วิทยานิพนธ์

สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 

บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และปัญหา แนวทางการพัฒนาสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ทั้ง 7 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงบประมาณ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 7 ด้าน พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ คือ การส่วนร่วมของชุมชนและการจัดทำแผนงบประมาณ แผนงาน/โครงการ ที่เชื่อมโยงกับผลผลิตและผลลัพธ์ การจัดทำแผนการใช้งบประมาณ ปฏิทินปฏิบัติงาน การประเมินแผนกลยุทธ์ และการรายงานการดำเนินโครงการ การจัดทำแผนระดมทรัพยากรของสถานศึกษา ขาดบุคลากรที่มีความรู้โดยตรงทางด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุ บันทึกระบบบันชีไม่เป็นปัจจุบัน และทะเบียนคุมวัสดุ ครุภัณฑ์ ไม่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นสถานศึกษาจึงควรประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานศึกษา จัดอบรมและดำเนินการจัดทำรายละเอียดแผนงบประมาณ แผนงาน/โครงการ ให้มีความเชื่อมโยงกันนโยบายของกระทรวงฯ ดำเนินการจัดเตรียมประมาณการการใช้จ่ายงบประมาณล่วงหน้า แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี ทุกสิ้นปีการศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำแผนระดมทรัพยากรทั้งระยะสั้น และระยะยาวควร แต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจมาปฏิบัติงานและส่งเสริมให้ครูผู้รับผิดชอบเข้าร่วมอบรม สัมมนา จัดทำเอกสาร หลักฐานทางการบัญชีให้ สมบูรณ์ บันทึกบัญชีให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการพัสดุมาปฏิบัติหน้าที่ จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินทุกประเภทให้ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน 

วีระพงษ์  ก้านกิ่ง (2561) สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 

บทคัดย่อ : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำนวน 44 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่า t - test กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงานรองลงมาคือด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการบริหารการบัญชี2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 

เพียรศรี พุ่มพวง (2561) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

กลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ : 

การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์ การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู สังกัดโรงเรียนขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 65 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเดียวกับกลุ่มที่ใช้ในขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงานบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการจัดเตรียมงบประมาณ ด้านการอนุมัติงบประมาณ และด้านการบริหารงบประมาณ อยู่ในระดับมาก แต่ด้านควบคุมงบประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง 2. กลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพ-มหานคร ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การจัดการงบประมาณของโรงเรียนขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ต้องการให้มีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย โดยเฉพาะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนต้องการให้มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ การจัดทำงบประมาณ อนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณ สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ มีการวัดผลประเมินผลได้ กลยุทธ์การจัดการงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร จะทำให้การปฏิบัติการจัดการงบประมาณมีประสิทธิภาพ เกิดผลดีต่อระบบจัดการงบประมาณอย่างมีคุณภาพ 3. จากการประเมินกลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: กลยุทธ์, การบริหารงบประมาณ, บริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

เกตุจันทร์ฑา ศรีวะรมย์ (2560) กลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และขนาดของสถานศึกษา และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดสถานศึกษา และ 2) กลุ่มผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์ คือผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานงบประมาณ ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา          

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนวุฒิการศึกษาไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณ สถานศึกษาควรกำกับให้มีการเบิกจ่ายตามโครงการ ตลอดจนมีการตรวจสอบ กำกับติดตาม และประเมินผลการใช้งบประมาณ

วราภรณ์ ธนากูลจีรวัฒน์ และ พรรณี สุวัตถี  (2017) ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9  วารสารศิลปากรศิกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2017) หน้าที่ 304-318.

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงบประมาณที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านบรรยากาศของโรงเรียน และด้านภาวะผู้นำ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการวางแผนงบประมาณ (X1) เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ (X5) ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ (X2) และด้านการบริหารการเงินและการบัญชี (X6) ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 4 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ได้ร้อยละ 86.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ 0.254, 0.286, 0.171, และ 0.112 และมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.325, 0.366, 0.295, และ 0.123 ตามลำดับ สมการพยากรณ์เขียนได้ดังนี้

              สมการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา ในรูปของคะแนนดิบ

                   Y´ = 0.863 + 0.254 X1 + 0.286 X5 + 0.171 X2 + 0.112 X6

              สมการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา ในรูปของคะแนนมาตรฐาน

                   Z´y = 0.325ZX1 + 0.366ZX5 + 0.295ZX2 + 0.123ZX

ปิยะพงษ์ พันธ์สุภาและสมใจ ภูมิพันธุ์ (2565) การบริหารงบประมาณที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565 หน้าที่ 46-56.


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สถานศึกษา เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฏิบัติหน้าที่งานงบประมาณด้านตำแหน่ง ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 83 คน ครูปฏิบัติหน้าที่งานงบประมาณ จำนวน 249 คนรวมทั้งสิ้น332 คนโดยผู้วิจัยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสอบถามปลายเปิดค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.969 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ใช้สถิติการวิเคราะห์การทดสอบที การทดสอบเอฟ  และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า

ปรัชญากร อินทร์วัน ประกาศิต อานุภาพแสนยากร และสุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง (2565) สภาพการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 17 ครั้งที่ 1 (2565) หน้าที่ 109-122.

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณ ต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณ ต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe

       ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารบัญชี และด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีการบริหาร อยู่ในระดับมาก และ 2) ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และด้านระดมทรัพยากรและการลงทุน และในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการบริหารบัญชี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 10 ปี  มีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ในด้านการบริหารบัญชี สูงกว่าข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณที่มีประสบการณ์ในการทำงาน น้อยกว่า 5 ปี

ขวัญเรือน มุ่งผลกลาง และ ปทุมพร เปียถนอม (2563) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2020): กรกฎาคม - ธันวาคม 2563.

การบรรลุความยั่งยืนทางการเงินเป็นความท้าทายที่สําคัญสําหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทั่วโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครื่องมือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนสําหรับการวางแผนความยั่งยืนทางการเงินในสถาบันอุดมศึกษา บทความนี้ใช้รูปแบบที่ปรับเปลี่ยนของเครื่องมือการวางแผนเชิงกลยุทธ์สามแบบ: แผนที่กลยุทธ์ (SM), ดัชนีชี้วัดที่สมดุล (BSC) และ business-model-canvas (BMC) ซึ่งนําไปใช้เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์การวางแผนความยั่งยืนทางการเงินที่มหาวิทยาลัย King Abdulaziz (KAU) เครื่องมือเหล่านี้ช่วยปรับปรุงกระบวนการวางแผนและนําไปสู่ผลลัพธ์ บทความนี้ยังวาดแผนงานของเหตุการณ์สําคัญสําหรับความยั่งยืนทางการเงินที่มหาวิทยาลัยโดยการระบุแหล่งที่มาและตัวชี้วัดความสามารถทางการเงินของมหาวิทยาลัย บทความนี้มีส่วนช่วยในการเขียนวรรณกรรมเกี่ยวกับความยั่งยืนทางการเงินในสถาบันอุดมศึกษา และนําเสนอข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ สําหรับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ต้องการนําแผนที่คล้ายคลึงกันมาใช้ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะ 4 ข้อ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและเชื่อมโยงกับเครือข่ายการลงทุนของมหาวิทยาลัย คําแนะนําเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถการเพิ่มสินทรัพย์ทางการเงินและการใช้ความสามารถทางเทคนิคการวิจัยเพิ่มเติมรวมถึงการตรวจสอบการบังคับใช้แนวทางใหม่นี้ในบริบทอื่นๆ และระบุความท้าทายและข้อจํากัดที่อาจเกิดขึ้นในการดําเนินการและบรรลุความยั่งยืนทางการเงิน

Isam Y. Al-Filali, Reda M.S. Abdulaal , Suha M. Alawi, Anas A. Makki (2023) Modification of strategic planning tools for planning financial sustainability in ‎higher education institutions Journal of Engineering Research Available online 17 November 2023.