ทดสอบ




มัธยมศึกษาปีที่ 5


1. ข้อใดอธิบายความหมายของแนวคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking) ได้อย่างชัดเจน

ก. เป็นแนวคิดหนึ่งในการแก้ไขปัญหา และเป็นองค์ประกอบของแนวคิดเชิงคํานวณ

ข. หลักในการทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ

ค. ขั้นตอนการทํางานของเทคโนโลยีอย่างละเอียดพร้อมวิธีการใช้งาน

ง. รูปแบบการทํางานที่ทํางานร่วมกันและสร้างวิธีการทํางานร่วมกัน



2. การคิดเชิงคํานวณมีประโยชน์อย่างไร

ก. ช่วยให้ทักษะการคิดเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์

ข. แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน

ค. ทํางานต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว

ง. จดจําและบันทึกข้อมูลได้เป็นจํานวนมาก



3. หลักการคิดเชิงคํานวณสามารถนําไปประยุกต์ในสถานการณ์ได้บ้าง

ก. การจัดเรียงสินค้า ณ ห้างสรรพสินค้า

ข. การวางแผนจัดร้านค้า

ค. การคํานวณการเล่นกีฬาโดยใช่สถิติเข้ามาเกี่ยวข้อง

ง. ถูกทุกข้อ



4. การคิดเชิงนามธรรมแบ่งได้เป็นกี่รูปแบบ

ก. 2

ข. 3

ค. 4

ง. 5



5. การคัดเลือกคุณลักษณะที่จําเป็นต่อการแก้ปัญหา เหมาะกับรูปแบบข้อมูลเป็นอย่างไร

ก. รายละเอียดจํานวนมากและข้อมูล

ข. รายละเอียดและข้อมูลน้อย

ค. ข้อมูลที่ซับซ้อน

ง. ถูกทุกข้อ



6. ขั้นตอน Logical idea คือขั้นตอนใดของการบวนการคิด

ก. ทํางานร่วมกัน

ข. ความคิดริเริ่ม

ค. คิดเป็นระบบ

ง. มีเหตุมีผล


7. การ Debugging คือวิธีใดในกระบวนการคิดเชิงคํานวณ

ก. การคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ข. การแก้ไขจุดบกพร่อง

ค. สร้างความอดทน ความพยายาม

ง. สร้างความชัดเจน


8. องค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบสําคัญอันดับแรกในการพิจารณาเลือกหัวข้อโครงงาน

ก. ความรู้และทักษะพื้นฐานในการทําโครงงาน

ข. มีงบประมาณและทรัพยากรเพียงพอ

ค. มีแหล่วงความรู้เพื่อนการค้นคว้าหรือขอคําปรึกษา

ง. สามารถพัฒนาได้โดยไม่เสี่ยงอันตรายต่อตนเอง



9. การกําหนดวัตถุประสงค์ของโครงงาน ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

ก. ต้องสามารถวัดได้

ข. ระบุได้ชัดเจนว่าโครงงานนี้จะทําอะไร ผลที่ได้คืออะไร

ค. ต้องมีหลาย ๆ ข้อ เพื่อครอบคลุมการวัดในทุก ๆ ด้าน

ง. ข้อ ก และ ข ถูก



10. การจัดทําเอกสารเสนอโครงงาน ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. เป็นการเขียนข้อมูลที่รวบรวมได้ก่อนที่จะลงมือทํา

ข. เป็นเอกสารที่เขียนรวบรวมผลการดําเนินงานของโครงการ

ค. มีจุดประสงค์เพื่อขออนุมัติหรือขอทุนสนับสนุนการทําโครงการ

ง. เน้นการเขียนเกี่ยวกับประเด็นของปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา


11. แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นองค์ประกอบของแนวคิดใดต่อไปนี้

ก. แนวคิดเชิงคํานวณ

ข. แนวคิดเชิงตรรกะ

ค. แนวคิดเชิงรวบยอด

ง. แนวคิดการแยกย่อย



12. ข้อใดกล่าวถึงแนวคิดเชิงคํานวณไม่ถูกต้อง

ก. เป็นการคิดเหมือนหุ่นยนต์

ข. เป็นการแก้ปัญหาแบบมีลําดับขั้นตอน

ค. เป็นทักษะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องมี

ง. มีแนวคิดเชิงนามธรรมเป็นหนึ่งในทักษะย่อย



13. การมุ่งเน้นความสําคัญของปัญหา โดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จําเป็น สอดคล้องกับแนวคิดใด

ก. แนวคิดเชิงรูปธรรม

ข. แนวคิดเชิงนามธรรม

ค. แนวคิดการแยกย่อย

ง. แนวคิดเชิงรวบยอด


14. การแก้ปัญหาโดยการออกแบบกระบวนการทํางานอย่างเป็นลําดับขั้นตอน สอดคล้องกับแนวคิดใด

ก. แนวคิดเชิงรูปธรรม

ข. แนวคิดเชิงนามธรรม

ค. แนวคิดการจดจํารูปแบบ

ง. แนวคิดการออกแบบขั้นตอน



15. ข้อใดไม่ใช่ทักษะย่อยของแนวคิดเชิงคํานวณ

ก. แนวคิดเชิงรูปธรรม

ข. แนวคิดเชิงนามธรรม

ค. แนวคิดการแยกย่อย

ง. แนวคิดการจดจํารูปแบบ



16. ข้อใดสอดคล้องกับแนวคิดการแยกย่อย

ก. การแยกแยะปัญหา

ข. การคัดเลือกวัสดุที่นํามาใช้ทําชิ้นงาน

ค. การหาแนวคิดรวบยอดของแต่ละปัญหาย่อย

ง. การออกแบบลําดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา



17. แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) หมายถึงอะไร

ก. แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อย

ข. ดูความเหมือนความแตกต่างของรูปแบบการเปลี่ยนแปลง

ค. มุ่งเน้นความสําคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จําเป็น

ง. แก้ปัญหาโดยการออกแบบกระบวนการทํางานอย่างเป็นลําดับขั้นตอน



18. ข้อใดไม่ใช่คําจํากัดความของแนวคิดเชิงคํานวณ

ก. ไม่ได้จํากัดอยู่แค่เพียงคอมพิวเตอร์

ข. ต้องเป็นคอมพิวเตอร์เท่านั้น

ค. คือกระบวนการคิดแก้ปัญหาของมนุษย์

ง. ช่วยให้ปัญหาที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้น


19. รูปแบบ Pattern Recognition คือขั้นตอนใดของแนวคิดเชิงคํานวณ

ก. การย่อยปัญหา

ข. การเรียงลําดับของปัญหา

ค. หารูปแบบหรือลักษณะที่เหมือนกันของปัญหา

ง. ถูกทุกข้อ



20. อัลกอริทึม คืออะไร

ก. การสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาทีละขั้นตอน

ข. จัดลําดับเชิงตรรกศาสตร์

ค. การออกแบบฐานข้อมูล

ง. การออกแบบกราฟิก