อาชีพท้องถิ่น

การปักผ้า

การปักผ้าด้นมือ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา


การปักผ้า

การปักผ้าเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีส่วนทำให้ผ้ามีสีสันสวยงามสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น เป็นการเพิ่มมูลค่าของผ้า ให้มีความน่าสนใจเหมาะสำหรับเป็นของขวัญหรือของฝากในวันสำคัญ ผู้ที่สนใจควรศึกษาหาความรู้และ ฝึกปฏิบัติจน เกิดความชำนาญ สามารถนำไปประกอบอาชีพให้แก่ตนเองได้ กศน.อำเภอเมืองปทุมธานี ได้ดำเนินการสำจรวจข้อมูลความต้องการด้านการศึกษา อาชีพของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีผู้สนใจที่จะเรียนการปักผ้า จึงได้จัดทำหลักสูตรการปักผ้า เพื่อนนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจต่อไป


การปักผ้าด้นมือ

ผ้าด้นมือเป็นงานที่เย็บปักด้วยมือ สมัยก่อนจะมีการเย็บผ้าห่มนวมไว้ใช้เองในครัวเรือน ฝีมือในการเย็บจะไม่ปราณีตและไม่เรียบร้อย เพราะทำไว้ใช้กันเองในครัวเรือนและเป็นของฝากกับผู้ที่มาเยี่ยมเยื่อน ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการเย็บปักลายเส้น ลวดลาย สีสัน เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ใช้เป็นผ้าคลุมเตียงและผ้าห่มได้แต่ไม่ทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเย็บปักด้วยมือ ลายเส้นและลวดลาย มีลักษณะที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงกลายเป็นผ้าด้นมือในรูปแบบใหม่ ที่มิใช่เพียงแค่การเนาผ้าห่มที่ใช้ ในครัวเรือนที่เย็บจากฝ้ายหรือนุ่นใช้ภายในครอบครัวเรือนอยู่แล้ว ความรู้ประสบการณ์การทำผ้าด้นมือ มาประยุกต์ดัดแปลงเดิมทำเป็นงานด้นมือชิ้นเล็กๆ และได้พัฒนาชิ้นงานใหญ่ขึ้น เช่น ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน และในปัจจุบันแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือหรืองาน “Handmade” นั้น มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบัน มีความสำคัญมากเพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความ เข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก“ ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่งและมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาค อาเซียน และระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ สภาพสังคมในปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทรัพยากรมีน้อยลง จึงมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนอกจากจะมีการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการเลี้ยงตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นภาระหนักคืออาหารเพื่อบริโภคประจำวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์เราจะต้องสร้างขึ้นหรือหามาทดแทนโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อการอยู่รอด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาเป็นแนวคิดและการพัฒนาผลิตสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมเอาชีพให้กับประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้รู้วิธีการขั้นตอนการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการ และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า นอกจากนั้นยังสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ผักตบชวาที่เรียกว่า “ผักตบชวา” นั้นก็เป็นเพราะว่าตรงบริเวณโคนก้านใบของผักตบชวาจะมีลักษณะพองออก คนนิยมนำมาใส่มือแล้วบีบหรือตบเล่น จะมีเสียงแตกดัง ๆ ผักตบชวาจัดเป็น “เอเลี่ยน สปีซีส์” หรือ “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น”ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในไทยก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียและกีดขวางทางน้ำ เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยผักตบชวาเพียง 1 ต้น สามารถแพร่พันธุ์ได้ถึง 1,000 ต้น ในเวลา 1 เดือน ซึ่งถึงแม่น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้ถึง 15 ปี และทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป ส่วนประโยชน์ของผักตบชวาก็มีหลายด้าน ตั้งแต่ดอกและก้านใบอ่อนที่สามารถนำมาลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้มรับประทานได้ นอกจากนี้ก้านและใบสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู หรือใช้ทำปุ๋ยหมัก และยังนำมาทำเป็นเครื่องจักสานจากผักตบชวาได้อีกด้วย

ดังนั้น กศน.อำเภอเมืองปทุมธานีจึงเล็งเห็นประโยชน์ของผักตบชวาโดยการจะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น สานเป็นเบาะรองนั่ง สานเสื่อ สานตะกร้า กระเป๋า กล่องทิชชู เป็นต้น