การทำก๊าซชีวภาพโอ่งงามละมุล

คิดค้นโดยนางละมุล นายพลายงาม แก้วตาล ที่อยู่ 65 หมู่ที่ 5 บ้านทรัพย์ตะเคียน ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ได้จดทะเบียนจากกรรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้เผยแพร่ไปสู่เกษตรกรอื่น ๆ ภายในจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอื่นๆ ผู้ใหญ่ละมุล แก้วตาล ได้รับรางวัล Thailand Energy Award 2010 ประเภทผู้นำชุมชนดีเด่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากกระทรวงพลังงาน ถือเป็นการลดรายจ่ายค่าก๊าซหุงต้มของเกษตรกร

การผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์

(ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง)

1. โอ่งแก๊สชีวภาพ ขนาด 2000 ลิตร

2. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 5,000บาท/บ่อ

3. ใช้แก๊สชีวภาพแทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือน

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- ลดค่าใช้จ่ายด้านแก๊สหุงต้ม

- ลดค่าใช้จ่ายซื้อปุ๋ยเคมี

- ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน

5. จำนวนสัตว์ที่เหมาะสมในการเลี้ยงเพื่อ

ผลิตแก๊สชีวภาพในครัวเรือน โค กระเบือ

ประมาณ 3 - 4 ตัว


วัสดุอุปกรณ์

1. ถังส้วม เส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร

2. ท่อใยหิน เส้นผ่านศูนย์กาลาง 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร

3. โอ่งใหญ่ เหล็ก 2 หุน 2-3 เส้น

4. ท่อนำแก๊สขนาด 4 หุน ยาว 45 เซนติเมตร

5. อิฐบล็อก 80 ก้อน ปูน 8-10 ถุง

6. ทรายและหิน อย่างละ 1 ลบ.ม.

7. น้ำยากันซึม 2 ลิตร

8. ฟลิ้นโค้ท 1 กระป๋อง


ขั้นตอนที่ 1 : ขุดดินเพื่อวางโอ่ง ซึ่งเป็นบ่อหมัก ลึกประมาณ 1-1.2 เมตร และขุดดินด้านหน้า ต่อจากโอ่ง สำหรับสร้างบ่อมูลล้น 2x2x0.7 เมตร


ขั้นตอนที่ 2 : นำโอ่งลง และเจาะรูสำหรับเติมมูล ทำมุม 90 องศากับบ่อล้น สูงจากก้นโอ่ง 30 เซนติเมตร ขนาด 4 นิ้ว สวมท่อใยหินเข้ากับโอ่ง พร้อมกับใช้ปูนเค็มผสมน้ำยากันซึม อุดรูให้สนิท


ขั้นตอนที่ 3 : นำถังส้วม 80 เซนติเมตร วางทับท่อใบหิน เป็นบ่อเติมมูล และเทพื้น โดยให้เอียงเข้าหาปากท่อ


ขั้นตอนที่ 4 : เจาะผนังด้านหน้าโอ่ง 40×40 เซนติเมตร วัดจากก้นโอ่ง เพื่อทำช่องระบายมูล


ขั้นตอนที่ 5 : ทำบ่อมูลล้น โดยเทพื้นหนา 5 เซนติเมตร และก่อบล็อกขนาด 2x2x0.7 เมตร ให้เสมอบ่าโอ่ง และฉาบเรียบด้านใน


ขั้นตอนที่ 6 : ฉาบขัดมันทั้งด้านใน และด้านนอก และด้านในโอ่ง โดยเน้นตั้งแต่ครึ่งโอ่งบน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้เก็บก๊าซ


ขั้นตอนที่ 7 : ทำแบบพื้น โดยวัดขนาดจากปากโอ่ง ให้สวมค้างปากโอ่งได้ ขุดดินตามแบบขนาดที่วัดได้ ลึก 3.5 ซม. ใช้ท่อนำแก๊สขนาด 1/4 นิ้ว สวมกลางแบบ ให้ท่อเลยแบบลงด้านล่าง 2-3 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม ทิ้งให้แห้ง


ขั้นตอนที่ 8 : วางแบบพื้นที่ได้จากข้อ 7 บนปากโอ่ง ทำแบบ สำหรับเทรอบปากโอ่ง สูง 20 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม กระทุ้งปูนไล่อากาศให้ทั่วแบบ ทิ้งไว้ให้หมาด ปั้นปูน หรือก่อขอบสูง 5 เซนติเมตร เพื่อขังน้ำตรวจสอบรูรั่ว


ขั้นตอนที่ 9 : ทาฟลิ้นโค้ท ทั้งนอกและในโอ่ง 2 รอบ


ขั้นตอนที่ 10 : รอให้ปูนเซ็ตตัวประมาณ 3-5 วัน ระหว่างรอ จะต้องบ่มปูนกันร้าว หลังจากนั้นนำมูลวัวผสมน้ำ 1:1 เติมให้เต็ม หมัก 10-15 วัน จะได้ก๊าซชีวภาพใช้งาน