คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

Integrity & Transparency Assessment  ( ITA )

โดยประเมินผลจากการรับรู้หรือประสบการณ์ตรงของประชาชนที่เคยรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้น เพื่อดึงจุดแข็งของทั้งสองระบบและเพื่อให้เกิดความสมดุลในการประเมิน คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีมติบูรณาการเครื่องมือการประเมินที่ใช้ในการต่อต้านการทุจริตทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน แล้วเรียกเครื่องมือใหม่ว่า "การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ"

การประเมินผลตามดัชนีวัดความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นเครื่องมือต่อต้านการทุจริตที่ใช้ในการประเมินความพยายามของหน่วยงานภาครัฐ ในการต่อต้านการทุจริต (measure anti-corruption efforts) จากข้อเท็จจริงในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้จากเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ ขณะที่การประเมินคุณธรรมการดำเนินงานเป็นเครื่องมือต่อต้านการทุจริตที่ใช้วัดระดับการทุจริตในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (measure corruption) 



          การประเมินผลตามดัชนีวัดความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นเครื่องมือต่อต้านการทุจริตที่ใช้ในการประเมินความพยายามของหน่วยงานภาครัฐ ในการต่อต้านการทุจริต (measure anti-corruption efforts) จากข้อเท็จจริงในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้จากเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ ขณะที่การประเมินคุณธรรมการดำเนินงานเป็นเครื่องมือต่อต้านการทุจริตที่ใช้วัดระดับการทุจริตในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (measure corruption) 

         โดยประเมินผลจากการรับรู้หรือประสบการณ์ตรงของประชาชนที่เคยรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้น เพื่อดึงจุดแข็งของทั้งสองระบบและเพื่อให้เกิดความสมดุลในการประเมิน คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีมติบูรณาการเครื่องมือการประเมินที่ใช้ในการต่อต้านการทุจริตทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน แล้วเรียกเครื่องมือใหม่ว่า "การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ"


กรอบแนวคิดของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ


หลักทฤษฎีของระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

         การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นการประเมินในลักษณะการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีแบบแผน การวิจัย (Research Design) เป็นแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยที่ผนวกเทคนิค กระบวนการ หรือขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของเทคนิควิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และเทคนิควิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Method) เข้าด้วยกัน โดยทั้งสองเทคนิควิธีจะดำเนินไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันและสรุปผลการวิจัย ดังนี้

ขอบเขตการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

ขอบเขตด้านเนื้อหา

         เนื้อหาในการประเมินต้องมีความตรง (Validity) และครอบคลุมในคุณลักษณะเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล รวมไปถึงความโปร่งใสที่หน่วยงานภาครัฐพึงจะปฏิบัติ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่ระเบียบหรือกฎหมายกำหนด และต้องมีลักษณะไม่เฉพาะเจาะจงจนเกินไป เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทุกรูปแบบสามารถเข้ารับการประเมินได้

สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดเนื้อหาของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเนื้อหาของการประเมิน ประกอบด้วย 5 ดัชนี ดังนี้

(1)   ดัชนีความโปร่งใส (Transparency Index)

(2)   ดัชนีความพร้อมรับผิด (Accountability Index)

(3)   ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption – Free Index)

(4)   ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture Index)

(5)   ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity Index)