ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ในปัจจุบันน้ำส้มควันไม้หรือน้ำส้มไม้หรือที่มีคําภาษาอังกฤษว่า wood vinegar ได้มีการนำมาใช้ ประโยชน์กันค่อนข้างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสารเหลวอินทรีย์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่าน และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ทั้งในครัวเรือน ภาคการเกษตร ปศุสัตว์ หรือในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะการใช้ในภาคการเกษตรที่ช่วยลดการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการทำ เกษตรอินทรีย์ บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเอกสารวิชาการที่มีการศึกษาเกี่ยวกับน้ำส้มควันไม้ทั้งในเรื่อง ของขั้นตอนการทำน้ำส้มควันไม้ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำส้มควันไม้ และการใช้ประโยชน์ เพื่อให้ ผู้อ่านที่สนใจสามารถนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป 1. การทำน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่าน ซึ่งกระบวนการเผาถ่านประกอบด้วย 4 ขั้นตอน หลัก ได้แก่

1.) ขั้นตอนไล่ความชื่น เมื่อเริ่มจุดไฟหน้าเตาเป็นช่วงไล่ความชื่น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อ อุณหภูมิปากปล่องประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส0 และภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ควันเริ่ม มีกลิ่นเหม็น และเมื่ออุณหภูมิที่ปากปล่องจะสูงขึ้นไปอีกประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิ ภายในเตาประมาณ 200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน ในช่วงนี้เป็นการไล่ความชื้นออกจาก เนื้อไม้ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงนับจากเมื่อไฟหน้าเตาติดแล้ว

2.) ขั้นตอนเปลี่ยนไม้เป็นถ่าน เมื่อปล่อยให้ไฟหน้าเตาติดไปเรื่อย ๆ อุณหภูมิปากปล่องจะสูง เพิ่มขึ้นประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส0 อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ควันจะ รวมตัวกันหนาแน่น พุ่งขึ้นมีสีขาวขุ่นและมีกลิ่นเหม็นฉุนอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่า “ควันบ้า” ช่วงนี้ไม้เริ่ม กลายเป็นถ่านหรือเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ซึ่งอุณหภูมิในเตาจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถลดเชื้อเพลิงหน้า เตาหรือไม่ต้องเติมฟืนหน้าเตาได้ หากใช้กระเบื้องแผ่นเรียบสีขาวอังบนปากปล่องควันแล้วสังเกตดูหยด น้ำที่เกาะจะมีสีเหลืองปนน้ำตาล ถือว่าเป็นช่วงที่เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ โดยนําท่อไม้ไผ่ (ท่อทะลุปล้อง ยาวประมาณ 3-5 เมตร) หรือวัสดุทนกรด นําไปวางเหนือปากปล่องเพื่อดักเก็บควันซึ่งเมื่อควันถูกความ เย็นก็จะเกิดการควบแน่นรวมกันเป็นหยดน้ำ ทั้งนี้การเก็บน้ำส้มควันไม้จะนับระยะเวลาการเก็บจากที่ เริ่มต้นเก็บออกไปประมาณ 4 ชั่วโมง หรืออุณหภูมิปากปล่องประมาณ 80-150 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ 4 ในเตาประมาณ 300-450 องศาเซลเซียส หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่องเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินก็ให้หยุด เก็บน้ำส้มควันไม้ได้

3.) ขั้นตอนทำให้ถ่านบริสุทธิ์ โดยเปิดหน้าเตาให้อากาศไหลเข้าไปได้เพื่อเพิ่มความร้อนสำหรับ เผาไล่น้ำมันดินให้ออกไปจากถ่าน น้ำมันดินในถ่านหากไม่ถูกกําจัดออกไปแล้วนําถ่านไปใช้ก็จะได้ถ่านที่ มีคุณภาพตํ่า และเมื่อนําไปประกอบอาหารปิ้งย่าง น้ำมันดินที่ค้างอยู่ในถ่านเมื่อถูกเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิ สูงกว่า 425 องศาเซลเซียสแล้ว จะเกิดเป็นสารประกอบใหม่ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อุณหภูมิที่ปากปล่องในช่วงนี้จะสูงขึ้นมากกว่า 150 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ควรเก็บน้ำส้มควันไม้ในช่วงนี้ ด้วยเนื่องจากมีสารประกอบที่เป็นโทษต่อการนําไปใช้ ในช่วงนี้เมื่อสังเกตควันจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็น ควันใส ให้ทำการปิดหน้าเตารวมทั้งปากปล่องควัน

4.) ขั้นตอนทำให้ถ่านเย็น เป็นช่วงที่ปล่อยให้เตาเย็นลง ก่อนที่จะนําถ่านไม้ออกจากเตามาใช้งาน ซึ่งก่อนเปิดเตาต้องให้อุณหภูมิในเตาตํ่ากว่า 50 องศาเซลเซียส0 เพราะหากสูงกว่านั้นจะทำให้ถ่านลุกติด ได้ ในที่นี้อาจจะทดลองเอามือแตะที่ปล่องควันเมื่อปล่องควันเย็นตัวจนเอามือสัมผัสได้แสดงว่าสามารถ เปิดเตาได้และการเปิดเตาต้องเปิดที่ปล่องก่อนเพื่อระบายความร้อนและแก๊สที่ยังคงค้างอยู่ในเตาให้หมด หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าเตา

การทำน้ำส้มควันไม้สามารถดักควันไม้ได้ทั้งจากการเผาถ่านจากเตาดิน เตาอิฐ เตาอิวาเตะ และ เตา 200 ลิตร ในที่นี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนการทำเตาและการเก็บน้ำส้มควันไม้จากเตา 200 ลิตร ดังนี้ วัสดุอุปกรณ์ - ถัง 200 ลิตร (ถังแกลลอนน้ำมัน) 5 - ท่อซีเมนต์ใยหิน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร (ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางอาจ เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) - กระบอกไม้ไผ่ สำหรับเป็นท่อของการไหลของน้ำส้มควันไม้ ยาวประมาณ 3-5 เมตร ตามความ เหมาะสม ขั้นตอนและวิธีการทำ - นําถัง 200 ลิตร มาเจาะขอบถังให้ฝาถังเปิดได้แล้วทำการเจาะรูข้างหน้ากว้างยาวประมาณ 20 ×20 เซนติเมตร ส่วนก้นถังเจาะรูวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4 นิ้ว สำหรับใส่ข้องอ – ตั้งเตาให้ด้านหน้าถังแหงนขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำออก ด้านหลังยังไม่ต้องปิด แล้วเทดินเหนียว ประคองด้านหน้าเตาพอประมาณ เพื่อไม่ให้เตาขยับเขยื้อน - ประกอบข้องอใยหิน 90 องศา โดยให้ด้านใหญ่ที่สุดสวมเข้าไปในช่องที่เจาะไว้ ในด้านท้ายของตัวเตา และสวมท่อใยหินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเดียวกันกับข้องอที่ประกอบไว้ท้ายเตา - ปิดผนังเตาด้านหลัง โดยให้ผนังเตาห่างจากข้องอประมาณ 10-15 เซนติเมตร - นําดินเหนียวประสานรอยรั่วให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปข้างในและป้องกันไม่ให้เกิดการ ลุกติดไฟ - นําดินเหนียวหรือดินทรายใส่ให้เต็มด้านข้างและด้านหลังในช่องว่างระหว่างเตากับผนังเตาด้านหลัง ทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นฉนวนกันไฟให้กับตัวเตา และไม่ให้ความร้อนระเหยออกไป โดยเว้นช่องฝาหน้าเตาเอาไว้ เปิด/ปิด - การเรียงไม้เข้าเตาถ่าน จะเรียงไม้ขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ทับไม้หมอนไว้ ไม้ท่อนใหญ่ไว้ด้านบน เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างสุดของเตาจะตํ่า และอุณหภูมิด้านบนจะ สูงกว่าอุณหภูมิท้ายเตา เมื่อเรียงไม้เสร็จแล้วให้ปิดฝาเตาถังด้านหน้า โดยให้ช่องที่เจาะไว้อยู่ด้านล่างของตัว เตาถัง แล้วนําดินมาประสานขอบถังและฝาถังเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในถัง - เริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อน โดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อนแรก ควรใส่เชื้อเพลิงทีละน้อย เพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง – เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจนทำให้เนื้อไม้ในเตารักษาอุณหภูมิในเตาได้เอง โดยไม่ต้องใส่เชื้อเพลิงเข้าไปอีก ซึ่งสังเกตจากควันที่ออกมาจากปากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติ เรียกว่า “ควันบ้า” มีสีขาวขุ่น ช่วงนี้ สามารถหรี่ไฟหน้าเตาลงได้ประมาณครึ่งหนึ่ง 6 – หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่อง ถ้าเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุน ให้ ลดไฟลงอีก ช่วงนี้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยใช้ท่อไม้ไผ่ที่เจาะรูไว้ตลอดทั้งลำ โดยนําขวดน้ำผูกลวดแขวนรอง น้ำส้มควันไม้ตรงจุดที่เจาะรูไว้ เมื่อน้ำที่หยดมามีลักษณะเป็นยางเหนียวและมีสีดำ ให้หยุดเก็บ - ผลผลิตถ่านที่ได้จากเตาถัง 200 ลิตร ประมาณ 15-20 กิโลกรัม และน้ำส้มควันไม้ประมาณ 1.5- 2 ลิตร


การทำให้นำส้มควันไม้บริสุทธิ์ การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์สามารถทำได้ 3 วิธี คือ

1.) ปล่อยให้ตกตะกอน โดยนำน้ำส้มควันไม้มาเก็บในถัง และทิ้งให้ตกตะกอนประมาณ 90 วัน น้ำส้มควันไม้จะตกตะกอนแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ( light oil) ชั้นกลางเป็นของเหลวสีชา คือ น้ำส้มควันไม้ และชั้นล่างสุดจะเป็นของเหลวข้นสีดำคือน้ำมันดิน หากนําผงถ่านมาผสมประมาณ 5 % โดยน้ำหนัก ผงถ่านจะดูดซับทั้งน้ำมันใสและน้ำมันดินให้ตกตะกอนลงสู่ชั้นล่างสุดในเวลาที่เร็วขึ้น ประมาณ 45 วัน แต่ทั้งนี้อาจมีสารบางตัวที่เป็นประโยชน์ออกไปบ้างและค่า pH หรือค่าความเป็นกรดเป็น 7 ด่างอาจเปลี่ยนไป เมื่อปล่อยให้น้ำส้มควันไม้ตกตะกอนจนครบกำหนด ใช้ระยะเวลา 3 เดือน แล้วจึงนํา น้ำส้มควันไม้มากรองอีกครั้งด้วยผ้ากรองจึงค่อยนําไปใช้

2.) การกรอง โดยใช้ผ้ากรองหรือถังถ่านกรองที่ใช้ผงถ่านกัมมันต์ ( Activated charcoal)ซึ่ง คุณสมบัติแตกต่างกันไป เพราะถ่านกัมมันต์จะลดความเป็นกรดของน้ำส้มควันไม้

3.) การกลั่น โดยกลั่นได้ทั้งในความดันบรรยากาศ และกลั่นแบบลดความดันรวมทั ้งกลั่นแบบ ลำดับส่วนเพื่อแยกเฉพาะสารใดสารหนึ่งในน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ ส่วนมากมักใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตยา อย่างไรก็ตามทั้งการกรองและการกลั่นต้องทำหลังจากการตกตะกอนแล้วเท่านั้น เนื่องจากต้อง รอให้เกิดปฏิกิริยาในน้ำส้มควันไม้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก่อน

การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ทันทีเนื่องจากมีน้ำมันดินและ สารระเหยง่ายปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้จะนําไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะ ไปปิดปากใบของพืช และเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้นหากเทลงพื้นดินจะทำ ให้ดินแข็งเป็นดานรากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บนํ้าส้มควันไม้แล้วต้องทิ้งช่วงและมีการทำ ให้นํ้าส้มควันไม้บริสุทธิ์ ก่อนนําไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 3 เดือน โดยต้องเก็บในที่เย็นร่มหรือเก็บไว้ใน ภาชนะทึบแสงและไม่มีสิ่งรบกวน 8 4. คุณสมบัติของนํ้าส้มควันไม้ นํ้าส้มควันไม้ที่ดีควรมีลักษณะ ใส ไม่ขุ่น มีสีเหลืองจนถึงสีนํ้าตาล หรือสีแดงอมนํ้าตาล หรือสี ที่มีลักษณะคล้ายชาดำ เบียร์หรือไวน์ นํ้าส้มควันไม้ที่มีลักษณะขุ่น มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ แสดงว่ามี คุณภาพตํ่า ไม่เหมาะต่อการนําไปใช้ ซึ่งมีวิธีการทำให้นํ้าส้มควันไม้บริสุทธิ์ ได้แก่ การตกตะกอน นํ้าส้ม ควันไม้ที่เก็บมาได้นั้น จะเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในนํ้าส้มควันไม้ตลอดเวลา ดังนั้นควรพักทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน จนกระทั่งองค์ประกอบทั้งหมดตกตะกอน หากรีบนํามาใช้ประโยชน์เร็วเกินไป จะได้นํ้าส้มควัน ไม้คุณภาพตํ่าไปใช้ ซึ่งอาจก่อผลเสียในภายหลังได้ นอกจากการตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้ว ยังสามารถใช้ วิธีการกรอง และการกลั่นนํ้าส้มควันไม้ โดยลักษณะของนํ้าส้มควันไม้ที่มีคุณภาพดีสามารถดูได้จาก ลักษณะทั่วไป กลิ่น สี ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)

คุณสมบัติของนํ้าส้มควันไม้ที่มีคุณภาพดี รายการ นํ้าส้มควันไม้ดิบ นํ้าส้มควันไม้กลั่น ลักษณะทั่วไป เป็นของเหลวใสเป็นเนื้อเดียวกันไม่ แยกชั้นไม่ตกตะกอน ไม่มีสิ่ง แปลกปลอม ไม่มีสารแขวนลอย เป็นของเหลวใสเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยก ชั้น ไม่ตกตะกอน ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ไม่มีสารแขวนลอย กลิ่น มีกลิ่นเหมือนควันไฟ มีกลิ่นเหมือนควันไฟ สี สีเหลืองอมนํ้าตาล หรือนํ้าตาลแดง สีเหลืองอ่อนถึงนํ้าตาลอ่อน การเปลี่ยนสี ไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ ไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ ค่า PH 2.8 – 3.7 1.5 – 2.8 ความถ่วงจําเพาะ > 1.005 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส > 1.001 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส อ้างอิงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก. – ธ.ก.ส. 9 5. องค์ประกอบทางเคมีในนํ้าส้มควันไม้ Mu. J. etal (2001) จากมหาวิทยาลัยชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมี ของนํ้าส้มควันไม้ดิบ พบว่า มีสารประกอบอินทรีย์เคมีมากกว่า 200 ชนิด สารประกอบที่สำคัญ ได้แก่ นํ้า 85 % กรดอินทรีย์ประมาณ 3 % และสารอินทรีย์อื่นๆอีกประมาณ 12 % ซึ่งกรดอินทรีย์ที่อยู่ในนํ้าส้มควัน ไม้มีหลายชนิด ที่สำคัญ คือ กรดอะซิติก ( acetic acid) กรดฟอร์มิค (กรดมด) ฟอร์มาลดิไฮด์ (formaldehyde) เอธิลเอ็นวาเลอเรต (ethyl-n-valerate) เมทธานอล (methanol) นํ้ามันทาร์ (tar) อะซีโตน (acetone) และฟี นอล (phenol) ฯลฯ สารประกอบที่สําคัญในนํ้าส้มควันไม้มีประโยชน์สรุปได้ดังนี้

1.1) กรดอะซิติก (กรดนํ้าส้ม) เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อ ไวรัส

1.2) สารประกอบฟี นอล เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและสารฆ่าแมลงใช้ ล้างแผล ทํายาจําพวกแอสไพริน และทําวัตถุหลอมเหลว

1.3) ฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช

1.4) เอธิล เอ็น วาเลอเรต เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช

1.5) เมธานอล แอลกอฮอล์ที่ดื่มกินไม่ได้ (หากเข้าตาจะทําให้ตาบอด) เร่งการงอกของเมล็ด และราก ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้และเป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส

1.6) อะซีโตน สารละลายวัตถุใช้ทํานํ้ายาทาเล็บและเป็นสารเสพติด

1.7) นํ้ามันทาร์เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี

การใช้ประโยชน์จากนํ้าส้มควันไม้ เนื่องจากนํ้าส้มควันไม้มีองค์ประกอบของสารอินทรีย์อยู่จํานวนหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรด อินทรีย์ กลุ่มสารประกอบฟีนอล กลุ่มแอลกอฮอล์ กลุ่มคาร์บอนิล กลุ่มสารเป็นกลาง และสารประกอบ ทั่วไป ทําให้นํ้าส้มควันไม้มีทั้งข้อดีและข้อจํากัดในการให้ประโยชน์ทางการเกษตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีใน การผลิต ชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ ในนํ้าส้มควันไม้ อัตราความเข้มข้นของสารและวิธีการใช้นํ้าส้ม ควันไม้สําหรับประโยชน์และอัตราความเข้มข้นในการเจือจางนํ้าส้มควันไม้มีดังนี้

1) ในด้านการเกษตร

1.1) การใช้นํ้าส้มควันไม้เพื่อปรับปรุงดินและกําจัดศัตรูพืชจําพวกแมลง เชื้อรา แบคทีเรีย และไส้เดือนฝอยในดิน 10

1.1.1) นํ้าส้มควันไม้เจือจางกับนํ้าในสัดส่วน 1: 10 เท่าถึง 1: 50 เท่า ราดลงดิน ลึก 0.25 ถึง 0.50 นิ้ว ก่อนปลูกพืช 1 สัปดาห์ จะช่วยกําจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดิน

1.1.2) นํ้าส้มควันไม้เจือจางกับนํ้าในสัดส่วน 1: 200 เท่า ถึง 1:1,000 เท่า ราด ลงดิน นาข้าวก่อนหว่านเมล็ด ปริมาณ 40 มิลลิลิตร ต่อดินนาข้าวหนัก 40 กิโลกรัม จะช่วยเร่งการ เจริญของระบบรากของต้นข้าว ทําให้ข้าวเติบโตเร็ว ลําต้นสูง รากยาวและมีรากแขนงใหม่แข็งแรง กว่าเดิม

1.2) การใช้กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชหรือทําลายการฟักตัวของเมล็ด นํ้าส้มควันไม้ ผสม นํ้าสะอาดเจือจาง 1:1,000 เท่า 1:2,000 เท่า ใช้แช่เมล็ดพันธุ์พันธุ์นานประมาณ 20 – 30 นาที เพื่อช่วย กระตุ้นการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการเจริญของพืชบริเวณส่วนราก และบริเวณส่วนพืชที่อยู่เหนือดิน หาก เมล็ดพืชมีเปลือกหนา อาจเพิ่มเวลาการแช่นาน เพิ่มขึ้นเป็น 3-6 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้เปลือกเมล็ดนุ่มอ่อน ตัวลงทําลายการฟักตัวของเมล็ด

1.3) การใช้ฉีดพ่นพืชบริเวณส่วนที่อยู่เหนือดินเพื่อป้องกันกําจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชและดับ กลิ่นเน่าเหม็น นํ้าส้มควันไม้ ผสมนํ้าสะอาดเจือจาง 1:50 ถึง 1:100 เท่า ฉีดพ่นพืชบริเวณลําต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ฝัก/ผล จะช่วยป้องกันกําจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ผลดี และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุ โรคพืช ตลอดจนเชื้อวิสาโรคใบด่างที่มีแมลงเป็นพาหะนําโรคมาสู่พืช โดยมีระยะเวลาการฉีดพ่นห่างกัน ประมาณ 7-10วัน ซึ่งอัตราดังกล่าวยังใช้ดับกลิ่นเน่าเหม็นของซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ต่างๆ ได้ดี

1.4) การใช้นํ้าส้มควันไม้ผสมนํ้าเจือจาง 1:500 เท่า ฉีดพ่นผลอ่อนของพืชเพื่อช่วยขยายผล โตขึ้น หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน และฉีดพ่นอีกครั้งก่อนเก็บ

เกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มนํ้าตาลในผลไม้เนื่องจาก นํ้าส้มควันไม้จะช่วยสังเคราะห์นํ้าตาลและกรดอะมิโน

1.5) การใช้นํ้าส้มควันไม้ผสมนํ้าเจือจาง 1: 1000 เท่า เป็นสารจับใบจะช่วยลดการใช้ สารเคมี เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ ได้ดีในสารละลายที่

เป็นกรดอ่อนๆ และสามารถลดการใช้ สารเคมีมากว่าครึ่งจากที่เคยใช้

1.6) การใช้ทําปุ๋ยคุณภาพสูง โดยใช้นํ้าส้มควันไม้เข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ หมักกับหอยเชอรี่ บด เศษปลา เศษเนื้อ หรือกากถั่วเหลือง โดยใช้โปรตีน

ต่างๆ1 กิโลกรัม ต่อนํ้าส้มควันไม้ 2 ลิตร หมักนาน 1 เดือน แล้วกรองกากออก เวลาใช้ให้ผสมนํ้า 200 เท่า

2) ในด้านปศุสัตว์

2.1) ใช้ลดกลิ่นและป้องกันแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ โดยการใช้ครั้งแรกควรผสมเจือจางใน นํ้าในอัตรา 1 : 100 เท่า หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 1 : 200 เท่าจะ

สามารถกําจัดกลิ่นและลดจํานวนแมลงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 11

2.2.) ใช้ผสมอาหารสัตว์ เพื่อช่วยย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย แต่การให้โดยตรงโดย การผสมนํ้าแล้วนําไปให้สัตว์กินนั้น สัตว์จะไม่ชอบกลิ่นควัน

ไม้ ควรนํานํ้าส้มควันไม้ไปผสมผงถ่านก่อนใน อัตราส่วนนํ้าส้มควันไม้ 2 ลิตร : ผงถ่าน 8 กิโลกรัม จากนั้นนําผงถ่านที่ชุ่มนํ้าส้มควันไม้ไปผสมอาหารสัตว์ 990 กิโลกรัม จะได้อาหารสัตว์ในปริมาณ 1 ตันพอดี ซึ่งจะมีคุณสมบัติและประโยชน์ ดังนี้ - ช่วยทําให้การย่อยและการใช้ประโยชน์จากอาหารดีขึ้น ส่งผลให้สัตว์โตเร็วกว่าปกติ โดยใช้อาหารเท่าเดิมหรือใช้อาหารน้อยลงกว่าเดิมประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ใช้ระยะเวลาในการเลี ้ยงเท่า เดิม - ช่วยยับยั้งการเกิดแก็ส และดูดซึมโลหะหนักในกระเพาะอาหาร ทําให้สัตว์มีสุขภาพดี - ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย - ช่วยปรับปรุงคุณภาพและลดปริมาณนํ้าในเนื้อสัตว์ ทําให้คุณภาพของเนื้อสัตว์ดีขึ้น ทั้งรสชาติ สีและกลิ่น - ช่วยปรับปรุงคุณภาพของไข่ ทําให้ไข่แดงมีขนาดใหญ่และเหนียวขึ้น ทั้งยังเพิ่ม ปริมาณวิตามินและลดคอเลสเตอรอล - ช่วยเพิ่มปริมาณนํ้านม - ช่วยยับยั้งการเกิดแก็สแอมโมเนีย และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทําให้กลิ่นเหม็นของมูล สัตว์ลดลง ซึ่งช่วยทําให้สัตว์ไม่เครียด ทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณภาพของปุ๋ ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ให้ดีขึ ้นอีกด้วย - ช่วยยับยั้งการฟักไข่ของแมลงในมูลสัตว์ ทําให้ปริมาณของแมลงในบริเวณฟาร์ม ลดลง โดยเฉพาะแมลงวัน

3) ในครัวเรือน

3.1) นํ้าส้มควันไม้ที่เจือจางในนํ้าอัตรา 1 : 20 เท่า ใช้ราดทําลายปลวกและมดตามบ้านเรือน

3.2) นํ้าส้มควันไม้ที่เจือจางในนํ้าอัตรา 1 : 50 เท่า ใช้ราดป้องกันปลวกมด และแมลงต่างๆ เช่น ตะขาบ กิ้งกือ ฯลฯ

3.3) นํ้าส้มควันไม้ที่เจือจางในนํ้าอัตรา 1 : 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะเพื่อดับกลิ่นขยะและไล่ แมลงวัน ใช้ราดดับกลิ่นห้องนํ้า ห้องครัว และบริเวณที่ชื้น

แฉะ ใช้ดับกลิ่นกรงเลี ้ยงสัตว์ รวมทั้งใช้หมักขยะ สดและเศษอาหารสําหรับทําปุ๋ยนาน 1 เดือน โดยเวลาใช้ต้องผสมในอัตรานํ้าหมัก 1 ลิตร กับนํ้า 5 ลิตร

4) ข้อควรระวังในการใช้นํ้าส้มควันไม้

4.1) ก่อนที่จะนํานํ้าส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์จะต้องให้นํ้าส้มไม้ดิบที่ได้จากการเก็บดักควันไม้ ตกตะกอนอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้เกิดการแยกชั้นระ

หว่างนํ้ามันใส นํ้าส้มควันไม้ และนํ้ามันดิน

4.2) การนํานํ้าส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ควรระวังอย่าให้เข้าตา เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง

4.3) นํ้าส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นเพียงตัวเร่งปฏิกิริยา การนํานํ้าส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตรเป็น เพียงแค่ตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชที่ปลูกเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้

4.4) การใช้นํ้าส้มควันไม้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดินนั้นมีโทษต่อพืชปลูก ควรทําก่อนการ เพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน

4.5) การนํานํ้าส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรต้องผสมนํ้าให้เจือจางตามความเหมาะสม เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสารประกอบอินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในนํ้าส้มควันไม้มีความเข้มข้นสูงเกินไปส่งผลให้ เกิดการยับยั้งการงอก ทําลายการเจริญของระบบราก หรือทําให้พืชแคระแกรน ใบเหลืองซีด หรือใบไหม้ รุนแรงถึงขั้นพืชตายได้

บทสรุป นํ้าส้มควันไม้เป็นสารเหลวอินทรีย์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่านที่สามารถนําไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ที่หลากหลายทั้งในด้านภาคการเกษตร ครัวเรือน และอุตสาหกรรม ช่วยส่งผลดีต่อทั้ง ทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภคควบคู่กันไป อย่างไรก็ดี นํ้าส้มควันไม้มีทั้งข้อดีและข้อเสียเมื่อ นําไปใช้ประโยชน์ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการผลิต ชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ ในนํ้าส้มควันไม้ และอัตรา ความเข้มข้นของสารและวิธีการใช้ ดังนั้นการนําส้มควันไม้ไปใช้งานจึงควรมีการศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ ทุกครั้ง

นางสาวศิริลักษณ์ ชินฮาด

บ้านเลขที่ 93 ม.5 ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด โทร.084-8991078

การศึกษาจบ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร