แนวคิดการตลาด

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

แนวคิดการตลาดที่จะพัฒนาการให้บริการสาธารณะของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะนำแนวคิดการตลาดมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการให้บริการและส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ที่ต่อยอดมาจาก 4Ps ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารการตลาดการจะทำให้การดำเนินงานของกิจการประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการปรับปรุงความสัมพันธ์ที่เหมาะสมของส่วนประสมทางการตลาดนี้ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาดเป้าหมาย นั่นคือ ประชาชนผู้รับบริการให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด โดยส่วนประสมทางการตลาด ที่สำคัญประกอบด้วย

1.สินค้า/บริการ (Product/Service) หมายถึง สิ่งที่เรานำเสนอให้ตลาด โดยทำให้องค์การหรือผู้บริโภคพึงพอใจจนเป็นที่ต้องการ ดังนั้น สินค้าจึงเป็นได้ทั้งสิ่งที่จับต้องได้และงานบริการรวมทั้งสิ่งที่องค์การเสนอต่อประชาชน เช่น ข่าวสารข้อมูล แนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาชุมชน บุคคล องค์กร หรือสถานที่ที่ต้องการให้เป็นที่รู้จัก สินค้าเป็นอะไรก็ได้ที่เรานำเสนอให้ตลาด โดยทำให้องค์การ หรือผู้บริโภคพึงพอใจจนเป็นที่ต้องการ หรืออยากได้ ภาครัฐจำเป็นต้องศึกษาว่า อะไรคือเรื่องที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐบริการและอะไรคือเรื่องที่ ประชาชนควรได้จากหน่วยงานบริการภาครัฐ สอดคล้องกับแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดใหม่ ด้านความต้องการของลูกค้าหรือประชาชน (Customer solution)

2. ราคา (Price) หมายถึง จำนวนเงินที่ประชาชนจ่ายสำหรับซื้อสินค้าหรือบริการ ราคา มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ อาจเรียกตามชนิดของ บริการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่า ค่าเล่าเรียน ค่าทำของ เป็นต้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น เวลาที่ลูกค้าต้องเสียไปในการมาใช้บริการ ตลอดจนความรู้สึกทางด้านร่างกายและจิตใจที่อาจออกมาในแง่ลบ ไม่พอใจต่อบริการที่ได้รับ เนื่องจากบริการไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ เป็นต้นสอดคล้องกับแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดใหม่ด้านค่าใช้จ่ายของลูกค้าหรือประชาชน (Customer Cost)

3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) หมายถึงอัตถประโยชน์ของเว็บไซต์ที่เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนจึงเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับประชาชนที่สามารถใช้ในการรับบริการ และติดต่อกับภาครัฐได้ทุกที่ทุกเวลา สอดคล้องกับแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดใหม่ ด้านความสะดวกสบาย (Convenience)

4.การส่งเสริมการตลาด (Promotion) หมายถึง วิธีการส่งเสริมการตลาด หรือ การสื่อสาร (Communication) ให้ลูกค้าหรือประชาชนได้รับทราบถึงข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์การบริการและโครงการขององค์การ โดยการจัดการเรื่องการสื่อสารนี้ แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ตัวข่าวสารหรือข้อความ ผู้ส่งสารและช่องทางการสื่อสารสอดคล้องกับแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดใหม่ด้านการสื่อสาร (Communication)

5. บุคคล (People) คือ การความสำคัญไปที่การคัดเลือก การฝึกอบรม และให้ผลตอบแทนหรือรางวัลเพื่อจูงใจ สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างดี สามารถแข่งขันทางด้านบริการกับคู่แข่งได้ เจ้าหน้าที่ ที่ให้บริการจะต้องมีทัศนคติ และไหวพริบที่ดี ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างทันท่วงทีแก้ไขปัญหาภายใต้นโยบายขององค์การ (Caring / Competence Courtesy)

6.การสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) เป็นการสร้างคุณภาพด้านรูปแบบการให้บริการให้สามารถจับต้องได้ เช่น พนักงานต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย เสื้อผ้าสะอาดสะอ้าน คำพูดต้องสุภาพ การให้บริการรวดเร็ว และคำนึงถึงคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีคุณภาพ (Comfortable / Comfort Cleanliness)

7. กระบวนการ (Process) เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับระเบียบการทำงานด้านบริการ เสนอให้ผู้ใช้บริการเพื่อมอบความประทับใจให้ลูกค้า (Complete / Coordination Continuity)