สมรรถภาพและสมรรถภาพกลไก















สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกลไก

สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆของร่างกายที่เป็นความสามารถเชิงสรีรวิทยาของระบบที่จะช่วยป้องกันบุคคลจากโรคต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดการออกกำลังกายและเป็นปัจจัยสำคัญที่จช่วยให้คนเรามีสุขภาพดี ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉง


1. สัดส่วนของร่างกาย โดยดูจากสัดส่วนของไขมันในร่างกาย

2. ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด สามารถทำงานหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ได้นานขึ้น เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

3. ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น คือ ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลาของการเคลื่อนที่ตามปกติ

4. ความทนทานของกล้ามเนื้อ คือสภาพการหดตัวของกล้ามเนื้อในระยะเวลาที่นานขึ้น เช่น การลุกนั่ง งอแขนห้อยตัว

5. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ คือประสิทธิภาพการหดตัวของกล้ามเนื้อใน 1 ครั้ง เช่นยืนกระโดดไกล


วิธีทดสอบสมรรถภาพเพื่อสุขภาพมี 5 รายการ

❤ วิ่งหรือเดิน ระยะไกลวัดความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียน

❤ วัดดัชนีมวลกาย

❤ นั่งงอตัวไปข้างหน้า

❤ ลุกนั่งหรือนอนยกตัววัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและ. . หลังส่วนล่าง

❤ ดันพื้น วัดความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขน ไหล่


สมรรถภาพทางกลไก

หมายถึง ความสามารถของอวัยวะต่างๆในร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารถเคลื่อนไหวหรือประกอบกิจกรรมทางกายอย่างมีประสิทธิภาพหรือเล่นกีฬาได้ดี


ทดสอบที่แสดงถึงองค์ประกอบที่บอกถึงการมีสมรรถภาพทางกลไกที่ดี ดังนี้


✡ ความเร็ว - การเคลื่อนไหวโดยใช้รวดเร็วที่สุด เช่น วิ่ง 100 ม. ว่ายน้ำ 50 ม.

ความคล่องแคล่วว่องไว-ความสามารถในการปรับเปลี่ยนท่าทางหรือทิศทางได้อย่างทันทีทันใด
เช่น.วิ่งเก็บของ

กำลังหรือพลังของกล้ามเนื้อ- ความสามารถในการทำงานอย่างทันทีทันใดของกล้ามเนื้อด้วย
ความพยายามสูงสุดในเวลาสั้นที่สุด เช่น ยกน้ำหนัก ขว้างจักร

ความสมดุล-ความสามารถในการควบคุมท่าทางของร่างกายไม่ว่าจะยู่ในขณะเคลื่อนที่หรือยู่กับที่ ให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการ เช่น การยืนทรงตัว

การประสานสัมพันธ์-ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากกว่า 1 กลไกให้ผสมผสานอย่างเป็นระบบ เช่น วิ่งเลี้ยงลูกบาส

เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง-ความสามารถของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในระยะเวลาอันรวดเร็ว เช่น ตีโต้ลูกปิงปองด้วยความรวดเร็วช


วิธีการทดสอบสมรรถภาพพทางกลไกมี 8 รายการ


💥 วิ่งหรือเดิน 50 ม.เพื่อทดสอบความเร็ว.


💥วิ่งเก็บของเพื่อทดสอบความคล่องตัว


💥ยืนกระโดดไกลวัดพลังกล้ามเนื้อ


💥แรงบีบมือเพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ


💥ลุก-นั่ง 30 วินาทีเพื่อทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อ


💥ดึงข้อเพื่อทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อ


💥นั่งงอตัวเพื่อทดสอบความอ่อนตัว


💥วิ่งระยะไกลเพื่อทดสอบความอดทนทั่วไป



ข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย


ก่อนการทดสอบ พักผ่อนให้เพียงพอ

งดออกกำลังกายอย่างหนักอย่างน้อย24ชม.

รับประทานอาหารประจำวันตามปกติ

หลีกเลี่ยงการดื่มสุราไม่ใช้ความคิดหนัก

งดกินยาที่ออกฤทธิ์นาน


วันที่ทำการทดสอบ สวมเครื่องกายที่เหมาะสม

รับประทานอาหารหนักก่อนการทดสอบไม่น้อยกว่า2ชม.

ไม่กินยาหรือสิ่งกระตุ้นใดๆเช่น ชา กาแฟ บุหรี่

ในระหว่างการทดสอบ ตั้งใจทดสอบอย่างเต็มความสามารถ ถ้ารู้สึกไม่สบายต้องไม่ฝืน เช่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ หายใจไม่ทัน


คุณค่าของการพัฒนาสมรรถภาพทางกายและทางกลไก

1.เสริมสร้างสุขภาพทางกาย

2. สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลให้สุขภาพกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย

3.สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม


หลักการพัฒนาสมรรถภาพทางกายและทางกลไก

รู้จักประมาณตนเอง ได้แก่ สภาพร่างกาย สมรรถนะของตนเอง ทำให้เลือกกิจกรรม ความบ่อย ความหนักและความนานได้อย่างเหมาะสม

คำนึงถึงความปลอดภัย อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

คำนึงถึงหลักการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ได้แก่ วิธีการ ความต่อเนื่อง มีความรับผิอบและการ อดทน ในการฝึก ขยายขีดความสามารถของตนเอง พักผ่อนและเลือกรับ ประทานอาหารที่ เหมาะสมการพัฒนาสมรรถภาพต้องเป็นไปตามขั้นตอน อบอุ่น-ปฏิบัติ-ผ่อนคลายงดออกกำลังกายก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร ประเมินศักยภาพของบุคคล ไม่มุ่งแพ้ชนะเป็นสำคัญที่สุดระมัดระวังการใช้

น้ำหนัก


องค์ประกอบของการวางแผนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายและทางกลไก

1. ปัจจัยส่วนบุคคล

2. รูปแบบวิธีการฝึก

3. การตรวจสภาพร่างกายเพื่อดูความพร้อมของร่างกาย


คนที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะมีผลต่อสุขภาพทำให้ทำงานเหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว

การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายจะช่วยให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ช่วยสร้างเสริมความต้านทานโรค ทำให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี สุขภาพดี แคล่วคล่องว่องไว มีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต แสดงถึงการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี


ลักษณะสำคัญของผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดี


✳มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายที่สมวัย นน. ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์

มีขนาดร่างกายที่สมส่วน คือน้ำหนักส่วนสูงได้สัดส่วนกัน

กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีความแข็งแรง ลุก-นั่ง, ดึงข้อได้หลายครั้ง

มีความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนที่ดี

มีความอ่อนตัวที่ดี

มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว

มีความอยากรับประทานอาหารและอยากรับประทานมากๆ ไม่เบื่ออาหาร

มีร่างกายแข็งแรง

มีความต้านทานโรคดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่พิการหรือผิดปกติอื่นๆ

พักผ่อนนอนได้เป็นปกติ


กระบวนการ PDCAกับพัฒนาสมรรถภาพทางกายและทางกลไก


P = PLAN การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้กิจกรรมสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

D = DO การปฏิบัติตามแผน

C = CHECK การตรวจสอบคุณภาพ

A= ACT การปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำข้อผิดพลาด ข้อควรปรับปรุงแก้ไขเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพ