2.ประเภทของข่าวปลอม

1.Satire or Parody เสียดสีหรือตลก

ยกตัวอย่างเช่น เพจตลก เพจล้อเลียน พระนพดล, ข่าวปด, The Doubble Standard ต่าง ๆ ที่ทุกคนก็จะดูรู้ว่าเป็นเพจที่ทำขึ้นมาเพื่อล้อเลียน ทำให้มีพิษมีภัยน้อยที่สุดเนื่องจากทางผู้จัดทำเองก็ ไม่ได้มีเจตนาในการสร้างความเข้าใจผิดหรือมีวัตถุประสงค์ต้องการให้คนมาเชื่อ

2.False connection เชื่อมโยงเนื้อหาไม่ถูกต้อง

คือการที่สองสิ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยแต่ถูกนำมากล่าวถึงในข่าวเดียวกันหรือทำให้มาเชื่อมโยงกัน สิ่งนี้เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจของคนเขียนข่าวหรือทำคอนเทนต์ หรือเกิดจาก การพยายามหารายได้ ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่เป็น False Connection ก็เช่น “น้ำมะนาวรักษาโรคมะเร็ง” หรือบทความที่ชอบขึ้นว่า “งานวิจัยเผย …” แล้วกลายเป็นว่าโยงไปขายของ หรือข่าวโลกแตกทั้งหลาย

3.Misleading ทำให้เข้าใจผิด

คือการเขียนข่าวหรือทำคอนเทนต์โดย จงใจให้เข้าใจผิด หรือการใช้คำอย่างนึงเพื่ออธิบายอีกอย่างนึง พอโดนจับได้ก็จะแถว่าก็เข้าใจผิดเองทั้ง ๆ ที่ตอนแรกคือหวังให้เขาเข้าใจผิดอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่วัตถุประสงค์คือ ชวนเชื่อ หรือหวังผลทางการเมือง ตัวอย่างของคอนเทนต์ Misleading เราจะพบเห็นได้บ่อยกับพวกข่าวการเมือง

4.False Context ผิดที่ผิดทาง

คือการที่เอาสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เช่น รูป, ข้อความ, คำพูด แต่เอามาใช้แล้วพูดถึงอีกเรื่องนึง เช่น การเอารูปภัยธรรมชาติในต่างประเทศมาแล้วเขียนบอกว่าเกิดขึ้นที่ประเทศไทย

5.Impostor แหล่งที่เป็นเท็จ

คือการรายงานข่าวแบบปกติ แล้วถ้าไม่ตรวจสอบดี ๆ ก็จะไม่รู้เลยว่าเป็น Fake News รูปแบบของมันคือการอ้างไปยังบุคคลหรือแหล่งข่าวเช่น คนนี้กล่าวไว้ว่า, นายกกล่าวไว้ว่า หรือ คนนู้นคนนี้เคยกล่าวไว้ว่า แต่จริง ๆ แล้วเป็นการที่คนทำคอนเทนต์หรือคนเขียนข่าวคิดหรือมโนขึ้นมาเอง โดยจัดให้ Imposter เป็นความรุนแรงระดับที่ 5 คือสร้างความเข้าใจผิดและความขัดแย้งในระดับวงกว้างได้

6.Manipulated ปลอม ตัดต่อ

คือการปลอมหรือตัดต่อ ความรุนแรงของมันคือถ้าไม่สังเกตเราจะดูไม่ออก การตัดต่อนี้รวมถึงการตัดต่อภาพ, เสียง, วิดีโอ หรือแม้กระทั่งการเอา logo ของสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือมาใส่ ตัวอย่างของ Manipulated Content ก็เช่น การตัดต่อสร้างเรื่อง ตัดแปะ



7.Fabricated ปลอมทุกอย่าง 100%

คือขั้นที่รุนแรงที่สุดของ Fake News ตัวอย่างของมันเช่นการปลอมมันทั้งเว็บ เช่น การปลอมเป็น ข่าวสด ปลอมเป็นไทยรัฐ หรือการปลอมเป็นบุคคล แล้วรายงานข่าว อันนี้ร้ายแรงมาก เนื่องจากคนก็จะเข้าใจว่าเป็นสำนักข่าวนั้นจริง ๆ ถ้าคนที่ไม่รู้ก็จะดูไม่ออกเลยว่าเป็นเว็บข่าวปลอม ในไทยก็เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว ตรงนี้ก็ต้องอาศัยทุกคนช่วยกันตรวจสอบ


อ้างอิงเนื้อหาจาก :

1.บทความ Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์ โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.); Electronic Transactions Development Agency หรือ ETDA (เอ็ตด้า)2.บทความ Fake News สร้างข่าวปลอม เตรียมรับผิด!! โดย บริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน)3.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ภาพจาก : www.firstdraftnews.org