การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1

The 1st NationAl Conference on Social Sciences

บทความที่ผ่านการพิจารณาได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องการประชุม(Proceeding)



การกระจายอำนาจในประเทศกำลังพัฒนา : ปัญหาและปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ ,ธนะชัย สามล.

การควบคุมการค้าปลีกเพื่อจำกัดเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มประเทศอาเซียน

จินดา ธำรงอาจริยกุล ,อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ ,สุกัลยา คงประดิษฐ์.

การบริหารท้องถิ่นไทยภายใต้บริบทไทยแลนด์ ๔.๐ : โอกาสและความท้าทาย

พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ ,พระครูปลัด ณัฐพงศ์ ยโส.

การรวมกลุ่มทางการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ กรณีศึกษา เครือข่ายป่าชุมชนคนรักษ์ป่า เขาแม่กระทู้ บ้านธารมะยม อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์

รตา อนุตตรังกูร ,นันทิยา สัตยวาที.

การสร้างคุณค่าผู้สูงอายุให้มีทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑

ณัฐหทัย นิรัติศัย.

แนวทางการจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตามหลักพุทธวิถี

ณัฐชยา กำแพงแก้ว.

การสร้างสุขในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ สำหรับผู้สูงอายุในสังคมไทย

ปริญญา ตรีธัญญา.

การร่วมกันจัดบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ธนะชัย สามล.

ต้นกำเนิดบูรพาพยัคฆ์ : ทหารกับการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

ปิยะภพ มะหะมัด.

หน้ากากขาวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

สมชัย แสนภูมี ,อรรณพ อัษฎามงคล ,ฑีฆายุ บุญคง

บทบาทของสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย

ธัชภรณ์ ศรีเมือง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในกระบวนการการจัดทำข้อเสนอโครงการ

บัณฑิต สุนทรวิกรานต์.

ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาบุคลากรในสำนักเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ศศิธร เดชพรหม.

ปัญหาและความต้องการในการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

พระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง) ,พระปลัด สุรศักดิ์ ปุณฺณวุฑฺโฒ ,พระมงคล วรมงฺคโล.

ปัญหาจากร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ....สู่กฎหมายที่ผลักดันจนสำเร็จ

สุทธิชัย รักจันทร์.

ภาวะผู้นำแบบอุตรภาพ : ความสัมพันธ์ระหว่างมิติด้านจิตวิญญาณและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรณีศึกษา กรมควบคุมโรค

สิทธิพันธ์ สกุลสุขเจริญ.

รัฐกับศาสนา การทำงานของรัฐสมัยใหม่: กรณีศึกษารัฐ(สยาม)ไทยกับองค์กรทางพุทธศาสนากันต์ แสงทอง ,ภัสสรา บุญญฤทธ.

สถานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา เมืองพัทยา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙

อัยรวี วีระพันธ์พงศ์.

***ส่งบทความช่องทางนี้***

Keynote Speaker

ศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร

บรรยายพิเศษในหัวข้อ

"การเมืองไทยหลังการปลดล็อคทางการเมือง"

กำหนดการประชุมวิชาการระดับชาติ-1.pdf



หลักการและเหตุผล

การประชุมวิชาการ นอกจากจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ของคณาจารย์ นักวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนนิสิตและนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปแล้วนั้น ก็ยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร ภายหลังประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑) และหลักเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในฐานะเงื่อนไขว่าด้วยเกณฑ์ระบบประกันคุณภาพในตัวบ่งชี้เรื่องคุณภาพอาจารย์ เกณฑ์ว่าด้วยเรื่องภาระงานทางวิชาการของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา และเกณฑ์เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ระบุการเผยแพร่ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมทางวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding)

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีพันธกิจโดยตรงในการผลิตผลงานทางวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและสังคม ซึ่งผลงานเหล่านั้นครอบคลุมไปยังสาขาต่างๆ ทั้งด้านสังคมศาสตร์ การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ รวมถึงสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังเป็นหน่วยงานที่ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดประชุมวิชาการ ทั้งต่อคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและนักศึกษา เช่นเดียวกับผู้สนใจทั่วไป

การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ คือการนำเสนอผลงานวิจัย และบทความวิชาการ เพื่อได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม และคณะกรรมการจัดประชุมจากภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชียวชาญเป็นที่ยอมรับในสาขาสังคมศาสตร์ รวมถึงมีบทความจากหน่วยงานภายนอกอย่างน้อย ๓ หน่วยงาน จึงมีดำริร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านสังคมศาสตร์ ครั้งที่ ๑ (The 1st National Conference on Social Sciences) ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ความตื่นตัวทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา

๒. คณาจารย์เสริมสร้างผลงานวิชาการ และมีเวทีการนำเสนอผลงาน

๓. เครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็ง ระหว่างภาคีที่เข้าร่วม ตลอดจนผู้นำเสนอผลงาน ผู้เข้าร่วมการประชุม และผู้ทรงคุณวุฒิ ภายหลังการประชุมวิชาการสิ้นสุดลง และแหล่งค้นคว้าและแหล่งอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ด้วยการเผยแพร่รายงานการประชุมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดำเนินการให้ได้รับดัชนีในฐานข้อมูลระดับชาติ

๔. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สามารถดำเนินการตามพันธิกิจการบริการวิชาการแก่สังคมและวงวิชาการ

กิจกรรม

๑. การบรรยายพิเศษของ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวข้อ “อนาคตการเมืองไทยหลังการปลดล็อคทางการเมือง”

๒. นิทรรศการทางวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ

๓.การนำเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัยแบบบรรยาย โดย คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจ

๔.การจัดพิมพ์รายงานการประชุม การประชุมวิชาการด้านสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑ (ISBN xxxxxx)

๕. การคัดเลือกบทความที่ผ่านการพิจารณาระดับดีเด่น เพื่อลงตีพิมพ์ใน วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (ISSN xxxx-xxxx)

กลุ่มเป้าหมาย

ประกอบไปด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ประมาณ ๓๐๐ รูป/คน จำแนกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ คน ผู้เสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ๑๐ รูป/คน และผู้เข้าร่วมการประชุม ๒๘๐ รูป/คน

วัน เวลา สถานที่

๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ณ อาคารสุชีพฯ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

หน่วยงานรับผิดชอบ

ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน

รศ.ดร.สุเทพ สุวีรางกูร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

รศ.(พิเศษ)ดร.สุกิจ ชัยมุสิก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผศ.ประจวบ ประเสริฐสังข์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผศ.เสถียร วิพรมหา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระเมธาวินัยรส ผศ.ดร. คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ ดร. คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธิสิริ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ดร.กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อาจารย์สมชัย แสนภูมี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อาจารย์ณัฐชยา กำแพงแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อาจารย์ธนะชัย สามล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อาจารย์สัญญา สดประเสริฐ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

รศ.พ.ต.อ.ดร.กิตติ์ธนทัต เลอวงศ์รัตน์ คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.ปิยากร หวังมหาพร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รศ.สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.สงบ เชื้อทอง นักวิชาการอิสระ

ผศ.ดร.ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ปาน กิมปี นักวิชาการอิสระ

ดร.วีระ หวังสัจจะโชค คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ สถาบันพระปกเกล้า

ติดต่อประสานงาน

สมชัย แสนภูมี

080-5135513