

การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
'ทวิภาคี' แปลว่า “สองฝ่าย” ซึ่งหมายถึง สถานประกอบการและโรงเรียน เยาวชนที่เข้าร่วมฝึกอาชีพในโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีนั้นจะมี 2 สถานภาพในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียน และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกอาชีพของสถานประกอบการด้วยการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาด้านอาชีพอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในระบบนี้ผู้เรียนหรือผู้ฝึกหัด (Trainee) จะต้องเรียนรายวิชาสามัญ รายวิชาชีพพื้นฐาน โดยเรียนและฝึกปฏิบัติเบื้องต้น ที่สถานศึกษา
วัตถุประสงค์ของการฝึกอาชีพ
เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทันต่อเทคโนโลยี ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
เพื่อเตรียมบุคลากรทางด้านอาชีวศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน
เป้าหมายของสถานศึกษา
กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง วิทยาเขตศาลายา มีเป้าหมายในการดำเนินการให้
สถานศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อม ดังนี้
ด้านการจัดการศึกษาวิชาชีพเฉพาะทาง สาขาวิชาช่างทองหลวง สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณีเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและคุณธรรมทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาและการบริหาร
ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม การรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อันเป็นการเพิ่มพูนและพัฒนาช่างฝีมือสู่ความเป็นเลิศ
ด้านการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ