วัดโพธิ์โนนทัน

วัดโพธิ์โนนทัน

วัดโพธิ์โนนทัน เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่นตลอดจนมีประวัติการศึกษา

พระปริยัติธรรม และการปฏิบัติกรรมฐานของพระสงฆ์ในเมืองขอนแก่นมาเป็นเวลานานวัดหนึ่ง เป็นวัดที่เคยรุ่งเรืองมาแล้วในอดีต เคยเป็นที่จำพรรษาของพระสังฆราชฉิมพลี ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่สมัยท้าวเมืองแพนสร้าง

บึงบอน (บึงแก่นนคร) เป็นเมืองขอนแก่น เดิมวัดนี้ผู้ใดเป็นผู้สร้างและสร้างตั้งแต่เมื่อใดหลักฐานไม่ปรากฏชัด แต่เท่าที่สืบทราบได้เป็นที่เชื่อถือวัดนี้มาอายุประมาณ 200 ปีเศษ เป็นวัดที่มีมาก่อนท้าวเมืองแพนจะมาสร้างเมืองขอนแก่น เมื่อสร้างเมืองขอนแก่นที่ริมบึงบอนแล้ว ก็ปฏิสังขรณ์วัดเก่าแก่นี้ขึ้นเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสี่วัดคู่เมืองขอนแก่น แต่ก่อนที่จะทราบความเป็นมาของวัดโพธิ์โนนทัน ขอได้กล่าวประวัติความเป็นมาของเมืองขอนแก่นสักเล็กน้อย

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2171 ได้เกิดอาณาจักรใหญ่ขึ้นชื่อว่า อาณาจักรจำปาศักดิ์ ได้ขยายอาณาเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง มีเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ในภาคอีสานหลายเมือง

ในปี พ.ศ.2256 เท้าแก้วมงคล ได้สร้างเมืองใหม่ที่บ้านท่ง เรียกว่าเมืองศรีภูมิ ภายหลังเปลี่ยนเป็นเมืองสุวรรณภูมิ อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ในปี พ.ศ.2318 ท้าวชน ได้ไปตั้งเมืองใหม่ที่บ้านกุดจอก และย้ายไปบ้านกุ่ม เรียกว่าเมืองร้อยเอ็ด

ในปี พ.ศ.2335 ท้าวเมืองแสน แห่งเมืองสุวรรณภูมิ ได้ตั้งเมืองใหม่ที่บ้านหนองกอกแก้ว ตั้งชื่อเมืองว่าเมืองชนบท ปัจจุบันเป็นอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมาของเมืองขอนแก่นได้เริ่มก่อตั้งและย้ายมาหลายครั้ง คือ เดิมตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนพะยอม เมืองเพี้ย (ปัจจุบันอยู่อำเภอบ้านไผ่) ท่านราชานนท์ได้บอกใบเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ ว่าที่ตั้งอยู่ใกล้ เมืองราชสีมาเกินไป จึงขอย้ายไปตั้งอยู่ที่บึงหนองเหล็ก (ปัจจุบันอยู่ในตำบลแพงอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) โดยทางกรุงเทพฯ ได้โปรดให้พระรามพิชัย เป็นข้าหลวงมาปันเขต

ในปี พ.ศ.2340 ท้าวเมืองแพน ตำแหน่งเพี้ย หลานเจ้าแก้วมงคลได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ บ้านบึงบอนหรือเมืองขอนแก่นในปัจจุบันนี้ ตามนิมิตประวัติความเป็นมาของคำว่า “ขอนแก่น” มีมาดังนี้ ที่ตำบลบ้านขามซึ่งอยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง มีต้นมะขามต้นใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งได้ตายมานานแล้วคงเหลือแก่แก่นยืนต้นมาช้านาน ต่อมาได้มีประชาชนอัญเชิญพระบรมธาตุเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุพนมผ่าน บ้านขามและหยุดพัก บริเวณต้นมะขามนี้ ด้วยพุทธปฏิหารย์ที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในถิ่นนี้ เมื่อขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุได้ผ่านไปแล้ว ต่อมาต้นมะขามนั้นได้มีใบแตกดอกงอกงามขึ้นมาอีกครั้งอย่างน่าอัศจรรย์ ผู้คนพลเมืองถือว่าเป็นศุภนิมิตที่ต้นตายแล้วเกิดใหม่อีก ถือเป็นมงคลอันประเสริฐ ขาวเมืองจึงถือนิมิตนี้ให้เป็นชื่อเมือง “ขามแก่น” ภายหลังได้เรียกเพื้ยนเป็นขอนแก่นมาจนทุกวันนี้ เมื่อต้นมะขามตายชาวเมืองจึงก่อเจดีย์ครอบ พร้อมบรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเจดีย์เป็นปูชนียสถานอันสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการบูชาของประชาชนพลเมือง เรียกว่า “พระเจดีย์พระธาตุขามแก่น” มาจนทุกวันนี้

ประวัติการสร้างวัดคู่เมืองขอนแก่น เนื่องจากชนชั้นปกครองเมืองต่างๆ ในภาคอีสานพื้นเพเดิมมาจากเมืองเวียงจันทร์ การสร้างเมืองจะต้องสร้างวัดคู่กันไป และวัดที่จะสร้างขึ้นจะต้องมี 4 วัดดังนี้

1. วัดเหนือ เป็นวัดที่อยู่ทิศเหนือ หรือทางต้นน้ำ ใช้สำหรับเจ้าเมืองบำเพ็ญกุศลและประกอบพิธีต่างๆ

2. วัดกลาง เป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางวัดเหนือกับวัดใต้ สำหรับข้าราชการขั้นผู้ใหญ่ได้บำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีกรรมต่างๆ

3. วัดแขกหรือวัดท่าแขก ได้เป็นที่พระสงฆ์องค์เจ้าหรือคนต่างถิ่นจะได้พักอาศัยหรือทำบุญกุศลและประกอบพิธีกรรมต่างๆ

4. วัดใต้ เป็นวัดอยู่ทิศใต้ หรือทางด้านใต้ของต้นน้ำ ใช้สำหรับประชาชนพลเมืองบำเพ็ญกุศลและประกอบพิธีกรรมต่างๆ

เมื่อท้าวเมืองแพน ได้สร้างบ้านบึงบอนเป็นเมืองขอนแก่น จึงได้สร้างวัดขึ้นตามประเพณีนิยม 4 วัด

ดังกล่าว และได้เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น

วัดเหนือคือวัดธาตุ เมืองเก่า (วัดธาตุอาราหลวง)

วัดกลาง ใช้ชื่อเดิมคือ วัดกลางในปัจจุบันนี้

วัดแขกหรือวัดท่าแขก ท้าวเมืองแพนได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดเก่าทางฝั่งตะวันออกของบึงบอน บูรณะวัดขึ้นเป็นวัดแขก ปัจจุบันเรียกว่า “วัดโพธิ์โนนทัน”

วัดใต้คือวัดหนองแวง (วัดหนองแวง พระอารามหลวง)

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย : นางสาวนงลักษณ์ นอรินยา

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย : นางสาวนงลักษณ์ นอรินย