หน่วยที่ 9

การเขียนรายงานเชิงวิชาการและการเขียนประวัติย่อ

หัวข้อเรื่อง

๑. ความหมายของรายงานเชิงวิชาการ

๒.ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

๓.ขั้นตอนในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

๔.ความสำคัญของการเขียนประวัติย่อ

๕. เทคนิคการเขียนประวัติย่อ


หลักการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

ตัวอย่างการเขียนประวัติย่อ


ใบความรู้การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

หลักการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

ความหมายของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

รายงานทางวิชาการหมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการสำรวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯแล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ

ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

รายงานเชิงวิชาการมีส่วนประกอบที่สำคัญ3 ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายมีรายละเอียดดังนี้

1. ส่วนนำประกอบด้วย

1.1 ปกนอกคือส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้าและปกหลังกระดาษที่ใช้เป็นปกควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควร สีใดก็ได้ข้อความที่ปรากฏบนปกนอกดูได้ตามตัวอย่างที่ได้แสดงไว้

1.2 ใบรองปกคือ กระดาษเปล่า 1 แผ่นอยู่ต่อจากปกนอก เพื่อความสวยงาม และเป็นเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้เสียหายถึงปกในหากปกฉีกขาดเสียหายไป

1.3 ปกในคือ ส่วนที่อยู่ต่อจากปกนอกนิยมเขียนเหมือนปกนอก

1.4 คำนำคือส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าทำรายงานตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน (ถ้ามี)ให้ลงท้ายด้วยชื่อผู้จัดทำรายงาน หากมีหลายคนให้ลงว่าคณะผู้จัดทำ และลงวันที่กำกับ

1.5 สารบัญคือ ส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าคำนำในหน้าสารบัญจะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน ทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่าขอบเขตเนื้อหาของรายงานครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ในหน้านี้ให้เขียนคำว่าสารบัญไว้กลางหน้า ข้อความในหน้าสารบัญจะเริ่มต้นจากคำนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรองและหัวข้อย่อย ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ ของรายงาน เรียงตามลำดังเรื่องและท้ายสุดเป็นรายการอ้างอิงที่ใช้ประกอบการเรียบเรียงรายงาน ข้อความในหน้าสารบัญควรเขียนห่างจากขอบซ้ายของหน้ากระดาษประมาณ 1.5 นิ้วและด้านขวาจะมีเลขหน้าแจ้งให้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใดหน้าสารบัญควรจัดทำเมื่อเขียนรายงานเสร็จแล้วเพื่อจะได้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใดบ้าง



2. ส่วนเนื้อเรื่องเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน ผลงานการศึกษาค้นคว้าจะนำมาเสนอตามโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ โดยก่อนเริ่มต้น ควรมีการเกริ่นเรื่องและจบเนื้อเรื่องด้วยบทสรุป เนื้อหาที่เขียนนั้นจะต้องเขียนอย่างมีหลัดเกณฑ์หรืออ้างอิงหลักวิชาแสดงความคิดที่เฉียบแหลมและลึกซึ้ง ส่วนประกอบที่แทรกในเนื้อหานั้นอาจแบ่งได้ดังนี้

2.1 อัญประภาษ (Quotation)คือข้อความที่คัดมาจากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่นมาไว้ในรายงานของตนหรืออีกอย่างหนึ่งว่า "อัญพจน์"วิธีการเขียนมีดังนี้

2.1.1ก่อนหน้าที่จะนำอัญประภาษมาแทรกไว้ ควรกล่าวนำไว้ในเนื้อเรื่องบ้างว่าเป็นคำของใครสำคัญอย่างไรจึงได้คัดลอกเข้ามาไว้ในที่นี้

2.1.2ท้ายอัญประภาษต้องใช้เลขกำกับและให้ตัวเลขนั้นตรงกับเชิงอรรถ

2.1.3ถ้าเป็นการถอดใจความ หรือเก็บใจความไม่ต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศและนับว่าเป็นอัญประภาษรอง (Indirect Quotatin) แต่ก็ให้ใส่เชิงอรรถไว้เช่นเดียวกัน

2.1.4 อัญประภาษที่สั้นกว่า 4 บรรทัด เขียนแทรกไว้ในคำบรรยายของรายงานได้เลยโดยไม่ต้องย่อหน้า และใส่เครื่องหมาย "…………" (อัญประกาศด้วย)

2.15 อัญประภาษที่ยาวกว่า 4 บรรทัด ให้ย่อหน้าขึ้นใหม่แล้วต้องย่อหน้าเข้ามาสามช่วงตัวอักษรพิมพ์ทุกบรรทัดและให้ห่างจากขอบหลังเป็นระยะเท่ากัน

2.1.6ใช้อัญประกาศเดี่ยว ('……….') สำหรับข้อความที่คัดลอกมาซ้อนอยู่ในอัญประภาษ

2.1.7ถ้าคัดลอกร้อยกรองมามากกว่า 2 บรรทัด ให้วางบทประพันธ์ไว้กลางหน้ากระดาษโดยไม่ต้องใส่อัญประกาศ

2.1.8 ถ้าคัดลอกบทประพันธ์ที่ไม่สงวนสิทธิ์ให้เขียนหรือพิมพ์ชื่อผู้ประพันธ์ไว้ใต้บทประพันธ์นั้นแทนที่จะเขียนหรือพิมพ์ไว้ใต้เชิงอรรถ

2.1.9ถ้าต้องการละข้อความบางตอนในอัญประภาษนั้น ให้ใช้จุดไข่ปลา 3 จุดแทนไว้การละข้อความเช่นนี้ควรระวังอย่าให้ข้อความทั้งหมดเสียไป

2.2 การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnotes)เชิงอรรถเป็นข้อความซึ่งบอกที่มาของข้อความที่นำมาอ้างประกอบการเขียนรายงานหรืออาจจะเป็นข้อความที่ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำ หรือข้อความในรายงานก็ได้ถ้าแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้ เชิงอรรถจะมี 3 ประเภทด้วยกันคือ

2.2.1 เชิงอรรถอ้างอิงหมายถึงเชิงอรรถที่ใช้บอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาเป็นหลักฐานประกอบการเขียนเพื่อแสดงว่า สิ่งที่นำมาอ้าง ในรายงานนั้น ไม่เลื่อนลอยและผู้อ่านรายงานจะตัดสินใจได้ว่า ข้อความที่นำมาอ้างนั้นน่าเชื่อถือเพียงใดดังตัวอย่าง พระยาอนุมานราชธน, แหลมอินโดจีนโบราณ (พระนคร : คลังวิทยา, 2479), หน้า 305.

2.2.2 เชิงอรรถอธิบายหมายถึงเชิงอรรถซึ่งอธิบายความที่ผู้เขียนรายงานคิดว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านอาจจะเป็นคำนิยมหรือความหมายของศัพท์ที่ผู้ทำรายงานประสงค์จะให้ผู้อ่านทราบเพิ่มเติมก็ได้ดังตัวอย่างลัทธิความน่าจะเป็น หมายถึงลัทธิความเชื่อหนึ่งที่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ หรือมีทางเป็นไปได้ที่จะทำนายลำดับก่อนหลัง ที่แน่นอนของ เหตุการณ์โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตเป็นพื้นฐาน

2.2.3 เชิงอรรถโยงหมายถึงเชิงอรรถที่แจ้งให้ผู้อ่านดูข้อความที่เกี่ยวข้องกันที่หน้าอื่นในรายงานฉบับนั้นหรือในที่อื่นๆ เพราะเรื้อหาอาจจะ สัมพันธ์กันหรือเกี่ยวเนื่องกัน หรือช่วยให้เข้าใจเนื้อหาในตอนนั้นๆ ได้ดีขึ้นแทนที่จะกล่าวซ้ำความเดิมก็ใช้เชิงอรรถประเภทนี้ระบุให้ผู้อ่านอ่านพลิกไปอ่านข้อความดังกล่าวเพิ่มเติม


วิธีเขียนเชิงอรรถ

การเขียนเชิงอรรถมีหลายแบบหลายวิธีสถาบันต่างๆ มักจะกำหนด หลักเกณฑ์การเขียนเฉพาะไว้ต่างๆ กันฉะนั้นในการเขียนรายงายแต่ละครั้งจะต้องตัดสินใจเสียก่อนว่าจะใช้แบบใดให้สอดคล้องกับความต้องการของสถาบันที่จะทำรายงานส่งเมื่อตกลงใจว่าจะใช้แบบใดแล้วก็ควรจะยึดถือหลักเกณฑ์ของแบบนั้นๆตลอดทั้งฉบับ

หลักเกณฑ์ในการเขียนเชิงอรรถ

1.ตำแหน่งที่จะเขียนเชิงอรรถ ส่วนใหญ่มักจะนิยมเขียนท้ายหน้าแต่ละหน้าเว้นระยะห่างจากตัวเรื่องพอสมควร โดยขีดเส้นขั้นไว้ใต้ข้อเขียนหรืออาจจะรวมเชิงอรรถทั้งหมดเขียนไว้ท้ายบทหรือต่อจากบทสุดท้ายของรายงานก็ได้

2.การลงเครื่องหมายเชิงอรรถ อาจจะใช้เครื่องหมายต่างๆ เช่น * และ **ที่เหมือนกันกำกับท้ายความที่ต้องการอธิบายและหน้าเชิงอรรถ แต่ที่นิยมใช้มากคือใส่เครื่องหมายกำกับให้ตรงกันการเรียงหมายเลขอาจจะขึ้นเลข 1ทุกครั้งที่ขึ้นหน้าใหม่ หรือขึ้นเลขหนึ่งทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ หรือขึ้นเลข 1เพียงครั้งเดียวตอนเริ่มทำรายงาน แล้วลำดับเลข 2,3,4 ฯลฯตามลำดับจนจบรายงานก็ได้ การเขียนตัวเลขหน้าเชิงอรรถนี้ควรเขียนในระดับเหนืออักษรตัวแรกของข้อความในเชิงอรรถ

3.เมื่อเริ่มเขียนเชิงอรรถ ให้ย่อหน้าเข้าไปตรงกับย่อหน้าเนื้อหาโดยประมาณหากข้อความในเชิงอรรถยาวเกินกว่า 1 บรรทัดเมื่อขึ้นบรรทัดต่อไปให้เรียงข้อความเยื้องมาทางด้านหน้าของบรรทัดแรกให้อยู่ในระดับตรงกับเนื้อหาข้อความในรายงาน

4.การลงเชิงอรรถชนิดที่บอกแหล่งที่มาของข้อความต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ (ถ้ามี) จังหวัดที่พิมพ์ โรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ (ถ้าหนังสือเล่มใดมีทั้งโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์และไม่ต้องเขียนคำว่า "สำนักพิมพ์" แต่ถ้ามีเพียงโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อโรงพิมพ์โดยเขียนคำว่าโรงพิมพ์ด้วย) ปีที่พิมพ์และหน้าที่คัดออกมา

การอ้างอิงเชิงอรรถของข้อความในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งคัดลอกมาจากหนังสืออีกเล่มหนึ่งมีวิธีเขียน 2 แบบ คือ

1.ถือเล่มเดิมเป็นหลักฐานที่สำคัญ ดังตัวอย่าง

เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, 2516), หน้า 121, อ้างถึงใน สมบัติ พลายน้ำ, "ประวัติชีวิตพรสุนทรโวหาร (ภู่)," อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี, จัดพิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๙), หน้า 49

2.ถือเอกสารใหม่เป็นหลักฐานที่สำคัญ ดังตัวอย่างสมบัติ พลายน้ำ "ประวัติชีวิตพระสุนทรโวหาร (ภู่)," อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี, จัดพิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2529), หน้า 49อ้างจาก เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, 2516), หน้า 121


การเขียนเชิงอรรถของหนังสือที่เคยอ้างมา

1.เมื่ออ้างเอกสารเดิมซ้ำติดต่อกันโดยไม่มีเอกสารอื่นมาคั่นและตอนที่อ้างถึงเป็นคนละหน้ากับเอกสารเดิม ตัวอย่างเรื่องเดียวกัน, หน้า 20 ในกรณีอ้างครั้งแรกกับครั้งที่สองห่างกันหลายหน้าแม้จะไม่มีเอกสารอื่นคั่นแต่เพื่อไม่ให้ผู้อ่านต้องเปิดย้อนกลับไปหาชื่อเดิมดังตัวอย่างประทีปเหมือนนิล, วรรณกรรมไทยปัจจุบัน, หน้า 101

2.เมื่ออ้างถึงเอกสารเดิมแต่ไม่อ้างติดต่อกันในทันทีเพราะมีเอกสารอื่นคั่นและการอ้างนั้นเป็นคนละหน้ากับที่ได้อ้างไว้แล้ว ตัวอย่างวิมล ไทรนิ่มนวล, เรื่องเดิม, หน้า 50 ในกรณีที่อ้างถึงเอกสารที่มีผู้แต่งคนเดียวกันแต่งไว้หลายเรื่องดังตัวอย่างวิมล ไทรนิ่มนวล, คนจน, หน้า 18

3.เมื่ออ้างถึงเอกสารเดิมซ้ำในหน้าเดียวกันโดยไม่มีเอกสารอื่นคั่นดังตัวอย่างเรื่องเดียวกันหน้าเดียวกันในกรณีที่มีเอกสารอื่นคั่นและต้องการอ้างถึงข้อความในหน้าเดียวกันอีกครั้งหนึ่งดังตัวอย่าง

อาจินต์ ปัญจพรรค์, เรื่องเดียวกันหน้าเดียวกัน.

2.3 การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหาการอ้างอิงแบบนี้เป็นอ้างอิงที่มาของข้อความแทรกไปในเนื้อหาของรายงานการอ้างอิงแบบนี้ ได้รับความนิยมมากกว่า การอ้างอิงแบบเชิงอรรถเพราะสะดวกในการเขียนมี 2 แบบ คือ

2.3.1 ระบบนามปีจะระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหน้าที่อ้าง เช่นวรรณคดีเปรียบเสมือนเรื่องแสดงภาพชีวิต คามคิด จิตใจ อุดมคติ หรือความนิยมความต้องการของมนุษย์ วรรณคดีในอดีตเป็นเครื่องบันทึกสภาพดังกว่าเช่นเดียวกับวรรณกรรมปัจจุบันเป็นส่วนบันทึกความเป็นไปในปัจจุบัน

(กุหลาบมัลลิกะมาส. 2520 : 152-153)

2.3.2ระบบหมายเลข จะระบุหมายเลขตามลำดับเอกสารที่อ้างและหน้าที่อ้าง เช่นอุปมาโวหารคือ กระบวนความเปรียบเทียบ ใช้แทรกในพรรณนาโวหาร เพื่อช่วยให้ข้อความแจ่มชัดคมคาย (1 :139-140)


3. ส่วนท้ายเป็นส่วนที่ทำให้รายงานน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ ประกอบด้วย

3.1 บรรณานุกรม (Bibiogecphy) หมายถึงรายชื่อเอกสารต่างที่ใช้ประกอบในการทำรายงาน โดยให้รายละเอียดต่างๆเช่นเดียวกับเชิงอรรถ แต่มีวิธีเขียนที่แตกต่างกันเล็กน้อยบรรณานุกรมนี้จะเขียนไว้ท้ายเล่มโดยแยกตามประเภทของเอกสารดังต่อไปนี้

3.1.1หนังสือ (และบทความในหนังสือ)

3.1.2 บทความ (บทความในวารสาร, หนังสือ, สารานุกรม)

3.1.3 เอกสารอื่นๆ (วิทยานิพนธ์, จุลสาร, หนังสืออัดสำเนาต่างๆ )

3.1.4 บทสัมภาษณ์

เอกสารแต่ละประเภทต้องเรียงลำดับตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง (ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง)

ในกรณีที่มีเอกสารอ้างอิงไม่มากจะใช้วิธีเรียงลำดับตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องโดยไม่แยกประเภทเอกสารก็ได้

3.2ภาคผนวกเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดียิ่งขึ้นรายละเอียดเพิ่มเติมนี้ไม่เหมาะที่จะรวมไว้ในส่วนของรายงานเพราจะทำให้เนื้อเรื่องมีรายละเอียดมากเกินไป เช่น ตารางข้อมูล สถิติต่างๆ กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคผนวกนี้จะไม่มีในรายงานก็ได้


การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ เขียนได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

แบบที่ 1

ผู้แต่ง.//ชื่อเรื่อง. //พิมพ์ครั้งที่.//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์,/ปีพิมพ์.

สุกัญญา รอส. วัสดุชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2.//พิษณุโลก : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2560.

แบบที่ 2

ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง. //พิมพ์ครั้งที่.//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

สุกัญญา รอส.//(2560). วัสดุชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2.//พิษณุโลก : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.


การเขียนบรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต

แบบ ก

ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /

เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).

แบบ ข

ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด

ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /

(วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).

ตัวอย่าง

แบบ ก

พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : // www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).

แบบ ข

เรวัติ ยศสุข. "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย." ฉลาดซื้อ. [ออนไลน์]. 6(6) ; กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546. เข้าถึงได้จาก : http : / /www.kalathai.com/think/view_hot. ?

article_id 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)




ใบงาน

จงเขียนประวัติส่วนตัวภาษาไทยตามหัวข้อที่กำหนดให้ให้ครบถ้วน

เขียนประวัติย่อภาษาไทย

ชื่อ…………….....................................................................................................................................................……………………

ที่อยู่ปัจจุบัน………………………...........................................................................................................................………………….

ข้อมูลส่วนตัว…………………………………………………….…………………………………………….……………………….

………………….…………………………....................................................................................................…………………….

อายุ…………………………………

วัน เดือน ปีเกิด …….................................................................................……………………………

ศาสนา …………………………………

น้ำหนัก …………………………………

ส่วนสูง …………………………………

สัญชาติ …………………………………

เชื้อชาติ …………………………………

สถานภาพ…………………………………

สุขภาพ …………………………………

การศึกษา…………………………………………………….…….

…….…………………………………………………………...........…........................………………………………………………………….………

ประสบการณ์…………………………………………………………........................…………………………………………………..…….…………

………………………………………………………………...................................................................................................................................…...

คุณสมบัติพิเศษ………………………………………

ความสนใจพิเศษ …………………………………

บุคคลที่จะตรวจสอบประวัติและความประพฤติ…………………………………

ชื่อ……………………………เบอร์โทร.……………………..............………

ชื่อ……………………………เบอร์โทร.…………………..............…………

ชื่อ……………………………เบอร์โทร.……………….............……………