ศาลเจ้าพ่อเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

ลักษณะความเชื่อ

ประชาชนเก้าเลี้ยวประมาณร้อยละ ๘๐ มีเชื้อสายจีน ซึ่งคติความเชื่อของคนจีนส่วนใหญ่เชื่อว่า เจ้าสถิตย์อยู่ทุกหนทุกแห่ง หากได้กราบไหว้บูชา จะนำความปลอดภัย โชคดีมาให้ จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลเจ้าบริเวณสถานที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ เป็นฝั่งแม่น้ำที่เป็นท่าจอดเรือ และมีจระเข้เจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์อาศัยอยู่ใต้แม่น้ำ ต่อมาคนจีนที่กลับไปเมืองจีนได้นำรูปเจ้าพ่อมาประดิษฐานไว้เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ

ความสำคัญ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ได้แก่

๑. มีปาฏิหาริย์กับคนที่อยู่อาศัยติดกับศาลเจ้า หากไม่บูชาทุกวันเชื่อว่าจะมีอันเป็นไป

๒. ประชาชนมีความเชื่อว่า เจ้าพ่อเก้าเลี้ยว มีความศักดิ์สิทธิ์ และเข้าร่วมพิธีกรรมเป็นประจำทุกครั้ง

๓. ประยุกต์พิธีกรรมไหว้เจ้าของคนจีนเข้ากับประเพณีสงกรานต์ของไทย เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของสองชนชาติ

พิธีกรรม

มีพิธีกรรมที่สำคัญประมาณ ๔ ครั้งต่อปี คือ

๑. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร ในวันที่ ๑๗ เมษายน คือหลังจากประเพณีสงกรานต์ในวัดเก้าเลี้ยว ๖ วัน วันที่ ๗ จัดที่ศาลเจ้า

๒. งานเทกระจาด งานแจกทานวันสาร์ทจีน วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๙

๓. วันไหว้พระจันทร์

๔. วันตรุษจีน ส่วนใหญ่จะจัดหลังงานแห่มังกรของจังหวัด ๑ วัน


ศาลเจ้าพ่อเก้าเลี้ยว

ศาลเจ้าพ่อเก้าเลี้ยว

ศาลเจ้าพ่อเก้าเลี้ยว

ศาลเจ้าพ่อเก้าเลี้ยว

เรียบเรียงโดย นายธนาพิพัฒน์ พุ่มเพียร

ขอบคุณภาพ จาก nok-ga-bung.

แผนที่การเดินทาง