ตลาดน้ำชุมชนวัดวังชัน

ตลาดน้ำชุมชนวัดวังชัน ชิมกุ้งแม่น้ำ

ไหว้พระขอพร ชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น


“ตลาดน้ำชุมชนวัดวังชัน” เดินทางออกจากตัวเมืองปราจีนบุรี วิ่งรถไปตามถนนสาย 3079 (ปราจีนบุรี – ศรีมหาโพธิ) ผ่านโรงพยาบาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มุ่งหน้าไป อ.ศรีมหาโพธิ ราว 12 กิโลเมตรเศษ พบป้ายขนาดใหญ่อยู่ซ้ายมือ เลี้ยวแยกเข้า1 กม. พบ “ตลาดน้ำชุมชนวัดวังชัน” ตั้งติดคุ้งน้ำวนริมแม่น้ำปราจีนบุรี ด้านทิศเหนือของวัดอัมพวันครุฑาวาส

(วัดวังชัน) แม้สถานการณ์โควิด -19 พบชาวบ้าน ยังคงมาตั้งร้านค้า รวมกว่า 20แผงค้าขายรอนักท่องเที่ยว นำผัก,ปลาแม่น้ำ,ปลาเลี้ยงกระชัง,ผลไม้ตามฤดูกาล,เครื่องดื่ม,สินค้าหัตกรรมพื้นบ้าน,ขนม,สินค้าปศุสัตว์ นำมาวางขายบนแผงไม้ไผ่ที่ทำขึ้นแบบเรียบง่าย

ชาวบ้านได้ร่วมกลุ่มกันตั้งตลาดน้ำวังชันขึ้นมา นานกว่า 2 ปีเศษๆ แม่ค้ากว่า 30 คนมาช่วยกัน แต่ช่วงโควิด-19 เหลือ 10 กว่าคน นำสินค้า ผัก ปลา ผลไม้ อาหาร - เครื่องดื่ม ที่ผลิต – หาได้ในชุมชน เลือกสวนไร่นา ปู ปลา กุ้งแม่น้ำที่มีชุกชุม และ เลี้ยงในตาข่าย จากในแม่น้ำปราจีนบุรี เอามาให้เลือก ชม ชิม ซื้อ-ขาย กัน เป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น

โดยตั้งติดคุ้งน้ำหน้าวัดวังชัน จะมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่หลวงพ่อพระมิ่งมงคลเชียงแสน ให้นมัสการเพื่อความเป็นสิริมงคล ใกล้ ๆ มีศาลาท่าน้ำสำหรับนั่งพักผ่อนริมแม่น้ำปราจีนบุรี มีศาลาอินเตอร์เน็ตชุมชุน -ที่นั่งอ่านหนังสือรับลมเย็น ๆ ริมแม่น้ำ และมีเรือนแพริมฝั่ง เพื่อให้อาหารปลานานาชนิดทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่หน้าวัดในแม่น้ำปลาจีนบุรี

ตลาดน้ำแม่ค้าจะนำสินค้ามาตั้งบนแผงไม้ไผ่ โดยเริ่มขายตั้งแต่ เช้า 07.00 น.ไปจนถึงเย็น บางส่วนเป็นอดีตสาวโรงงาน , อดีตข้าราชการเกษียณ ,ชาวบ้าน นำผลิตผลที่มีในท้องถิ่น พืชผักที่ปลูกไว้ริมรั้วไร้สารพิษ หรือจะเป็นผลิตผลจากปศุสัตว์ เช่น ไข่เป็ดไข่ไก่ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งกุ้งปลาในแม่น้ำปราจีนบุรี ที่มีอยู่ชุกชุมทั้งที่แปรูป และสดๆมาวางขาย บริการให้กับนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน รวมทั้งชาวบ้านใกล้เคียง ได้ซื้อติดไม้ติดมือนำกลับไปปรุงอาหารที่บ้านในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เพราะไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำเองขายเอง ผู้ซื้อจึงไม่ต้องซื้อของแพง

หลังเที่ยวตลาดน้ำวังชันแล้ว สามารถแวะทำบุญ ในวัดอัมพวันครุฑาวาส (วัดวังชัน) นมัสการ - สักการะพระครูอาทรคุณารักษ์ อายุ 86 ปี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันครุฑาวาส (วัดวังชัน) แม้สูงวัยแต่ยังแข็งแรง และเมตตา นำชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่รวบรวมอุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากินของชาวชุมชนไว้ ทั้งเครื่องไถนาโบราณ เครื่องฝี – สี –ครกตำข้าว เครื่องจักรสานไม้ไผ่ในการหาปลา กระด้ง กระจาด เครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ ไถ แงโบราณอนุรักษ์ไว้ให้ศึกษาเยี่ยมชม