ด้านผังเมือง อบจ.ลพบุรี

โดย นักผังเมืองปฏิบัติการ ฝ่ายสำรวจและออกแบบ กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

ธนาคารน้ำใต้ดิน (Ground Water Bank)

โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมแบบยั่งยืน (ธนาคารน้ำใต้ดิน) ประจำปีงบประมาณ 2564

ในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมแบบยั่งยืน (ธนาคารน้ำใต้ดิน) ในครั้งนี้ เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่ราบต่ำสลับกับเนินเขาและประชาชนมีอาชีพในการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อถึงฤดูฝนมักจะเกิดเหตุน้ำท่วมขังเป็นประจำ ทำให้พื้นที่นาและบ้านเรือนของประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการกักเก็บน้ำฝนที่ไหลหลากและเหลือล้น โดยการผันน้ำลงไปกักเก็บไว้ใต้ดินหรือมีชื่อเรียกกันว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งคณะทำงานบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ได้เข้ารับการอบรมและศึกษาดูงาน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และศึกษาดูงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โดยได้เข้าศึกษาดูงานธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ระบบเปิด และบ่อนวัตกรรมแบบต่าง ๆ ซึ่งผลการดำเนินงานธนาคารน้ำใต้ดินของทั้ง 2 หน่วยงานสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมขังได้จริงจากผลงานเป็นที่ประจักษ์ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี จึงได้นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับจังหวัดลพบุรี โดยการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมแบบยั่งยืนธนาคารน้ำใต้ดิน มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

1) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำท่วมขัง

2) เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดิน

มีพื้นที่เป้าหมายโครงการ 4 อำเภอ 11 ตำบล โดยดำเนินการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้งหมด 67 บ่อ เป็นบ่อระบบปิด 61 บ่อ และบ่อระบบเปิด 6 บ่อ ดังนี้

1. อำเภอโคกสำโรง ประกอบด้วย

- องค์การบริหารส่วนตำบลถลุงเหล็ก ระบบปิดจำนวน 1 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว ระบบปิดจำนวน 4 บ่อ

2. อำเภอบ้านหมี่ ประกอบด้วย

- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะพี้ดงพลับ ระบบปิดจำนวน 3 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลพุคา ระบบปิดจำนวน 3 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเบียน ระบบปิดจำนวน 8 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง ระบบปิดจำนวน 7 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว ระบบปิดจำนวน 7 บ่อ

3. อำเภอสระโบสถ์ ประกอบด้วย

- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาโพธิ ระบบปิดจำนวน 15 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง ระบบปิดจำนวน 8 บ่อ

4. อำเภอโคกเจริญ ประกอบด้วย

- องค์การบริหารส่วนตำบลยางราก ระบบเปิดจำนวน 6 บ่อ

- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ ระบบปิดจำนวน 5 บ่อ

รวมทั้งสิ้น 67 บ่อ โดยมีแผนการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 - วันที่ 19 พฤษภาคม 2564

2.วีดีโอพรีเซ้น ฉ.สมบูรณ์_ธนาคารน้ำใต้ดิน.mp4
การสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน

ธนาคารน้ำใต้ดิน คือ

– เป็นวิธีในการบริหารจัดการน้ำรูปแบบใหม่/ทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทาน (ตามบริบทชุมชน) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ตามรอยพ่อ)

- เป็นวิธีการเก็บน้ำไว้ในชั้นใต้ผิวดิน ที่มีความปลอดภัยสูง

- ใช้พื้นที่ในการดำเนินการน้อย

- ใช้งบประมาณในการดำเนินการน้อย

น้ำบาดาล (Groundwater) คืออะไร

การสำรวจน้ำบาดาล (Groundwater Exploration)

ความรู้พื้น ๆ ของน้ำใต้ดิน

ชั้นน้ำใต้ดินและการเคลื่อนที่ของน้ำใต้ดิน

บ่อน้ำบาดาลและผลกระทบจากการใช้น้ำใต้ดิน

ตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาลก่อนขออนุญาตใช้

วัตถุประสงค์ คือ

- เพื่อแก้น้ำแล้ง

- เพื่อแก้น้ำท่วม

- เพื่อแก้น้ำเค็ม

- เพื่อแก้ไขน้ำเสียหรือน้ำไม่มีคุณภาพ

- เพื่อแก้ไขให้น้ำใช้ดื่มได้

นวัตกรรมจากการต่อยอดความรู้ธนาคารน้ำใต้ดิน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่ Power point หรือ PDF

การสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน

ข้อมูลพื้นฐาน 8 ขั้นตอน (ตามมาตรฐาน AGS) การดำเนินงานโครงการเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำต้นทุนด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน

1. การเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านทรัพยากรน้ำชุมชนและภูมิประเทศ

2. การสำรวจและกำหนดทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำระดับชุมชน

3. การเจาะสำรวจชั้นดิน สำรวจธรณีฟิสิกส์เพื่อประกอบการประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อความคุ้มทุนของโครงการ

4. การวางแผนและกำหนดจุดระบบการเติมน้ำในแผนที่ตำบล

5. การออกแบบระบบธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อให้เข้ากับบริบทของพื้นที่

6. การดำเนินการก่อสร้างตามรูปแบบที่กำหนดไว้

7. การติดตาม ประเมินผล เก็บข้อมูล และการบำรุงรักษาบ่อเติมน้ำ

8. การสรุปวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค โอกาสและขยายผลโครงการ

ธนาคารน้ำใต้ดิน_ลพบุรี (edit).pdf
ขั้นตอนและมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำท้องถิ่น.pdf

ธนาคารน้ำใต้ดิน โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

คู่มือธนาคารน้ำใต้ดิน โดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ธนาคารน้ำใต้ดิน (Ground Water Bank) คือ การขุดหลุมลักษณะก้นครก เพื่อจัดกักเก็บน้ำฝนที่ตกมาในช่วงฤดูฝนลงไว้สู่ใต้ดิน ตั้งระดับผิวดินถึงความลึกของหลุมที่ขุด เพื่อให้น้ำกระจายออกในแนวระนาบ (เปิดอากาศให้ผิวดิน) เพราะหากไม่มีการจัดเก็บน้ำลงสู่ใต้ดินแล้วปล่อยให้น้ำฝนไหลทิ้งตามผิวดิน เมื่อน้ำฝนที่ไหลทิ้งเหล่านี้ไปรวมตัวกันจำนวนมาก ก็จะเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม น้ำขังดังเช่นในปัจจุบัน และหลุมนี้ยังเป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้ชั้นผิวดิน จากดินที่แห้งแข็ง ก็จะชุ่มชื้น ทำให้ต้นไม้ในบริเวณที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่แห้งแล้ง เปรียบเสมือนการเปลี่ยนพื้นดินที่กันดารให้เป็นทิชชู่ผืนใหญ่ หากประชาชนร่วมมือกันทำธนาคารน้ำใต้ดินทุกบ้าน จะทำให้ชุมชนมีน้ำสำหรับใช้อุปโภค บริโภค และทำเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน

วิธีการนี้หากนำไปทำในป่าก็จะคืนความสมบูรณ์ให้ผืนป่า และรักษาแหล่งน้ำให้ยังมีคงมีน้ำเพียงพอสำหรับ ฤดูแล้ง ทำให้สัตว์ป่ามีน้ำดื่ม ไม่ต้องออกมาจากป่ารบกวนคนเมือง ทั้งยังเป็นการลดปัญหาเรื่องไฟป่า ไปด้วยอีกทาง ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตปัญหา เรื่องการจัดการน้ำเป็นอย่างมาก หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน Ground Water Bank ของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ โดยท่านหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ นี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ปฏิบัติแก้ไข ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม น้ำขัง น้ำดื่ม จนประสบความสำเร็จแล้วในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ธนาคารน้ำใต้ดิน (Ground Water Bank) เป็นวิธีการจัดการระบบน้ำที่สากลทั่วโลกยอมรับ และใช้เป็นวิธีหลักในการจัดการระบบน้ำอย่างยั่งยืนในหลายประเทศ หากลองคิดสมมุติดูว่า ถ้าต้องการเก็บน้ำฝนทั้งหมดที่ตกจากหลังคาบ้านเราซึ่งเป็นน้ำสะอาด ในช่วงฤดูฝนโดยใช้โอ่งน้ำ เราคงต้องใช้จำนวนมากจนไม่มีที่จะวางเลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันเราปล่อยน้ำฝนที่สะอาดเหล่านี้ไหลทิ้งไปจนเกิดปัญหาน้ำท่วมทุกปี และแก้ไขปัญหาโดยการสูบผลักดันน้ำไปท่วมพื้นที่อื่นต่อ เพื่อปล่อยระบายสู่แม่น้ำ จากแม่น้ำก็ลงสู่ทะเล ซึ่งทำให้เราขาดน้ำจืดหลังจากฝนหมด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหา ภัยแล้งซ้ำซาก ภัยพิบัติเหล่านี้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยสองมือของพวกเราเอง และหากเราเก็บน้ำฝนลงใต้ดินไว้มากเพียงพอ น้ำฝนเหล่านี้ก็จะเป็นต้นทุนชาร์จเก็บลงสู่ชั้นบาดาล ด้วยวิธีตามธรรมชาติและเมื่อน้ำใต้ดินของเราสมบูรณ์เหมือนดังเช่นในอดีต ประเทศเราก็จะกลับมาเป็น อู่ข้าว อู่น้ำ เช่นเดิม

ตำแหน่งที่ตั้งธนาคารน้ำใต้ดิน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี

ฐานข้อมูลทะเบียนธนาคารน้ำใต้ดิน ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

สัญลักษณ์ของแผนที่

สีแดง คือ ตำแหน่งธนาคารน้ำใต้ดินที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรีจำดำเนินการ

สีเหลือง คือ ตำแหน่งบ่อน้ำบาดาล

องค์การบริหารส่วนตำบลถลุงเหล็ก
ระบบปิดจำนวน 1 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
ระบบปิดจำนวน 4 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะพี้ดงพลับ
ระบบปิดจำนวน 3 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลพุคา
ระบบปิดจำนวน 3 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเบียน
ระบบปิดจำนวน 8 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง
ระบบปิดจำนวน 7 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว
ระบบปิดจำนวน 7 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลมหาโพธิ
ระบบปิดจำนวน 15 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง
ระบบปิดจำนวน 8 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลยางราก
ระบบเปิดจำนวน 6 บ่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ
ระบบปิดจำนวน 5 บ่อ

ธนาคารน้ำใต้ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ฐานข้อมูลทะเบียนธนาคารน้ำใต้ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการแล้ว (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอเมือง (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอโคกสำโรง (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอชัยบาดาล (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอบ้านหมี่ (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอพัฒนานิคม (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอท่าวุ้ง (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอสระโบสถ์ (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอท่าหลวง (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอโคกเจริญ (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอลำสนธิ (ดาวน์โหลด PDF , excel)

อำเภอหนองม่วง (ดาวน์โหลด PDF , excel)

ข้อควรทราบ การเผยแพร่และบริการข้อมูลในเว็ปไซต์นี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นได้เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้เพื่ออ้างอิงทางกฎหมายได้