หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การบริหารจิตและการเจริญปัญญา
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส 1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด
ส 1.1 ม.2/9 เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการคือวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้า คุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
ส 1.1 ม.2/10 สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิต และเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของโยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ วิธีการสวดมนต์แปล แผ่เมตตา การบริหารจิตและเจริญปัญญาตาม
หลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ อธิบายประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา (K)
2. วิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ เขียนแผนภาพหรือเค้าโครงวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ ปฏิบัติโดยการสวดมนต์แปล
แผ่เมตตา ฝึกปฏิบัติการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ (P)
3. เห็นความสำคัญของการนำวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการไปใช้ในการพัฒนาวิธีคิด และแนวทางของตนเอง เห็นคุณค่าและนำวิธีคิดแบบอรรถ
ธรรมสัมพันธ์ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่าของการสวดมนต์แปล แผ่เมตตาในชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่าการบริหารจิตและเจริญปัญญา
เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่าของการฝึกปฏิบัติสมาธิ เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน (A)
สาระการเรียนรู้
4.1 การบริหารจิต พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 2 วิธี คือ วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถ
ธรรมสัมพันธ์
4.2 สวดมนต์แปลและแผ่เมตตา
- รู้และเข้าใจวิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา
- ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ
- นำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน