บทเรียนออนไลน์และสื่อการเรียนรู้ รายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ครูพงศกร ตีบกลาง

Online Education [การศึกษาออนไลน์]

สีน้ำ WATER COLOUR

สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำ ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูง การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนลงและไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ จะมีลักษณะใส บาง และ สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูง เพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำ ๆ ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า สีน้ำที่มีจำหน่าย ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลายน้ำได้ มีทั้งลักษณะที่

โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque ) ซึ่งจะมี ระบุ ไว้ข้างหลอด สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ

คุณสมบัติของสีน้ำ

สีน้ำเป็นผลผลิตใหม่สำหรับสังคมที่ส่งเสริมให้การพิมพ์และวาดเขียนมีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมบูรณ์ทางด้านบรรยากาศและบริเวณว่าง ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่ สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วยซึ่งสีน้ำก็มีอยู่ 4 ลักษณะ

1.ลักษณะโปร่งใส ( Transparent Quality )

เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่ได้

และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้

ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

2. ลักษะเปียกชุ่ม ( Soft Quality )

เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว

เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้

4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ ( Advance, Receda )

ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและสารเคมีที่ผสม ซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก ( Stained Color )

เทคนิคการระบายสีน้ำ

สีน้ำ (Water Color) มีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานหลายวิธี แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนกันในโรงเรียนเท่านั้น ดังนี้

เทคนิคผสมสีและการระบายสี

เปียกบนเปียก

การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ1.การไหลซึม 2.การไหลย้อน

เปียกบนแห้ง การระบายแบบเปียกบนแห้ง หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี ส่วนแห้ง คือ แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง เป็นวิธีระบายทั่วไป ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1.ระบายเรียบสีเดียว 2.ระบายสีอ่อนแก่เรียบสีเดียว 3.ระบายเรียบหลายสี

แห้งบนแห้ง การระบายแบบแห้งบนแห้ง หมายถึง การระบายสีที่ใช้พู่กันจุ่มสีน้อย แล้วระบายอย่างรวดเร็วบนกระดาษ การระบายสีแบบนี้ ผู้ระบายมักจะบันทึกความรู้สึกของตนลงไปในขณะระบายด้วย การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีประโยชน์ในการที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือบริเวณที่เห็นว่า ควรทำให้เด่นได้ บางท่านก็ให้ความเห็นว่า ผลอันเกิดจากการระบายแห้งบนแห้ง คล้ายกับการเขียนชวเลข หรือการส่งโทรเลข กล่าวคือ มีข้อความสั้นๆ ชัดเจน กะทัดรัด และรวดเร็ว การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ 1.การแตะ 2.การป้าย 3.เทคนิคผสม

ระบายบนระนาบรองรับ เทคนิคการระบายสีทั้ง 3ประเภทดังกล่าวไปแล้ว เป็นการระบายบนกระดาษวาดเขียน และกระดาษต่างชนิดกัน ไม่ได้ปรุงแต่งลักษณะผิวแต่อย่างใด สำหรับการระบายบนระราบรองรับที่เตรียมไว้ เป็นการปรุงแต่งลักษณะผิวกระดาษให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อผลที่แปลกและน่าสนใจกว่า นอกจากนี้ยัง ช่วยสนองความต้องการของผู้สนใจสีน้ำที่ต้องการถ่ายทอดรูปแบบวัตถุให้คล้ายกับสิ่งที่มองเห็นหรือต้องการสร้างสรรค์รูปแบบให้ต่างไปจากเดิม

อุปกรณการวาดรูปด้วยสีน้ำ

สีน้ำ

ถังใส่น้ำเพื่อล้างพู่กัน

กระดานรองกระดาษ

จานสี

พู่กัน

กระดาษ


สีน้ำ

จานสี

พู่กัน

ถังใส่น้ำ

กระดานรองกระดาษ

กระดาษ

Youtube Learning

VEDIO การเขียนภาพคนครึ่งตัว เทคนิคสีน้ำ#1

VEDIO การเขียนภาพสี Acrylic พู่กันกับเกียง #1

VEDIO การเขียนภาพสี Acrylic พู่กันกับเกียง #2

VEDIO การเขียนภาพคนครึ่งตัว เทคนิคสีน้ำ#2