ประวัติความเป็นมา

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีแนวทางในการผลิตบัณฑิต ที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ คุณธรรม ภาวะผู้นำ จิตอาสา สำนึกสาธารณะ รู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม และดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ พร้อมกับการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและสังคมโลก

การจัดการศึกษาของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะประกอบไปด้วยสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตั้งอยู่เลขที่ 319 ถนนไทยพันทา ตำบลโพธิ์อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ บนที่ดินสาธารณะประโยชน์โนนบักบ้า เนื้อที่ประมาณ 535 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

     พ.ศ. 2547 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ ได้รับการยกฐานะเป็น“มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ”คณะวิชาทั้งสองจึงถูกปรับเปลี่ยนตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่เป็น “คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์” โดยแบ่งโครงสร้างหน่วยงานภายในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 1 สำนัก 4 ภาควิชา คือ สำนักงานคณบดี ภาควิชา ครุศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ภาควิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ

พ.ศ. 2549 วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในของคณะ   ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ประกอบด้วย 1 สำนัก 2 ภาควิชา คือสำนักงานคณบดี ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่อยู่ภายใต้
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 13 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน 8 หลักสูตร คือ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล, สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร, สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต จำนวน 3 หลักสูตร คือ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์, สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม และ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต จำนวน 2 หลักสูตร คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมวัสดุ 


ตราสัญลักษณ์

หมายถึง >> คณะจะดำเนินงานบนฐานภูมิปัญญา ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง

ดอกลำดวน หมายถึง   ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญา

วงแหวน     หมายถึง   กระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี


สีประจำคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์