History

ชื่อหน่วยงาน: หน่วยทารกแรกเกิด สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ที่ตั้ง: ชั้น 4 ตึกกุมารเวชศาสตร์-สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ประวัติความเป็นมา

จากปัญหาทางด้านสาธารณสุขของภาคใต้และความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2514-2518) รัฐบาลจึงมีดำริให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เพิ่มขึ้น และสภาการศึกษาแห่งชาติได้อนุมัติให้มีโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2514 โดยมีเป้าหมายในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคใต้

พ.ศ. 2515: ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาให้คณะแพทยศาสตร์เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสภามหาวิทยาลัยได้มีมติให้ตั้งคณะแพทยศาสตร์ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยในระยะแรกประกอบด้วย 11 ภาควิชา กับ 2 หน่วยงาน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนวิชากุมารเวชศาสตร์ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

พ.ศ. 2516: คณะแพทยศาสตร์รับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 35 คนโดยเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2519 ฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ และเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 5-6 พ.ศ. 2520-2521 ฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วย โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลา

พ.ศ. 2525: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เปิดให้บริการ มีนายแพทย์สันติ สุทธิพิณทวงศ์ เป็นอาจารย์ประจำหน่วยทารกแรกเกิด เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบริหารจัดการ พัฒนางานการบริการและการเรียนการสอนใน NICU (หออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤติ)

พ.ศ. 2526 มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม คือ แพทย์หญิงประสิน จันทร์วิทัน 

พ.ศ. 2527 มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม คือ แพทย์หญิง หม่อมหลวง อาภาพันธุ์ วงศ์สิริศักดิ์ 

พ.ศ. 2528 มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม คือ แพทย์หญิงศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล 

พ.ศ. 2529 มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม คือ แพทย์หญิงพรทิพา สิงห์โกวินท์  

พ.ศ. 2530: มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม คือ แพทย์หญิงวาริชา เจนจินดามัย

พ.ศ. 2539: มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม คือ แพทย์หญิงสุภาภรณ์ ดิสนีเวทย์ 

พ.ศ. 2545: ขยายการบริการและเพิ่มศักยภาพของ NICU จาก 10 เป็นจำนวน 15 เตียง เพื่อรับผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และจัดตั้งหอผู้ป่วยเด็กทารก (Neonatal Moderate Care Unit [NMCU] หรือ sick newborn unit) จำนวน 10 เตียง 

พ.ศ. 2547: ภาควิชาได้เปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด โดยได้รับการอนุมัติจากแพทยสภา ให้เปิดการฝึกอบรมอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

พ.ศ. 2551: มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่มอีก 1 คน คือ นายแพทย์อนุชา ธาตรีมนตรีชัย และได้รับการตรวจประเมินการจัดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด โดยการตรวจประเมินของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2552: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 2 คน คือแพทย์หญิงกุลวดี มณีนิลและแพทย์หญิงพชร วงศ์รุจิดา

พ.ศ. 2554: มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่มอีก 1 คน คือ แพทย์หญิงกุลวดี มณีนิล และรับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 2 คน คือแพทย์หญิงทิพย์วัน สุจจานันท์และนายแพทย์ณัฐสิทธิ์ คุณรักษ์พงศ์ และให้บริการการรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่อง inhaled nitric oxide ในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวรุนแรงและมีภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง 

พ.ศ. 2555: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 2 คน คือแพทย์หญิงจีรบัตร เตชะโต และแพทย์หญิงสิตาภา ภาษี

พ.ศ. 2556: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 1 คน คือแพทย์หญิงณัฐกา รุจิรไพบูลย์ นอกจากนี้ยังได้ให้บริการการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธี therapeutic hypothermia ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง

พ.ศ. 2557: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 1 คน คือแพทย์หญิงอรุณี ประพฤติตรง และได้รับการอนุมัติตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยประจำหน่วย คือ นางสาวสโรชา หมื่นสิทธิ์ 

พ.ศ. 2558: ได้รับอนุมัติตำแหน่งพยาบาลประจำหน่วยฯ คือ พว. ชไมพร ตรังคานนท์ (บรรจุวันที่ 1 มกราคม 2558)

พ.ศ. 2559: ได้รับอนุมัติตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยประจำหน่วย คือ นางสาวเจนจิรา แซ่ชัน (บรรจุวันที่ 15 กันยายน 2559) และเภสัชกรประจำหน่วย คือ ภญ.นีรชา พลอินทร์ (บรรจุวันที่ 3 ตุลาคม 2559)

พ.ศ. 2561: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 1 คน คือ แพทย์หญิงณัฐชนา เปรมปราชญ์

พ.ศ. 2562: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 1 คน คือ แพทย์หญิงณิชนันท์ ทิววัฒน์ปกรณ์ พร้อมทั้งเปิดให้บริการธนาคารนมแม่สงขลานครินทร์ (Songklanagarind milk bank) ในเดือนเมษายน วัตถุประสงค์เพื่อรับบริจาคนมแม่และทำการพาสเจอไรซ์เพื่อนำไปให้ทารกเกิดก่อนกำหนดที่เจ็บป่วย 

พ.ศ. 2563: มีอาจารย์ประจำหน่วย (service staff) เพิ่ม 1 คน คือ แพทย์หญิงณัฐชนา เปรมปราชญ์ และรับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 2 คน คือ แพทย์หญิงมนพัทธ์ ประดิษฐอุกฤษฎ์ และแพทย์หญิงสิริพัชร แช่มสนิท

พ.ศ. 2564: ได้รับอนุมัติตำแหน่งพยาบาลธนาคารนมแม่สงขลานครินทร์ คือ พว.พลอยไพลิน จันทรวงศ์ไพศาล (บรรจุวันที่ 1 มีนาคม 2564) และ สถาบันได้ผ่านการประเมินการตรวจเพื่อรับรองมาตรฐานและคุณภาพการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ตามเกณฑ์ WFME 2015 ครั้งที่ 1 ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และผ่านการรับรองการเพิ่มศักยภาพในการฝึกอบรมใหม่ ปีละ ระดับละ 3 คน ในวันที่ 11 มีนาคม 2564 (วันที่ดำเนินการตรวจสถาบัน 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563) และรับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 3 คน คือ แพทย์หญิงศศิกานต์ รุจิรไพบูลย์ แพทย์หญิงภัสธิมา ภคธีรเธียร และแพทย์หญิงฝนทิพย์ นัยนานนท์ 

พ.ศ. 2565: มีอาจารย์ประจำหน่วยฯ เพิ่ม 1 คน คือ แพทย์หญิงมนพัทธ์ ประดิษฐอุกฤษฎ์ และรับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 3 คน คือ แพทย์หญิงพลอยไพลิน ปรีชาเวชกุล แพทย์หญิงกุลธิดา ใบงาม และแพทย์หญิงสิริจันทร์ ลาภณรงค์ชัย

พ.ศ. 2566: รับกุมารแพทย์เข้าฝึกอบรมในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 3 คน คือ แพทย์หญิงณัชชา สิงหเสม แพทย์หญิงปัจฉิมา สุวรรณโกมลกุล และแพทย์หญิงแพรว ชารีศรี