2.  วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

    2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล


1) ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2) วิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู วิเคราะห์สาระการเรียนรู้

3) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ Active Learning  ด้วยการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-6 คน  โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้  5 ขั้นตอน ดังนี้


ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เรื่อง 

กฎของโอห์ม จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละคนออกมารับบัตรคำหน้าชั้นเรียน ซึ่งนักเรียนแต่ละคนจะได้บัตรคำที่แตกต่างกัน แล้วให้นักเรียนแต่ละคนเขียนอธิบายบัตรคำที่ตนเองได้รับลงในสมุดประจำตัวนักเรียน


ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา

- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ตามความสมัครใจ เพื่อศึกษา

กิจกรรมการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน

- นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าลงใน

สมุดประจำตัวนักเรียน


ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการ

ปฏิบัติกิจกรรมการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมหน้าชั้นเรียน ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอ ครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจถูกต้อง


            ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ตัวต้านทาน และให้ความรู้เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน โดยครูใช้ PowerPoint เรื่อง ตัวต้านทาน ในการอธิบายเพิ่มเติม


            ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล ครูประเมินทักษะและกระบวนการโดยสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายกลุ่ม การทำงานรายบุคคล 


4) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม และ

สะท้อนผลการเรียนรู้  



ผลลัพธ์การพัฒนา


เชิงปริมาณ

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 76.07 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนด้านความรู้ (k) และ ด้านทักษะ (S) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 76.07 มีทักษะทางการคิด

วิเคราะห์ที่สูงขึ้น     

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 100 มีคุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ ของครูผู้สอนที่จัดขึ้น                                                                       

       เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพัฒนาการด้านการแก้ปัญหา และการ

คิดวิเคราะห์ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ที่ผู้เรียนพึงมี


ผลการประเมินตนเอง ปรากฎผลระดับ (4) ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับฯ  

                              ที่คาดหวัง  


ผลสัมฤทธิ์รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6