ตำบลสะตอน

อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

ประวัติความเป็นมาตำบลสะตอน

คำว่า “สะตอน” สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในท้องถิ่น ได้เล่าให้ฟังว่า เดิมที่ใช้คำว่า ตาตอน เนื่องจากมีนายพรานที่ชื่อ ตาตอน มาเสียชีวิต ที่หมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยไข้ป่า เนื่องจากสมัยก่อนการเดินทางสัญจรไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า บริเวณบ้านสะตอนมีสภาพเป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีไม้อันมีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เช่น ไม้มะค่า ไม้แดง และอื่นๆ อีกมากมาย คำว่า สะตอน จึงเพียนมาจาก ตาตอน ต่อมา จึงนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน

เดิมบ้านสะตอนอยู่เขตการปกครองในหมู่ 4 บ้านวังยาว ตำบลทรายขาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ต่อมาปี 2517 แยกจากตำบลทรายขาว มาเป็น หมู่ 9 บ้านสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีความเจริญมากขึ้น จึงมีการอพยพของราษฎร เพิ่มมากขึ้น และได้แยกเป็นตำบล จากตำบลทรายขาว มาเป็นตำบลสะตอน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2526 โดยมีกำนันคนแรกของตำบลสะตอนคือ นายเหล็ก จันทะวงษา และต่อมาอำเภอสอยดาวได้แยกการปกครองจากอำเภอโป่งน้ำร้อน มาเป็นตำบลสะตอน จึงขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอสอยดาว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา และมีการปกครองในรูปแบบสภาตำบล

ต่อมากระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เปลี่ยนฐานะสภาตำบลสะตอนเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสะตอน และมีผลบังคับเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยมี นายใบสี เทวโลก กำนันตำบลสะตอนเป็นประธานคณะกรรมการบริหารคนแรก และปัจจุบัน มีนายสุชิน รุดดิษฐ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะตอน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ที่ตั้งและอาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลสะตอน ตั้งอยู่เลขที่ 320 หมู่ที่ 1 ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสอยดาว เป็นระยะทางโดยประมาณ 16 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3424 ห่างจากจังหวัดจันทบุรีเป็นระยะทางโดยประมาณ 72 กิโลเมตร ตำบลสะตอน มีพื้นที่ทั้งหมด 64.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 40,375 ไร่

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลทุ่งขนาน อำเภอโป่งน้ำร้อน

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเทศหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน

ทิศตะวันออก ติดกับ ราชอาณาจักรกัมพูชา

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลทรายขาว อำเภอ

สภาพภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขา ลักษณะดินเป็นดินเหนียวปนหิน พื้นใต้ดินเป็นหินดาน ค่าความเป็นกรดด่างของดินในตำบลสะตอนเท่ากับ 4.5 – 7

สภาพภูมิอากาศ

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของตำบลสะตอน 28 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิประมาณ 14 – 20 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อน จะมีอุณหภูมิประมาณ 25 – 38 องศาเซลเซียส

ภัยธรรมชาติ

การเกิดภัยธรรมชาติในตำบลประกอบด้วย

1) ภัยแล้ง มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน ซึ่งทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบเนื่องจากแหล่งน้ำด้านการเกษตรมีจำกัดทุกหมู่บ้าน

2) วาตภัย มักจะเกิดในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี ทำให้พืชและผลผลิตได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะไม้ผล ไม้ยืนต้น ได้รับความเสียหายเป็นประจำ

3) อุทกภัย มักเกิดในช่วงฤดูฝนในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน เป็นช่วงที่เกิดฝนตำหนักทำให้เกิดน้ำบ่าท่วมฉับพลัน พืชและผลผลิตได้รับความเสียหายเป็นประจำ

ภาษาพูด

ภาษาไทยอิสาน ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ภาษาไทยกลาง ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์

ขนบธรรมเนียมปะเพณี พิธีกรรม อิทธิพลทางความคิด

(ค่านิยม) ประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน จะมีความเชื่อไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับบ้านใด ราษฎรมาจากจังหวัดไหนมาก ก็จะมีวัฒนธรรมเชื่อตามจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องโชคลาง ของขลัง บุญ วาสนา และการนับถือผู้สูงอายุและผู้นำหมู่บ้าน ยึดถือปฏิบัติพิธีกรรม ดังนี้

- บุญเข้าพรรษา

- ทำบุญออกพรรณนา

- ประเพณีวันสงกรานต์

- ประเพณีวันลอยกระทง

- ประเพณีทำบุญบั้งไฟ

- แห่นางแมว

- ประเพณีทำบุญกลางบ้าน

ข้อมูลเนื้อหาเรื่องราว เขียนโดย นางสาวกิตติยา รัตนนิกร ครูกศน.ตำบลสะตอน

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ อบต.ตำบลสะตอน

ข้อมูล TKP อ้างอิง http://www.saton.go.th/index.php#top