การตั้งค่าและถ่ายทำ

รู้ก่อนถ่ายทำด้วย"กฎสามส่วน"

การจัดวางภาพและองค์ประกอบภาพมีความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทำคลิปออกมาให้สวยงาม ก่อนที่เราจะถ่ายทำ เราควรรู้จักเครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายภาพ นั่นคือ "กฎสามส่วน" หรือการใช้ "จุดตัดเก้าช่อง"
ชมรายละเอียดได้จากคลิปนี้ครับ.

สำหรับการตั้งค่า ในมือถือแอนดรอยด์ คลิกที่นี่ มือถือไอโฟน คลิกที่นี่

ขอขอบคุณ YouTube channel : HYPER PIXEL TV

รู้จักสัดส่วนภาพในการผลิตวิดีโอ

สัดส่วนภาพ (Aspect Ratio) ในการผลิตวิดีโอ คือ ความกว้าง x ความยาว ของภาพที่เรารับชม
สัดส่วนภาพที่แนะนำในการผลิตวีดิโอ มีดังนี้

  1. 16:9 เป็นสัดส่วนมาตรฐานที่เห็นบ่อยตามสื่อต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เช่น จอทีวี

  2. 21:9 เป็นสัดส่วนภาพที่นิยมให้ในภาพยนตร์

  3. 9:16 เป็นภาพวีดิโอแนวตั้งมักใช้ในโทรศัพท์มือถือ

  4. 4:5 เป็นขนาดมาตรฐานที่ใช้ใน Social Platform เช่น Facebook , Instagram

  5. 1:1 เป็นขนาดที่นิยมใช้ เพราะมีจุดดึงดูดสายตาอยู่บริเวณกลางจอพอดี


ความละเอียดของภาพ (Resolution) คือ ค่าความชัดเจนของภาพ เช่น Full-HD / UHD / 4K

ขอขอบคุณ YouTube channel : Misterbeam

เทคนิคการถ่ายวิดีโอ

เทคนิคที่ 1 : จับกล้องให้นิ่งขณะถ่ายวิดีโอ

เทคนิคที่ 2 : ไม่ซูมเข้า-ซูมออกมากเกินไป

เทคนิคที่ 3 : วีดิโอต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่าย

เทคนิคที่ 4 : การเปลี่ยนมุมกล้อง

เทคนิคที่ 5 : เรียนรู้จากภาพยนตร์

เทคนิคที่ 6 : การจัดการเสียงให้ชัดเจน

ขอขอบคุณ YouTube channel : KLANGNA CHANNEL

การเลือกใช้มุมมองในการถ่ายทำ

มุมมองภาพ (Angle) ในงานวีดิโอมีความสำคัญในการเล่าเรื่อง และความต่อเนื่องของเนื้อหา
โดยมีมุมมองขนาดภาพต่างๆดังนี้

  1. Wide shot เป็นมุมมองให้เห็นบรรยากาศภาพรวมว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร

  2. Long shot /Full shot เป็นมุมมองที่เจาะไปที่ตัวละครเต็มตัว ให้เห็นอิริยาบถของตัวละคร

  3. Cowboy shot เป็นมุมมองที่เห็นภาพตัวละครตั้งแต่เข่าขึ้นมา

  4. Medium shot เป็นมุมมองที่เห็นภาพตัวละครตั้แต่ศีรษะถึงเอว ทำให้คนดูมองการเคลื่อนไหวของตัวละครได้ดีขึ้น นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง การสัมภาษณ์

  5. Close-up shot เป็นมุมมองภาพขนาดใกล้ ตั้งแต่ศีรษะถึงคอหรือหน้าอก ใช้เน้นอารมณ์ของตัวละคร

  6. Detail shot เป็นมุมมองภาพที่เน้นรายละเอียดวัตถุ หรืออารมณ์ของสายตา

นอกจากนี้ยังมีมุมมองภาพระดับต่างๆอีก ดังนี้

  1. Normal angle มุมมองภาพระดับสายตา ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ

  2. Low angle มุมมองภาพเสย ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่ ทรงพลัง

  3. Worm's eye view มุมมองภาพเสยจากมุมต่ำมากๆ ให้ความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่อลังการมากๆ

  4. High angle มุมภาพกดจากมุมสูง ให้ความรู้สึกอึดอัด หดหู่ หรือแทนมุมมองของการมองกดลงมา

  5. ฺBird's eye view มุมมองจากด้านสูง นิยมใช้โดรนในการถ่ายภาพ

  6. Knee level / Ground level เป็นมุมมองที่ตั้งกล้องขนานไปกับพื้น

  7. Dutch angle เป็นภาพจากการตั้งกล้องเอียง ให้อารมณ์ชุลมุนวุ่นวาย หวือหวา ตื่นเต้น

  8. Over shoulder shot มุมมองแทนจากตัวละครหนึ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

  9. Point of view (POV) เป็นมุมมองแทนการมองของตัวละคร

ขอขอบคุณ YouTube channel : Misterbeam

การเคลื่อนกล้องที่มือใหม่ต้องรู้

การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) เพื่อให้ได้ภาพแบบต่างๆ มี ดังนี้

  1. การแพนกล้อง (Panning) เป็นการเคลื่อนกล้อง ซ้าย-ขวา

  2. การทิ้ลท์กล้อง (Tilting) เป็นการเคลื่อนกล้อง ขึ้น-ลง

  3. การดอลลี่ (Dolly) คล้ายกับการซูมแต่ภาพที่ได้จะมีมิติมากกว่า เกิดจากการเคลื่อนกล้องไปข้างหน้า-หลัง

  4. การแทร็ค (Tracking) คล้ายกับการแพน แต่ให้ความรู้สึกเคลื่อนที่มากกว่า

ขอขอบคุณ YouTube channel : Storyboard Thailand