แนะนำรายวิชา

บทเรียนออนไลน์พระพุทธศาสนา

รายวิชาสังคมศึกษา รหัส ส 22101 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึด มั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา

หรือศาสนาที่ตนนับถือ

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ส 22101 รายวิชาสังคมศึกษา ภาคเรียนที่ 1

เวลา 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1.5 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

……………………………………………………………………

ศึกษาศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม และภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติ และความสำคัญของศาสนาในการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ การผจญมาร การตรัสรู้ การสั่งสอน ประวัติและการดำเนินชีวิตของพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นางขุชชุตรา พระเจ้าพิมพิสาร มิตตวินทุกชาดก ราโชวาทชาดก พระมหาธรรมราชาลิไทย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โครงสร้างและสาระสังเขปของพระวินัยปิฎก หลักธรรมและการปฏิบัติตนตามหลักธรรม คือ พระรัตนตรัย อริยสัจ 4 พุทธศาสนสุภาษิต พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโส-มนสิการแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรมและแบบอรรถสัมพันธ์ การสวดมนต์ แผ่เมตตา ฝึกการบริหารจิตและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเป็นลูกที่ดีตามทิศ 6 มรรยาทในการต้อนรับ การปฏิบัติต่อพระสงฆ์ การแต่งกาย คุณค่าของศาสนพิธี เช่นการทำบุญตักบาตร การถวายภัตตาหาร การถวายสังฆทาน การถวายผ้าอาบน้ำฝน การจัดเครื่องไทยธรรม การกรวดน้ำ การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า หลักธรรมที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา ระเบียบพิธีและการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของธรรมชาติ ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์ ภัยพิบัติของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ วิถีการดำเนินชีวิต ทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปและแอฟริกา และแนวทางการจัดการภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา

โดยใช้ทักษะกระบวนการทางสังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เพื่อฝึกทักษะ อธิบาย วิเคราะห์ อภิปราย ปฏิบัติตน มีมรรยาท ธำรงรักษา ใช้แผนที่ และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ระบุ มีส่วนร่วม ค้นหา สำรวจ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ที่หลากหลาย

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางสังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ได้อย่างเหมาะสม เห็นคุณค่า มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นอย่างสันติสุข ตระหนัก มีจิตสำนึก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด

ส 1.1 ม2/1,ม2/2, ม2/3, ม2/4 ,ม2/5, ม 2/6,ม2/7,ม2/8,ม2/9,ม2/10,ม2/11

ส 1.2 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4, ม.2/5

ส 5.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3

ส 5.2 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4