ถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Outcome Based Education (OBE) กับการออกแบบหลักสูตร

การศึกษาเชิงผลลัพธ์ หรือเรียกย่อ ว่า OBE เป็นการศึกษาที่เน้นการออกแบบกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงผู้เรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักสำคัญของ OBE คือ ต้องมีเป้าหมายที่กำหนดเป็นรูปธรรมด้วยผลการเรียนรู้ และผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ

การออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิด OBE ประกอบด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ ดังนี้

1. กระบวนการ Validation เป็นกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลเรียนรู้ในระดับหลักสูตร ประกอบด้วยข้อมูลปัจจัยนำเข้าและข้อมูลย้อนกลับจากผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่างๆ

2. กระบวนการออกแบบหลักสูตร อยู่ในพื้นฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (ไม่ใช่เนื้อหาที่สอน) เริ่มตั้งแต่ระดับระดับหลักสูตรจนถึงระดับรายวิชา หรือ โมดูล

2.1 วางแผนหลักสูตรโดยพิจารณาสาระสำคัญ 21st Century Skills , Stakeholders analysis ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศิษย์เก่า ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ ผู้ปกครอง ศิษย์ปัจจุบัน อาจารย์ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2.2 กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่จบจากหลักสูตร โดยเริ่มต้นออกแบบหลักสูตรมุ่งเป้าที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.3 กำหนดปรัชญา และความสำคัญของหลักสูตร

2.4 กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

2.5 กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program – Level Learning Outcome : PLOS) และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course – Level Learning Outcome : CLOs)

3. กระบวนการออกแบบแผนการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็น Constructive Alignment ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ การวัดผลและศาสตร์การสอน กับกิจกรรมการเรียนรู้

4. กระบวนการวัดผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการดำเนินงาน การทวนสอบ เป็นการเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ตั้งแต่ระดับวิชา หลักสูตร และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกระบวนการป้อนกลับที่สำคัญแสดงถึงการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นหลักประกันคุณภาพทีฝังอยู่ในระบบ ส่งผลให้ระบบทำงานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลTCI กลุ่ม 1 และ TCI กลุ่ม 2

แนวทางการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลTCI กลุ่ม 1 และ TCI กลุ่ม 2

1. ควรเลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย และลองค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของนักวิจัยที่จะขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียน รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา รูป กราฟ ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงานตีพิมพ์และพิจารณาโอกาสการตอบรับของวารสาร

2. ควรเลือกวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ ซึ่งสามารถพิจารณาจากองค์กรหรือสถาบันที่เป็นผู้จัดทำวารสาร กรณีที่ต้องการนำบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สามารถศึกษารายชื่อวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากฐานข้อมูล ICT ของ สกอ.

3. ควรเลือกวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง การพิจารณาคุณภาพของวารสาร สามารถพิจารณาได้จากดัชนีอ้างอิงของวารสารว่าอยู่ในฐานข้อมูลใด ซึ่งฐานข้อมูลซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ ฐานข้อมูลที่มีการคิดค่าดัชนีอ้างอิง (Impact Factor) หรือ Journal Impact Factor (JIF) ค่า Impact Factor คือ ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร วัดจากจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารวิชาการนั้นได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี ข้อมูลที่เป็นของคนไทยคือ ดัชนีอ้างอิง Thailand Citation Index (TCI) ซึ่งดูแลโดยศูนย์อ้างอิงดัชนีวารสารไทย สำหรับฐานข้อมูลของต่างประเทศ ได้แก่ ดัชนีอ้างอิง SCImago ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier

4. ควรพิจารณาในเรื่องค่าสมาชิก การกำหนด Citation การขอใบรับรอง EC วาระการออกวารสารต่อปี และระยะเวลาในตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งในแต่ละวารสารจะมีระยะในการตีพิมพ์เผยแพร่แตกต่างกันไป

ภาพกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรม KM เรื่องการออกแบบหลักสูตรด้วยหลัก OBE

กิจกรรม KM เรื่องแนวทางการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลTCI ครั้งที่ 1

เอกสารกระบวนการ Outcome -Based Education (OBE)

10012561_OBE for reading (1).pdf