บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ประชาคมอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรืออาเซียนเป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทยมาเลเซียฟิลิปปินส์อินโดนีเซียสิงคโปร์บรูไนลาวกัมพูชาเวียดนามและพม่าอาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตรมีประชากรราว 590 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐคิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพีมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสาซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทยมาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพอาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจการพัฒนาสังคมวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกและการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคและเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติหลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาอาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบันกฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้นเขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งจะประกอบด้วยสามด้านคือประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ

พ.ศ. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2504 โดยประเทศไทยมาเลเซียและฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปีก็ต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากความผูกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียและการเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาของไทยจนเมื่ออินโดนีเซียและมาเลเซียฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกันจึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และถนัดคอมันตร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอมกิตติขจรโดยมีการลงนาม" ปฏิญญากรุงเทพ "ที่พระราชวังสราญรมย์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาตัมมาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซรามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุลราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์และถนัดคอมันตร์แห่งไทยซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กรในปัจจุบันสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตรและมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาคคือยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศสหภาพเมียนมาร์ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตรและมีอาณาเขตติดต่อกับจีนอินเดียบังกลาเทศและประเทศสังเกตการณ์อาเซียนคือปาปัวนิวกินีภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 ° C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อนซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกป่าดงดิบป่าเบญจพรรณป่าสนป่าหาดทรายชายทะเลป่าไม้ปลูกมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือข้าวข้าวโพดมันสำปะหลังสับปะรดยางพาราปาล์มน้ำมันและพริกไทยจากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อดังนี้ให้ความเคารพแก่เอกราชอำนาจอธิปไตยความเท่าเทียมบูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมดรัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอกการรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกันหรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลังให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN: The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนคือไทยอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บรูไนดารุสซาลามได้เข้ามาเป็นสมาชิกตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

1. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 1. บรูไนดารุสสลามประเทศบรูไนมีชื่อเป็นทางการว่า" เนการาบรูไนดารุสซาลาม "มีเมือง" บันดาร์เสรีเบกาวัน "เป็นเมืองหลวงถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นักเพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตรปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลามและใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) เมืองหลวงคือกรุงพนมเปญเป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือและทิศตะวันตกมีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตรหรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยมีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษฝรั่งเศสและเวียดนามได้

3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) เมืองหลวงคือจาการ์ตาถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) เมืองหลวงคือเวียงจันทน์ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตกโดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทยคือ 236,800 ตารางกิโลเมตรพื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูงและไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเลปัจจุบันปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมโดยมีประชากร 6.4 ล้านคนใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทยภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสได้ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เมืองหลวงคือกรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรแบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายูและมาเลเซียตะวันออกตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวทั้งประเทศพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตรจำนวนประชากร 26.24 ล้านคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เมืองหลวงคือกรุงมะนิลาประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะโดยมีพื้นที่ดิน 298,170 ตารางกิโลเมตรมีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลกมีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาตากาลอกเป็นภาษาราชการ

7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore) เมืองหลวงคือกรุงสิงคโปร์ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียนจึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นมีประชากร 4.48 ล้านคนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีสภาเดียว)

8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย 77 จังหวัดมีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) เมืองหลวงคือกรุงฮานอยมีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตรจากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ. 2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคนประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมืองส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ปัจจุบันปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) มีเมืองหลวงคือเนปิดอวติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออกโดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตรประชากร 48 ล้านคนกว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทหรือหินยานและใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมและเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้นทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้นวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการดังนี้

1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม

2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค

3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมวิชาการวิทยาศาสตร์และด้านการบริหาร

4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย

5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการค้าการคมนาคมการสื่อสารและปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต

6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

Google Sites คือโปรแกรมของ Google ที่ให้บริการสร้างเว็บไซต์ฟรี สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่าย ปรับแต่งรูปลักษณ์ได้อย่างอิสระ และสามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลไว้ในที่เดียว เช่น วิดีโอ, ปฏิทิน, เอกสาร อื่นๆ สามารถนำมาแทรกในหน้าเว็บเพจได้ เป็นการเพิ่มลูกเล่น ใช้งานได้ง่าย ทำให้ช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก

Google Form เป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Docs ที่ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ การทำแบบฟอร์มลงทะเบียนและการลงคะแนนเสียง เป็นต้น