การขับเคลื่อนหน่วยงานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามหลัก 5 องค์ประกอบ

กลยุทธ์ที่ 1  สร้างกลไกการขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้ภายในหน่วยงานให้เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้

1.1  หน่วยงานมีการจัดโครงสร้าง และผู้รับผิดชอบระดับต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนหน่วยงานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างชัดเจน ครอบคลุมทั้งหน่วยงาน และมีความเหมาะสม

1.2  หน่วยงานสนับสนุนการทำงานเป็นทีม หรือเครือข่ายตามโครงสร้างหน่วยงานและเปิดโอกาสให้กำลังพลมีช่องทาง หรือสภาพแวดล้อมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

1.3  หน่วยงานมีการส่งเสริมบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้รวมถึงมีมาตรการจูงใจรูปแบบต่าง ๆ ให้เกิดการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม

1.4  หน่วยงานมีการกำกับดูแลการดำเนินงานของกำลังพลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจภายในของกำลังพลให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์การ 

กลยุทธ์ที่ 2  เสริมความรับผิดชอบและภูมิปัญญากำลังพลของหน่วยทุกระดับผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยช่องทางที่หลากหลาย

2.1  ผู้บริหารของหน่วยงาน มีการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและทิศทางที่ชัดเจนต่อการสร้างปัจจัยสนับสนุน และ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม

2.2  ผู้บริหารของหน่วยงาน มีภาวะผู้นำและแสดงออกถึงการแบบอย่างที่ดีในการจัดการความรู้ เป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้กำลังพลจนเกิดผลลัพธ์ในเชิงการพัฒนาอย่างชัดเจน

2.3  กำลังพลทุกระดับ ได้รับมอบหมายภารกิจที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ โดยมอบอำนาจการตัดสินใจ ความมีอิสระ และความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงาน

2.4  กำลังพลทุกระดับ มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ระหว่างบุคคลและหน่วยงานเพื่อยกระดับมาตรฐานงาน ให้เกิดนวัตกรรม 

กลยุทธ์ที่ 3  สนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กำลังพลภายในหน่วยบนพื้นฐานความปลอดภัยและความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3.1  หน่วยงานมีการจัดหา ผลิต หรือประยุกต์ใช้ระบบ โปรแกรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาสนับสนุนการจัดการความรู้ และการเรียนรู้ของกำลังพล โดยมีการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เหมาะสม

3.2  มีการจัดทำคลังความรู้ของหน่วยงานบนระบบ หรือโปรแกรม โดยรวบรวมองค์ความรู้สำคัญ แนวปฏิบัติที่ดี มาตรฐานงาน และนวัตกรรมเพื่อให้มีความสะดวกในการเรียนรู้

3.3  มีการกำหนดทีมงานรับผิดชอบการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาระบบฯ อย่างจริงจัง รวมถึง มีการพัฒนาให้ทันสมัยและปลอดภัยอยู่เสมอ 

3.4  กำลังพลมีการสืบค้น และเข้าถึงฐานข้อมูลของระบบฯ รวมถึงนำมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนมีการพัฒนาองค์ความรู้เข้าสู่ฐานข้อมูลของระบบฯ ให้เป็นปัจจุบัน อย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนานวัตกรรมทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องจากการปรับปรุงและพัฒนาองค์ความรู้ภายมาตรฐานงาน

4.1  กำลังพลมีการรวบรวมองค์ความรู้ ทั้งในรูปแบบ Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge เพื่อปรับปรุงและพัฒนาองค์ความรู้ภายในมาตรฐานงาน

4.2  กำลังพลคัดเลือกองค์ความรู้ภายในมาตรฐานงานมาปรับปรุงและพัฒนาครบถ้วนทุกหน่วยงานตามโครงสร้าง หรือภารกิจหลักของหน่วยเพื่อยกระดับองค์ความรู้ในระดับบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

4.3  กำลังพลและหน่วยงานมีการจัดเก็บองค์ความรู้และนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ มีการระบุถึงแหล่งที่มาและเส้นทางการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้หลากหลายช่องทาง

4.4  มีการนำองค์ความรู้จากการปรับปรุงและพัฒนามาตฐานงานมาใช้ปฏิบัติงานจริง เพื่อจัดเก็บข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลลัพธ์และผลกระทบ และนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง

กลยุทธ์ที่ 5  รักษาองค์ความรู้และวัฒนธรรมการเรียนรู้ของกำลังพลภายในหน่วยงานเพื่อส่งต่อองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่กำลังพลรุ่นถัดไป

5.1  หน่วยงานส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการสื่อสาร ๒ ทาง (Two ways Communication) สำหรับการประชาสัมพันธ์ และเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ของกำลังพล

5.2  หน่วยงานจัดโครงการ หรือกิจกรรมรวมถึงให้ความสำคัญกับการจัดการความองค์ความรู้ เพื่อกระตุ้น จูงใจให้กำลังพลมีนิสัย และพฤติกรรมการนำองค์ความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาจนเกิดเป็นค่านิยมของหน่วยงาน

5.3  หน่วยงานมีการคัดเลือกองค์ความรู้ที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับ ทอ.และ นอก ทอ. แสดงถึงการสร้างความต่อเนื่องในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเกลียวความรู้ 

5.4  หน่วยงานมีการเชื่อมโยงและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์ความรู้และนวัตกรรม ทั้งในระดับ ทอ. และภายนอก ทอ.เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมข้ามหน่วยงาน สายวิทยาการ หรือองค์การที่มีคุณค่าสูงมากยิ่งขึ้น