หน่วยการเรียนที่ 4


ความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)

ความคิดสร้างสรรค์คือกระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิมโดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้วยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลายซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิดโดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้นเช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานการเรียนหรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วยอย่างเช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิมเพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน

เป็นต้นซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการแต่อย่างไรก็ตามลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช2551ได้กำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดด้านความคิดสร้างสรรค์ไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีไว้หลายประการ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ควรจะประกอบไปด้วย 3 ประการ คือ

1.สิ่งใหม่ (new, original) เป็นการคิดที่แหวกวงล้อมความคิดที่มีอยู่เดิมที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร แม้กระทั่งความคิดเดิมๆ ของตนเอง

2.ใช้การได้ (workable) เป็นความคิดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่ลึกซึ้งและสูงเกินกว่าการใช้เพียง

"จินตนาการเพ้อฝัน"คือ

สามารถนำมาพัฒนาให้เป็นจริง

และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์

ของการคิดได้เป็นอย่างดี

3.มีความเหมาะสม เป็นความคิดที่สะท้อนความมีเหตุมีผล ที่เหมาะสมและมีคุณค่า

ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปการที่คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์

ได้ตามลักษณะที่กล่าวมานั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพการทำงาน และการพัฒนาของสมอง

ซึ่งสมองของคนเรามี 2 ซีก มีการทำงานที่แตกต่างกัน

สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในส่วนของการตัดสินใจ

การใช้เหตุผล สมองซีกขวา ทำหน้าที่ในส่วนของการสร้างสรรค์

แม้สมองจะทำงานต่างกันแต่ในความเป็นจริงแล้ว

สมองทั้งสองซีกจะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกันในแทบทุกกิจกรรมทางการคิด

โดยการคิดสลับกันไปมาอย่างเช่น การอ่านหนังสือสมองซีกซ้ายจะทำความเข้าใจ

โครงสร้างประโยค และไวยากรณ์ ขณะเดียวกันสมองซีกขวาก็จะทำความเข้าใจ

เกี่ยวกับลีลาการดำเนินเรื่องอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อเขียน ดังนั้น

เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆ

กันไม่สามารถแยกพัฒนาในแต่ละด้านได้

การค้นพบหน้าที่แตกต่างกันของสมองทั้งสองส่วนช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากได้มากขึ้น

ในการพัฒนาสมองของผู้เรียน

ให้ใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพผ่านการจัดการเรียนการสอนนั้น

ควรจัดอย่างสมดุลให้มีการพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปด้วยกันในเวลาเดียวกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสมดุลในการคิและคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เอนเอียงไปในหลักการเหตุผล

มากเสียจนติดอยู่ในกรอบของความคิดแบบเดิม

และไม่ใช่การคิดด้วยการใช้จินตนาการเพ้อฝันมากเกินไปจนไม่มีความสัมพันธ์กัน

ระหว่างความฝัน

กับความสมเหตุสมผลซึ่งจะทำให้ไม่สมารถนำมาปฏิบัติให้เป็นจริงได้ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการคิดสร้างสรรค์จึงพึ่งพาทั้งสมองซีกซ้าย

ลักษณะความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย(Divergent Thinking)คือการคิดหลายๆแง่หลายๆทาง คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้

เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมีออกรอบด้าน

คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเป็น

คนที่มี

1.ความคิดริเริ่ม(Originality) คือมีความคิดที่แปลกใหม่ต่างจากความคิดธรรมดาของคนทั่วๆไป

2.มีความคิดยืดหยุ่น(Flexibility) คือมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทางหลายแง่หลายมุม

3.มีความคิดคล่องแคล่ว(Fluency) คือสามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว

รวดเร็ว และได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด

4.มีความคิดละเอียดลออ(Elaboration)คือการคิดได้ในรายละเอียดเพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

กระบวนการคิดสร้างสรรค์(Creative process)

กระบวนการคิดสร้างสรรค์คือวิธีคิดหรือกระบวนการทำงานของสมองที่มีขั้นตอนต่างๆในการคิดแก้ปัญหาจนสำเร็จซึ่งมีหลายแนวคิดเช่นWallas ได้เสนอว่ากระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการคิดสิ่งใหม่ๆโดยการลองผิดลองถูก

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

1. ขั้นเตรียมการคือการข้อมูลหรือระบุปัญหา

2. ขั้นความคิดกำลังฟักตัวคือการอยู่ในความสับสนวุ่นวายของข้อมูลที่ได้มา

3. ขั้นความคิดกระจ่างชัดคือขั้นที่ความคิดสับสนได้รับการเรียบเรียงและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

ทำให้เห็นภาพรวมของความคิด

4.ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริงคือขั้นที่รับความคิดเห็นจากสามขั้นแรกข้างต้นมาพิสูจน์ว่าจริงหรือถูกต้องหรือไม่ Hutchinson มีความคิดคล้ายๆกันว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เข้าด้วยกัน

อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่ที่คิดใช้เวลาการคิดเพียงสั้นๆอย่างรวดเร็วหรือยาวนานก็อาจเป็นไปได้โดยมีลำดับการคิดดังนี้

1. ขั้นเตรียมเป็นการรวบรวมประสบการณ์มีการลองผิดลองถูกและตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา

2. ขั้นครุ่นคิดขัดข้องใจ เป็นระยะที่มีอารมณ์เครียดอันสืบเนื่องจากการครุ่นคิด แต่ยังคิดไม่ออก

3. ขั้นของการเกิดความคิด เป็นระยะที่เกิดความคิดในสมอง เป็นการมองเห็นวิธีแก้ปัญหาหรือพบคำตอบ

4. ขั้นพิสูจน์เป็นระยะการตรวจสอบประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ต่างๆเพื่อดูคำตอบที่คิดออกมานั้นเป็นจริงหรือไม่