ข้อมูลตำบลเมืองคง1. สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลเมืองคง1.1 ชื่อ : กศน.ตำบลเมืองคง ประวัติตำบลเมืองคง ประวัติความเป็นมา เจ้าพระยากตะศิลาล่องเรือมาจากประเทศลาวตามลำน้ำมูล ตั้งบ้านเรือนตามสภาพหินกอง เพราะหมู่บ้านมีหินกองเป็นจำนวนมาก คำว่าไศล แปลว่า หิน ตั้งตำบลเมืองคง เป็นอำเภอราษีไศล เมื่อปี 2480 จนถึงปัจจุบันที่ตั้งอาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลดู่, ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ทิศใต้ ติดกับ ตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูล พื้นดินร่วนปนทราย เขตการปกครอง จำนวนหมู่บ้านพื้นที่ตำบลเมืองคง จำนวน 15 หมู่บ้าน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลักษณะที่ตั้ง เทศบาลตำบลเมืองคง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอราษีไศล ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล และเมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจา -นุเษกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 โดยยกฐานะบางส่วนของตำบลเมืองคงเป็นเทศบาลตำบลเมืองคง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่ 2.04 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตครอบคลุม พื้นที่ในเขตตำบลเมืองคง รวม 6 หมู่บ้าน แยกเป็น 11 ชุมชน ดังนี้ 1. ชุมชนอินทร์สถิตย์ 2. ชุมชนคงสถิตย์พัฒนา 3. ชุมชนรัฐประชา 4. ชุมชนคงคิด 5. ชุมชนราษฎร์พัฒนา 6. ชุมชนมิตรประชาร่วมใจ 7. ชุมชนวัดใต้ 8. ชุมชนท่าใหม่ 9. ชุมชนสิบทิศ 10. ชุมชนบ้านท่าโพธิ์ 11. ชุมชนมิตรภาพ เทศบาลตำบลเมืองคงตั้งอยู่ในตัวอำเภอราษีไศล อยู่ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ 39 กิโลเมตรอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต อบต. เมืองคง ทิศใต้ ติดต่อกับเขต ทต. บัวหุ่ง, อบต. หนองอึ่ง และแม่น้ำมูล ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต อบต. เมืองคง ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต อบต. เมืองคง ตารางที่ 2 แสดงประชากรครัวเรือนตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เทศบาลตำบลเมืองคง มีประชากรทั้งสิ้น 3,710 คน แยกเป็น ชาย 1,789 คน หญิง 1,921 คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมดประมาณ 1,132 หลังคาเรือน ประชากรของหมู่บ้านพูดภาษาอีสานในชีวิตประจำวัน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.2.1 การคมนาคมและการจราจร 1. ถนน สะพาน ภายในเขตเทศบาลตำบลเมืองคง มีถนนจำนวน 13 สาย ซอยจำนวน 79 ซอย และสะพานข้ามแม่น้ำมูล จำนวน 1 สะพาน 2. แม่น้ำ/คลองที่ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เทศบาลตำบลเมืองคงมีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำและเป็นแม่น้ำสายหลักของประชาชนในการทำมาหากิน การจัดการขนส่งมวลชนเทศบาลตำบลเมืองคง มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถใช้ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งอำเภอต่างๆโดยทางรถยนต์ซึ่งสามารถให้บริการรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า โดยมีหมายเลขทางหลวง เลขที่ 2083 2.2.2 การประปา 1. จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา เทศบาลตำบลเมืองคงมีการใช้น้ำประปาประมาณ 2,097 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 2. หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา เทศบาลตำบลเมืองคงรับผิดชอบงานผลิตและจำหน่ายน้ำประปาในเขตเทศบาล น้ำประปาที่ผลิตได้ประมาณ 2,200 ลูกบาศก์เมตร / วัน และน้ำประปาที่ใช้เฉลี่ย 2,200 ลูกบาศก์เมตร / วัน 3. แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา เทศบาลตำบลเมืองคงใช้แม่น้ำมูลในการผลิตน้ำประปา 2.2.3 ไฟฟ้า 1. จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า มี 2,097 ครัวเรือน โดยมีหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอราษีไศล เป็นผู้รับผิดชอบดูแล 2. พื้นที่ที่ได้รับบริการไฟฟ้า ร้อยละ 100% 3. ไฟฟ้าสาธารณะ(ไฟฟ้าส่องสว่าง) จำนวน 2,000 จุด ครอบคลุมถนน 13 สาย 79 ซอย 2.2.4 การสื่อสาร 1. จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่มี 1,082 เลขหมาย 2. จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่มี 27 เลขหมาย 3. จำนวนชุมสายโทรศัพท์ในเขตพื้นที่และจำนวนเลขหมายที่ให้บริการได้สูงสุดมี 1,078เลขหมาย 4. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ที่ให้บริการด้านไปรษณีย์ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง 5. ระบบเสียงตามสายหอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 100 % ของพื้นที่ 6. หน่วยงานที่มีข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่ ได้แก่ - ปกครองอำเภอราษีไศล - สถานีตำรวจภูธรราษีไศล - สาธารณสุขอำเภอราษีไศล - โรงพยาบาลราษีไศล - สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอราษีไศล - สำนักงานเทศบาลตำบลเมืองคง - หน่วยกู้ภัยอำเภอราษีไศล 2.2.5 ลักษณะการใช้ที่ดินในพื้นที่ตำบลเมืองคง แยกรายละเอียดดังนี้ 1. โฉนดที่ดิน จำนวน 4,058 แปลง จำนวน 8,651 ไร่ 3 งาน 75.6 ตารางวา 2. หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก) จำนวน 754 แปลง จำนวน 1,793 ไร่ 3 งาน 46 ตารางวา 3. หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 น.ส.3 ข) จำนวน 189 แปลง จำนวน 630 ไร่ 1 งาน 23.3 ตารางวา 4. หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล) จำนวน 26 แปลง จำนวน 927 ไร่ 2 งาน 80.8 ตารางวา 2.3 ด้านเศรษฐกิจ 2.3.1 โครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร รายได้ส่วนใหญ่ของประชากรเทศบาลตำบลเมืองคงมาจากการประกอบอาชีพค้าขายคิดเป็น 65 %รองลงมาคือการทำเกษตรกรรม 30% และอันดับสุดท้ายคือ การปศุสัตว์ 5% โดยมีรายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ 40,000 บาท / คน / ปี แนวโน้มทางเศรษฐกิจในอนาคต เทศบาลตำบลเมืองคงมีแผนสนับสนุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุนทั้งอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการพาณิชยกรรมและการบริการในส่วนบริการทางสังคม 2.3.2 การเกษตรกรรม ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเมืองคง ประกอบอาชีพทำสวน ปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกข้าว หอมแดง กระเทียม และนำมาขายที่ตลาดสดเทศบาล จำนวนครัวเรือนในภาคเกษตรกรรม 557 ครัวเรือน 2.3.3 การพาณิชยกรรมและการบริการ ก. สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม 1. สถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง 2. ตลาดสด 1 แห่ง 3. ร้านค้าทั่วไป 270 แห่ง ข. สถานประกอบการเทศพาณิชย์ - โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง - ประปา 1 แห่ง ค. สถานประกอบการด้านบริการ - ธนาคาร 4 แห่ง - สถานที่จำหน่ายอาหารตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข 88 แห่ง - สถานบริการตาม พ.ร.บ. สถานบริการ จำนวน 1 แห่ง 2.3.4 การปศุสัตว์ ประชากรในเขตเทศบาลประกอบอาชีพปศุสัตว์ โดยเลี้ยงเป็ด สุกร โค กระบือ และปลา ประมาณ 542 ครัวเรือน 2.4 ด้านสังคม 2.4.1 ชุมชน ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองคง มีจำนวน 11 ชุมชน จำนวนครัวเรือน 1,231 ครัวเรือน จำนวนประชากร 3,947 คน 2.4.2 ศาสนา มีครัวเรือนทั้งหมด 2,097 ครัวเรือน จํานวนประชากรที่อาศัยอยูจริง ทั้งหมด 6,327 คนเพศชาย 3,106 คน เพศหญิง 3,221 คน 1. ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.86 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตตำบลเมืองคง มีวัดจำนวน 3 แห่ง 2. ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.05 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตตำบลเมืองคง มีมัสยิด จำนวน - แห่ง 3. ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.08 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตตำบลเมืองคง มีโบสถ์คริสต์จำนวน 1 แห่ง 4. ผู้นับถือศาสนาอื่น ร้อยละ 0.02 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตตำบลเมืองคง 2.4.3 วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้ ก. ประเพณีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ข. ประเพณีสงกรานต์เดือนเมษายนของทุกปี มีกิจกรรมดังนี้ 1. ทำบุญตักบาตร 2. ก่อเจดีย์ทราย 3. รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 4. ประกวดขบวนแห่นางสงกรานต์ 5. ประกวดนางสงกรานต์ ค. ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี มีกิจกรรมดังนี้ 1. ประกวดขบวนแห่ - เอ้งาม 2. ประกวดบั้งไฟขึ้นสูง ง. ประเพณีแข่งเรือยาว ประมาณเดือน กันยายน-ตุลาคม ของทุกปี มีกิจกรรมดังนี้ 1. ประกวดกองเชียร์ 2. แข่งขันเรือยาว 3. แข่งขันเป่าสะไน 4. ประกวดเทพีแม่ย่านาง ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี มีกิจกรรมดังนี้ 1. ประกวดกระทงสวยงาม 2. ประกวดนางนพมาศ ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอราษีไศล และอยู่ห่างจากอำเภอราษีไศลเป็นระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตรอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต อบต. ดู่ ทิศใต้ ติดต่อกับเขต อบต. หนองอึ่ง ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต อบต. เมืองแคน ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต อบต. หนองแค องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง มีหมู่บ้านทั้งหมด จำนวน 13 หมู่บ้าน โดยจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง เต็มทั้งหมด 9 หมู่ บางส่วน 5 หมู่ ดังนี้ หมู่ 1 บ้านเมืองคง (บางส่วน) หมู่ 2 บ้านท่าโพธิ์(บางส่วน) หมู่ 3 บ้านกลาง(บางส่วน) หมู่ 4 บ้านใหญ่(บางส่วน) หมู่ 5 บ้านโนน หมู่ 6 บ้านหลุบโมก หมู่ 7 บ้านบากเรือ หมู่ 8 บ้านร่องอโศก หมู่ 9 บ้านหนองหว้า หมู่ 11 บ้านโนนเวียงคำ หมู่ 12 บ้านหนองหัวลิง หมู่ 13 บ้านหนองบาก หมู่ 14 บ้านท่าโพธิ์(บางส่วน) หมู่ 15 บ้านร่องอโศก องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง มีหมู่บ้านทั้งหมด จำนวน 14 หมู่บ้าน โดยจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง เต็มทั้งหมด 9 หมู่ บางส่วน 5 หมู่ และมีจำนวนครัวเรือนและประชากร ดังนี้สภาพทางเศรษฐกิจØ อาชีพ จํานวนครัวเรือน จําแนกตามอาชีพ ระดับตําบล ป 2562 ตําบลเมืองคง อําเภอราษีไศลจังหวัดศรีสะเกษ กําลังศึกษา 3 ไมมีอาชีพ 39 เกษตร - ทํานา 1,048 เกษตร - ทําไร 0 เกษตร - ทําสวน 2 เกษตร-ประมง 0 เกษตร - ปศุสัตว 3 พนักงาน-รับราชการ 363 พนักงาน - รัฐวิสาหกิจ 18 พนักงานบริษัท 35 รับจางทั่วไป 292 คาขาย 370 ธุรกิจสวนตัว 371 อาชีพอื่นๆ 73 รวมทั้งสิ้น 2,617 คนผู้นำตามธรรมชาติ กลุ่มธรรมชาติ - ผู้นำระดับหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ - ผู้นำตามธรรมชาติเป็นผู้ไว้วางใจของชุมชนมีความรู้และประสบการณ์ เนื่องจากทำอาชีพเดียวกับชุมชนหรือเป็นคนในพื้นที่มีวิสัยทัศน์ด้านการตลาดและการเพิ่มผลผลิต รู้จักแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และคิดอย่างเป็นระบบและ มีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม อิทธิพลทางความคิด ขนบธรรมเนียมประเพณี มีการยึดถือเหมือนกับชุมชนอื่นๆ ของภาคอีสาน เช่นกัน ได้แก่ ประเพณี ความเชื่อ ดังนี้ 1.ฮีตสิบสอง เดือนอ้าย ทำบุญลาน (คุ้มข้าวใหญ่) หรืออีกอย่างหนึ่งคือสู่ขวัญข้าว เมื่อชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วจะต้องแบ่งส่วนไปวัด เพื่อรวบรวมข้าวเป็นของวัด แล้วนิมนต์พระมาสวดมนต์ทำพิธีเพื่ออัญเชิญคุณพระแม่โพสพ เดือนยี่ บุญข้าวกรรม หลังจากออกพรรษาเสร็จแล้ว พระสงฆ์ต้องการการจารึกแสวงบุญ โดยการเข้ากรรมฐาน เดือนสาม บุญข้าวจี่ เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ชาวบ้านทุกครอบครัวทุกหมู่บ้านจะต้องนำข้าวเหนียว มาปั้นแล้วจี่ข้าวไปตักบาตร เดือนสี่ บุญพระเวส เป็นการทำประเพณีใหญ่ มีแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง มีเทศน์มหาชาติและขอฟ้าขอฝน เดือนห้า วันสงกรานต์ มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เดือนหก บุญบั้งไฟ มีการจุดบั้งไฟเพื่อขอฟ้า ขอฝนเพื่อทำการเกษตร ทำไร่ ไถนา เดือนเจ็ด บุญเบิกบ้าน ทำบุญตักบาตร เดือนแปด บุญเข้าพรรษา มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน นำอาหารไปตักบาตรที่วัด และแบ่งส่วนหนึ่งบูชาดินและสิ่งศักดิ์ศิษย์ในพื้นดิน เดือนสิบ บุญข้าวสารท ชาวบ้านจะนำข้าวห่อเล็กๆ มีข้าวกระยาสารท ซึ่งเอาข้าวเปลือกเหนียวมาคั่ว เพื่อให้เนื้อข้าวแตกออกเป็นสีขาว แล้วคลุกน้ำตาลมะพร้าวถวายพระ เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ชาวบ้านต้องไปเวียนเทียน และทำบุญตักบาตรตอนเช้าที่วัด เดือนสิบสอง บุญกฐิน ชาวบ้านจะต้องทำกฐิน ไปทอดถวายที่วัดของตนช่วงเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา หมายเหตุ บุญผ้าป่าทำได้ทุกๆ เดือน และการทำบุญแต่ละเดือนนั้น ชาวบ้านจะหยุดการทำงานเพื่อมาช่วยทำบุญจนเสร็จพิธี 2 ครอง 14 คือระบบการปกครอง ได้แก่ตัวบทกฎหมายโบราณ ๑๔ ข้อ ที่ชาวบ้านถือปฏิบัติต่อตัวเองและชาวบ้านด้วยกัน 3 ประเพณีความเชื่อมีผลต่อการประกอบอาชีพ 3.1 บุญคูณลาน เมื่อนวดข้าวใส่ลานเสร็จเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรจะทำการพูนข้าวให้กองโตและให้สูงที่สุด แล้วจะมีการ วัดเส้นรอบวงของฐานกองข้าวและจะคำนวณข้าวว่าได้กี่ถัง และจะนิมนต์พระมาตักบาตรที่ลานนวดข้าว จะใช้เวลาตั้งแต่หาบฟอนข้าวมากองรวมกัน จนถึงนวดข้าวเสร็จ ประมาณ ๑ เดือน คือเดือนอ้าย จะทำกันทุกๆ ครอบครัว ประโยชน์ ชาวบ้านจะได้รู้ว่าข้าวตนเองได้กี่ถัง เจ้าหน้าที่จะรู้สถานการณ์การผลิตข้าวขอแต่ละครอบครัว แต่ละหมู่บ้าน 3.2 บุญสงกรานต์ ทำกันในช่วงเดือน 5 อากาศจะร้อนมาก มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ งานจะเริ่ม 12-15 เมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะไม่ออกไปประกอบอาชีพ จะมีการสรงน้ำพระ คนแก่ และมีการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ รวมเวลาอย่างน้อย 3 วัน ชาวบ้านจะเสียเวลาในการทำมาหากินในช่วงนี้มาก บางหมู่บ้านจะหยุดประมาณ 7 วัน และชาวบ้านจะใช้เงินมากกว่าทุกบุญ เพราะมีการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม และเพื่อนหรือญาติพี่น้อยที่อยู่ต่างจังหวัดจะมารวมกันที่บ้านเกิดจะมีการเลี้ยงฉลองกันตลอดทั้งวันทั้งคืนและเป็นช่วงการเล่นการพนันมากที่สุด 3.3 ประเพณีบุญบั้งไฟทำกันในช่วงเดือน 6 การเตรียมงานส่วนใหญ่จะเตรียมงานกันเป็นเดือนๆ ในช่วงเดือน 6 นี้จะทำบุญวันไหนก็ได้ มีการแข่งขันต่างๆ เช่น ขบวนแห่บั้งไฟ แข่งบั้งไฟขึ้นสูง แข่งบั้งไฟอยู่บนท้องฟ้านาน มีรางวัลต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมีการเสี่ยงทายฟ้าฝนด้วย ถ้าบั้งไฟเสี่ยงท้ายนั้นขั้น ทายว่าปีนี้จะดีเกษตรกรจะอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าบั้งไฟแตก จะทายว่าปีนั้นน้ำน้อย จะเกิดข้าวยากหมากแพง จะทำบุญทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลแล้วแต่ว่าบ้านไหนจะจัดใหญ่ขนาดไหน บุญนี้จะมีชาวบ้านเที่ยวกันมากกว่าทุกงาน