การทำถ่านอัดแท่ง


ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อ-สกุล .........นายเล็ก..........อุมาสะ............ วันเดือนปีเกิด ....๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙....อายุ ...๔๕....... ปี

ที่อยู่ ..๓๗/๙.....ม.๕ บ้านช่องไม้ดำ ตำบลลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ข้อมูลการเดินทางไปยังภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสังเขป (เริ่มต้นจากที่ว่าการอำเภอ)

เดินทางจาก กศน.อำเภออ่าวลึก ประมาณ ๑๔ กม.ถึง ๔ แยกไฟแดงบ้านนบ เลี้ยวซ้ายผ่านทางวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถึงสามแยก โรงเรียนบ้านช่องไม้ดำ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงบ้านนายเล็ก อุมาสะ

ข้อมูล/รายละเอียดภูมิปัญญาท้องถิ่น

ถ่าน คือ ไม้หรือฟืนที่ผ่านกระบวนการไล่ความชื้นในเนื้อไม้ออกไป ถ่านไม้แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิง ให้ความร้อน หรือใช้งานในด้านอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของไม้ เนื่องจากความหนาแน่นและองค์ประกอบทางเคมีของไม้มีความแตกต่างกัน อาทิเช่น ไม้ที่มีความหนาแน่นมาก เมื่อเป็นถ่านจะให้พลังงานความร้อนที่สูงและอยู่ได้นานกว่าถ่านที่มีความหนาแน่นน้อย นอกจากนี้ถ่านยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย

ถ่านอัดแท่งคือถ่านไม้ที่ได้มาจากระบวนการผลิตถ่านที่มีอุณหภูมิประมาณ 500 – 700 องศาเซลเซียส เพื่อไล่น้ำมันดินให้ออกไปจากถ่าน (ปกติกระบวนการเปลี่ยนไม้เป็นถ่านจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส แต่ยังมีปริมาณคาร์บอนเสถียรต่ำและมีน้ำมันดินเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่สูงมาก) ทำให้ถ่านมีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ทำให้ถ่านไม้มีความบริสุทธิ์ ปราศจากสารก่อมะเร็ง และเมื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารก็ไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทปิ้งย่าง อีกทั้งยังผ่านกระบวนการบดและอัดให้เป็นก้อน ทำให้ถ่านที่ได้มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ เมื่อติดไฟจะทำให้มีความร้อนสม่ำเสมอ ควบคุมความร้อนง่าย ไฟไม่แตกประทุ และมีควันน้อย คุณสมบัติของถ่านอัดแท่งอนามัย เป็นถ่านที่ให้ค่าความร้อนสูง ให้ความร้อนสม่ำเสมอ สะอาด เพราะมีปริมาณคาร์บอนเสถียรสูง สารระเหยต่ำ ควันน้อย ขี้เถ้าน้อย อาหารที่ปิ้งย่างมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ประหยัดและสะดวก เพราะมีความหนาแน่นสูง ติดไฟนาน พลังงานเชื้อเพลิง “ถ่าน” นับเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในครัวเรือนเพื่อประกอบอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ฯลฯ ในอดีตเราจะคุ้นเคยกับถ่านไม้เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการผลิตถ่านอัดแท่งโดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น ผักตบชวา มาอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิง ซึ่งเรียกว่า “เชื้อเพลิงเขียว” และถ่านจากแกลบ รวมทั้งการนำถ่านไม้มาอัดแท่งเพื่อเพิ่มคุณสมบัติด้านการให้ความร้อนที่สูงและสม่ำเสมอมากขึ้น การส่งเสริมใช้ถ่านไม้จากวัสดุเศษเหลือการเกษตร นอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว การผลิตถ่านที่มีคุณภาพยังจะช่วยให้อาหารปิ้งย่างมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย