วัดคูยาง

ประวัติความเป็นมา

วัดคูยาง พระอารามหลวง เป็นวัดหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗ ถนนราชดำเนิน ซอย ๓ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีพระธรรมภาณพิลาส เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเจ้าอาวาส สภาพเดิมเป็นวัดเก่าแก่แต่ครั้งโบราณกาล มีรากฐานอุโบสถ และแท่นพระประธาน ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บริเวณวัดด้านเหนือ สภาพเดิมเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชื่อวัดอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหน ........อ่านเพิ่มเติมได้ที่  วัดคูยาง พระอารามหลวง 

เนื่องจากวัดคูยางเป็นวัดพระอารามหลวงหรือวัดหลวงชั้นตรี ซึ่งความหมายของวัดอารามหลวงได้กล่าวไว้ว่า

พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง 

ที่มาของชื่อ"วัดคูยาง"

เหตุที่เรียกว่าวัดคูยางเพราะ มีชาวยาง (กะเหรี่ยง) มาบูรณะวัดโบราณแห่งนี้ ชาวยางขุดคูน้ำล้อมรอบวัด จึงเรียกกันว่า "วัดคูยาง" 

หอไตร

หอไตรใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานที่จารึกคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าพระไตรปิฎก หรือจารึกความรู้เรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องตำรายาโบราณ วรรณคดีโบราณ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นของสูง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ และหาได้ยาก และนิยมสร้างไว้กลางสระน้ำในวัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มดปลวกและแมลงสาบขึ้นไปกัดแทะทำลายคัมภีร์เหล่านั้น ส่วนใหญ่นิยมสร้างเพื่อมุ่งบุญกุศลเป็นสำคัญ ด้วยถือคติว่าสร้างไว้เก็บรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ จึงนิยมสร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีรูปทรงพิเศษแปลกตาด้วยฝีมือที่สุดยอดในยุคสมัยนั้น ๆ 

เจ้าอาวาสวัดคูยาง

พระพรหมวัชรวิสุทธิ์ (อดุลย์ อมโร)