหน้าเว็บไซต์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านขายของออนไลน์และ E-Marketplace

สำหรับร้านค้าออนไลน์ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายทั้งสองนี้ก็ได้ เพียงแค่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เรียบร้อยก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับใครที่อยากเพิ่มความเชื่อถือ หรือมีเว็บไซต์ส่วนตัวในการขายของออนไลน์ ก็สามารถมาขอเครื่องหมายไปติดเอาไว้บนหน้าเว็บ วิธีการขอเครื่องหมาย ทำได้โดย

จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วต้องเสียภาษีแบบไหน?

มาถึงเรื่องของการเสียภาษี ร้านขายของออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม แต่ในกรณีที่ประกอบกิจการแล้วเกิดรายได้ ก็ให้เสียภาษีเงินได้ตามปกติในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น อ่านต่อ ขายของออนไลน์พร้อมทำงานประจำ ต้องเสียภาษีอย่างไร?

อีกเรื่องหนึ่ง คือ สำหรับบุคคลธรรมดาที่เปิดร้านขายของออนไลน์ โดยปกติแล้วไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนนิติบุคคล แต่การจดทะเบียนนิติบุคคลจะช่วยให้ร้านขายของออนไลน์เสียภาษีต่อปีน้อยลง เพราะอัตราภาษีของนิติบุคคลนั้นน้อยกว่าอัตราภาษีของบุคคลธรรมดานั่นเอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีสำหรับร้านขายของออนไลน์

แต่ไม่ว่าจะเลือกแนวทางไหน ร้านขายของออนไลน์ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็ควรยื่นแบบภาษีเงินได้ทุกปีตามกฎหมาย หากไม่ยื่นแล้วโดนตรวจสอบย้อนหลัง ระวังขนหน้าแข้งจะร่วงเอานะคะ  

อ่านเพิ่มเติม

เปิดร้านขายของออนไลน์ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เรียบร้อย แล้วมาช้อปอุปกรณ์เพื่อธุรกิจร้านค้าออนไลน์ของคุณ ได้เลยที่เว็บไซต์ OfficeMate เรามีบริการส่งฟรี เมื่อช้อปครบ 499 บาทด้วยนะ! 

ขอบคุณข้อมูลจาก

การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น

ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)

- การควบคุมอินพุท

- การควบคุมการประมวลผล

- การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)

- การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)

- การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)

- การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)

การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)

- การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ

- การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ

- แผนการป้องกันการเสียหาย

- ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)

การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)

- ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)

- การแปลงรหัส (Encryption)

- กำแพงไฟ (Fire Walls)

- การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)

- การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)

- การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

การใช้ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจ ล้วนเป็นสิ่งที่เจ้าของบริษัทหรือแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่ารายเล็ก หรือรายใหญ่ล้วนให้ความสนใจ แต่รู้หรือไม่ว่าการทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการเป็น เจ้าของธุรกิจออนไลน์ ถ้าจะทำให้ถูกกฎหมายนั้น จะต้องมีความรู้และศึกษาให้เข้าใจก่อนลงมือทำ คณะบริหารธุรกิจจึงขอนำเสนอกฎหมายหลัก ๆ หลายเรื่องที่เจ้าของธุรกิจออนไลน์ควรต้องรู้

เจ้าของธุรกิจออนไลน์ ควรรู้กฎหมายอะไรบ้าง? 

1.กฎหมายทะเบียนพาณิชย์

            เป็นกฎหมายฉบับแรกเลยที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่อยากจะเป็น เจ้าของธุรกิจออนไลน์ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้ผู้ทำธุรกิจออนไลน์ ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ได้ และยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า เพื่อป้องกันการหลอกลวง หรือถูกโกง โดยบริษัทหรือแบรนด์นั้นๆต้องนำเลขทะเบียนที่ได้จากการจดนั้น ไปแสดงบนหน้าร้านค้าออนไลน์ด้วย

2.กฎหมายขายตรงและการตลาดแบบตรง

            เจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ ถือเป็นลักษณะของการ “ตลาดแบบตรง” ต้องดำเนินการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการตลาดแบบตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก่อนดำเนินธุรกิจ มิฉะนั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

3.กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

         กฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญการทำธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะให้การรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวเอกสารที่เป็นกระดาษ และสามารถนำเอกสารซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้แทนต้นฉบับหรือให้เป็นพยานหลักฐานในศาลได้

4.กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

            เจ้าของธุรกิจต้องพึงระวังไม่ให้กระทำความผิดที่อาจจะเกิดจากการนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นการผิดกฎหมาย ดังนั้น การจะทำธุรกิจจึงต้องมีความสุจริตเป็นสำคัญ โดยหากกระทำความผิดตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว ก็มีโทษทางอาญาทั้งปรับหรือจำคุกที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

5.กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

            ในการทำธุรกิจ เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ประกอบการต้องโฆษณาสินค้าและบริการของตนเอง ซึ่งการโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม

         กฎหมายเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานของการทำธุรกิจ ดังนั้นการจะทำธุรกิจออนไลน์ ควรจะเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจให้ดี จะได้ไม่ทำผิดพลาดไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและแข็งแกร่ง

ที่มา : ba-rsu@rsu.ac.th 

เรื่องผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คนใช้สื่อออนไลน์จำง่ายๆ ดังนี้

ระวัง! เรื่องต้องห้าม เสี่ยงผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 

สาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2 สำหรับชาวเน็ตหรือคนทำงานออนไลน์ควรรู้ไว้เพื่อการใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย  มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้


1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 

2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 

3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 

4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม 

5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3 

6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด  

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด 

8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้  

9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ  

10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย  

11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท 

12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ 

13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้ 



นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้สามารถคลิกดาวน์โหลดและอ่านฉบับเต็มได้ ที่นี่ พรบ.คอมพิวเตอร์  



ที่มา :

www.marketingoops.com 

www.contentshifu.com 

www.thairath.co.th 

กฎหมายและสื่อสังคมออนไลน์


พระราชบัญญัติ

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ

ที่มา : https://www.spph.go.th/aboutus.php?id=335

      Digital law กฎหมายดิจิทัล สำคัญอย่างไร ?   

            ปัจจุบัน ประเภทของ Cyber threats นั้นหลากหลาย มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ในช่วงเวลาที่ “กิจกรรมทางเศรษฐกิจกระทำผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก”

            หากพิจารณาตามกฎหมายนิยามของ Cyber threats หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ปรากฏอยู่ใน พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ร.บ.ไซเบอร์) ซึ่งหมายถึงการกระทำโดยไม่ชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมใดๆ ที่มีเจตนาให้เกิดการประทุษร้ายและก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

            วันนี้จึงได้ยกชุดกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และแนวทางการใช้ เพื่อให้ทราบถึงข้อกำหนดต่างๆ

1.กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

            พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งได้ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562

ขอบเขตการใช้บังคับ มีดังนี้

2.กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

            พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม 2559 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค. 2560 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น

แนวทางการใช้บังคับ

มาตรการที่จะต้องกำหนดให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย มี 2 ประเภท ดังนี้

3.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และปัจจุบันได้ถูกเลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์มือถือ, อาชีพ, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลการเงิน, รูปถ่าย เป็นต้น

4.กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ มาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งมีบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การดำเนินการที่กำหนดขึ้น เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศ

แน่นอนได้เลยว่า ชุดกฎหมายที่อ่านไปเบื้องต้นนั้นเป็นเพียงข้อกำหนดที่ครอบคลุมกฎหมาย ปลีกย่อยไว้อีกหลายข้อ ซึ่งในแต่ละชุดก็จะมีลายละเอียดหรือข้อกฎหมายปลีกย่อย อยู่ในชุดกฎหมาย ระเบียบนี้สร้างขึ้นเพื่อควบคุมสังคมทั้งหมด โดยกฎหมายได้รับการยอมรับ และบังคับใช้ในระดับสากล จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรมในสังคมและเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนทั่วไปและรักษาผลประโยชน์ของพวกเขา นั้นเอง

ที่มา : https://www.acisonline.net/?p=9568