ผู้จัดทำข้อตกลง

นายพงศ์พันธุ์  ปรังฤทธิ์

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้     - ห้องเรียนสายวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (สาขาวิชาช่างไฟฟ้า)


ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 22 ชั่วโมง / สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

รายวิชาบูรณาการ   จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชางานโลหะแผ่นเบื้องต้น      จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจร        จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชางานนิวเมตริกและไฮดรอลิกส์เบื้องต้น จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาเครื่องทำความเย็น              จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 2/2565

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

เวรประจำวัน                                            จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุม                           จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม             จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

PLC                                 จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2565

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 2/2565

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 2/2565


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

หัวหน้าประจำอาคาร จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                      

จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

ชุมนุมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชนเผ่า         จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

ฐานการเรียนรู้ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา อิงดอยป่าไม้ช็อป  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2565


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 22 ชั่วโมง / สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

วิชางานเกษตรเพื่ออาชีพ ม.1/4                 จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์ราย

วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น ม.4/5              จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

วิชางานฝึกฝีมือ ม.4/5              จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

วิชาการติดตั้งไฟฟ้าในอาคารม.5/5       จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

วิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5/5   จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

วิชาเทคนิคการก่อสร้าง           จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 1/2566

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

เวรประจำวัน                                            จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุม                           จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม             จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

PLC                                 จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1/2566

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 1/2566


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย  เรื่อง  การพัฒนาทักษะการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านทักษะพิสัย รายวิชา การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ( ช่างไฟฟ้า )   กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    จากการจัดการเรียนรู้ วิชาการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร พบว่านักเรียนบางคนปฏิบัติการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้ค่อนข้างช้า และผิดวิธีบางขั้นตอน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ซับซ้อน 


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย

       เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทำ หรือการแสดงออกต่างๆ และได้นำรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดกิจกรรม

       2.1  แนวคิดของรูปแบบ เดฟ ( Dave, 1967 :96-99 ) ได้จัดลำดับขั้นการเรียนรู้ทางด้านทักษะปฏิบัติไว้ 5 ขั้น ได้แก่ การเลียนแบบ การลงมือกระทำตามคำสั่ง การกระทำอย่างถูกต้องแม่นยำ การแสดงออกและการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ

       2.2  วัตถุประสงค์ของรูปแบบ มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสามารถทางด้านทักษะปฏิบัติต่างๆ กล่าวคือ สามารถปฏิบัติหรือกระทำอย่างถูกต้องแม่นยำ และชำนาญ

       2.3  กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ

       ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสังเกตการกระทำที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ซึ่งผู้เรียนย่อมจะรับรู้หรือสังเกตเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ไม่ครบถ้วน แต่อย่างน้อยผู้เรียนสามารถบอกได้ว่า ขั้นตอนหลักของการกระทำนั้นๆ มีอะไรบ้าง

       ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง เมื่อผู้เรียนได้เห็นและสามารถบอกขั้นตอนของการกระทำที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนลงมือทำโดยไม่มีแบบอย่างให้เห็น ผู้เรียนอาจลงมือทำตามคำสั่งของผู้สอน หรือทำตามคำสั่งที่ผู้สอนเขียนไว้ในคู่มือก็ได้ การลงมือปฏิบัติตามคำสั่งนี้ แม้ผู้เรียนจะยังไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์แต่อย่างน้อยผู้เรียนก็ได้ประสบการณ์ในการลงมือทำ และค้นพบปัญหาต่างๆ ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และการปรบการกระทำให้ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น

       ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องแม่นยำ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนจนสามารถทำสิ่งนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีแบบอย่างหรือมีคำสั่งนำทางการกระทำ การกระทำที่ถูกต้องแม่นตรง พอดี สมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องสามารถทำได้ในขั้นนี้

       ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนฝึกฝนการปรับ / ประยุกต์ทักษะที่ได้เรียนรู้มา ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งผู้เรียนอาจต้องผสมผสานทักษะหลายๆ ทักษะในการกระทำ

       ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถกระทำสิ่งนั้นๆ อย่างสบายๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติบ่อยๆ ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย

       2.4 ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

                 ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติ จนสามารถกระทำได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ช่างไฟฟ้า)  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 80 มีทักษะปฏิบัติการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 

เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ช่างไฟฟ้า) โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สามารถปฏิบัติการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online


นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นายณฐวรรฎ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ   รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ   รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางนีรชา ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ   รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นายอนุวัฒน์ มณฑาทิพย์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ   รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2