คำแนะนำในการจัดทำบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ

รูปแบบการจัดทำบทความฉบับสมบูรณ์(Full Paper)

    การประชุมวิชาการระดับชาติ "การบริหารจัดการในยุคดิจิทัลเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21" มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิชาการ นักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไป ของมหาวิทยาลัยภาครัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในเครือข่ายอุดมศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ และการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี การท่องเที่ยวและบริการ การศึกษา และเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาชีพของอาจารย์ นักศึกษาและนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักวิจัยระหว่างของมหาวิทยาลัยภาครัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในเครือข่ายอุดมศึกษา หรือหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้บทความที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการพิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์  หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการหรือวารสารอื่น  และขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับตามความเหมาะสม 

ขอบเขต

  การประชุมวิชาการระดับชาติ "การบริหารจัดการในยุคดิจิทัลเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21" รับพิจารณาบทความ (Articles) จำนวน 4 สาขา ได้แก่ 

  1. สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี
  2. สาขาการท่องเที่ยวและบริการ
  3. สาขาการศึกษา
  4. สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรม  

ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์

  1. บทความวิจัย
  2. บทความวิชาการ 

การเตรียมต้นฉบับและการส่งบทความ

ผู้เขียนต้องจัดเตรียมต้นฉบับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบทกำหนดก่อนส่งบทความตีพิมพ์ ดังนี้

1.1 บทความวิจัย ความยาว 10-15 หน้า(รวมรายการอ้างอิง) รายการอ้างอิงให้ใส่เฉพาะที่ใช้อ้างอิงในบทความเท่านั้น ใช้การอ้างอิง         แบบ APA 6th
1.2 ระยะขอบ กั้นหน้า 1.5 นิ้ว / กั้นหลัง 1.0 นิ้ว / กั้นขอบบน 1.5 นิ้ว / กั้นขอบล่าง 1.0 นิ้ว

1.3 การย่อหน้า 1 Tab (0.5 นิ้ว)

              6.2 บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับเรื่อง ดังนี้
  1)  บทคัดย่อภาษาไทย และคำสำคัญ (3-5 คำ)
2)  บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และ Keywords  (3- 5 คำ)
3)   บทนำ
4)   เนื้อหา (โดยเนื้อหาสาระสำคัญต้องนำเสนอตามลำดับ)
5)   สรุปและข้อเสนอแนะ
6)   เอกสารอ้างอิง (ให้เรียงตามพยัญชนะ ก-ฮ หรือ A-Z) ตามรูปแบบ APA ที่กองบรรณาธิการกำหนด